ออราเคิล ช็อกตลาดด้วยผลวิจัยใหม่ล่าสุด ชี้ 85% ของผู้นำทางธุรกิจทั้งในเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น ต้องการใช้หุ่นยนต์มาช่วยตัดสินใจแทน

อังคาร ๐๒ พฤษภาคม ๒๐๒๓ ๑๔:๓๕
การวิจัย The Decision Dilemma ซึ่งจัดทำโดย ออราเคิล และ เซธ สตีเฟนส์-เดวิโดวิตซ์ (Seth Stephens-Davidowitz) นักเขียนหนังสือติดอันดับขายดีของ New York Times ระบุว่า ผู้คนต่างรู้สึกกดดันและคิดว่าตัวเองไม่มีความรู้เพียงพอในการใช้ข้อมูลเพื่อช่วยในการตัดสินใจ สิ่งนี้ยังบ่อนทำลายคุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพในการทำงานของพวกเขาด้วย งานศึกษาซึ่งสำรวจความคิดเห็นของพนักงานและผู้บริหารมากกว่า 14,000 คนใน 17 ประเทศ รวมถึงผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 45,000 คนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น (JAPAC) ชี้ว่าผู้คนกำลังรู้สึกลำบากในการตัดสินใจทั้งในชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทำงาน ในยุคที่ถูกกดดันให้ต้องตัดสินใจมากกว่าในอดีต

ภาระการตัดสินใจของเราเพิ่มขึ้นแบบทวีคูณแต่ข้อมูลที่มากขึ้นอาจไม่ได้ช่วยอะไร

ผู้คนใน JAPAC กำลังถูกครอบงำด้วยปริมาณข้อมูลมากมาย สิ่งนี้กำลังทำลายความมั่นใจ ทำให้การตัดสินใจซับซ้อนยิ่งขึ้น และส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิตของพวกเขา

  • ผู้คน 74% กล่าวว่าจำนวนการตัดสินใจที่พวกเขาทำในแต่ละวันเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่าในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา และในขณะที่กำลังตัดสินใจเรื่องเหล่านี้ กว่า 75% ถูกจู่โจมด้วยข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มากกว่าครั้งใดในอดีต
  • 86% ยอมรับว่าข้อมูลจำนวนมากทำให้การตัดสินใจทั้งในเรื่องชีวิตส่วนตัวและการทำงานมีความซับซ้อนมากขึ้น และ 61% ยอมรับว่าพวกเขาเผชิญกับภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกในการตัดสินใจ (ไม่รู้ว่าต้องตัดสินใจอย่างไร) มากกว่าหนึ่งครั้งต่อวัน
  • 33% ไม่ทราบว่าข้อมูลใดหรือแหล่งข้อมูลใดที่เชื่อถือได้ และ 71% ตัดสินใจไม่ได้เพราะข้อมูลมีจำนวนมหาศาลเกินไป
  • 89% กล่าวว่าการไม่สามารถตัดสินใจได้ส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิต ทำให้เกิดความวิตกกังวล (37%) พลาดโอกาส (37%) และการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น (35%)
  • ผลที่ตามมาคือ 92% เปลี่ยนวิธีการตัดสินใจในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา โดยในปัจจุบัน 41% รับฟังเฉพาะแหล่งข้อมูลที่พวกเขาเชื่อถือ และ 31% พึ่งพาความรู้สึกเพียงอย่างเดียว

ความกดดันในการตัดสินใจสร้างความเฉื่อยชาในองค์กร

ผู้นำธุรกิจในภูมิภาค JAPAC ต้องการข้อมูลเพื่อมาช่วยสนับสนุน ทั้งยังตระหนักดีว่าข้อมูลมีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร แต่กลับไม่มั่นใจว่าพวกเขามีเครื่องมือที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จได้ ซึ่งบั่นทอนความมั่นใจและความสามารถในการตัดสินใจอย่างมาก

  • 87% ของผู้บริหารธุรกิจมีความทุกข์จากความกดดันในการตัดสินใจ เช่น เสียใจ รู้สึกผิด หรือตั้งคำถามกับการตัดสินใจของตนเองในปีที่ผ่านมา และ 90% เชื่อว่าการมีข้อมูลข่าวกรองเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจที่เหมาะสม สามารถสร้างหรือทำลายความสำเร็จขององค์กรได้เลยทีเดียว
  • 96% ต้องการการสนับสนุนจากข้อมูล โดยในเชิงอุดมคติ พวกเขาต้องการข้อมูลเพื่อช่วยให้ ตัดสินใจได้ดีขึ้น (43%) ลดความเสี่ยง (37%) ตัดสินใจได้เร็วขึ้น (40%) ทำเงินได้มากขึ้น (37%) และสามารถวางแผนสำหรับสิ่งที่ไม่คาดคิด (30%)
  • แต่ในความเป็นจริง 73% ยอมรับว่าข้อมูลมีปริมาณมหาศาลเกินไป และการขาดความเชื่อถือในข้อมูลทำให้พวกเขาไม่สามารถตัดสินใจใด ๆ ได้เลย และ 92% เชื่อว่ายิ่งมีแหล่งข้อมูลเพิ่มมากขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งเป็นตัวจำกัดความสำเร็จขององค์กรเท่านั้น
  • การจัดการแหล่งข้อมูลที่แตกต่างกันจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรเพิ่มเติมเพื่อรวบรวมข้อมูลทั้งหมด (47%) ทำให้การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ช้าลง (38%) และอาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดมากขึ้น (31%)
  • ผู้บริหารธุรกิจไม่เชื่อว่าแนวทางการใช้ข้อมูลและการวิเคราะห์ในปัจจุบันจะสามารถรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ได้ โดย 74% ของผู้ตอบแบบสอบถามในภูมิภาค JAPAC ยอมรับว่าแผงควบคุมและแผนภูมิที่พวกเขาได้รับมา ไม่ได้สัมพันธ์โดยตรงกับการตัดสินใจที่พวกเขาต้องทำเสมอไป และ 77% เชื่อว่าข้อมูลส่วนใหญ่มีประโยชน์สำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีหรือนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลเท่านั้น
  • ผู้บริหารธุรกิจทราบว่าสิ่งนี้จำเป็นต้องเกิดการเปลี่ยนแปลง พวกเขาเชื่อว่าข้อมูลและข้อมูลเชิงลึกที่ถูกต้องสามารถช่วยสนับสนุนพวกเขาในการตัดสินใจได้ดีขึ้นทั้งในเรื่องทรัพยากรบุคคล (97%) การเงิน (93%) ห่วงโซ่อุปทาน (95%) และประสบการณ์ลูกค้า (93%)

ข้อมูลต้องสัมพันธ์กับการตัดสินใจ มิฉะนั้นจะโดนเขี่ยทิ้ง

การรวบรวมและตีความข้อมูลผลักดันให้ผู้คนในภูมิภาค JAPAC ก้าวไปสู่จุดเปลี่ยนในช่วงเวลาที่ต้องวางเดิมพันสูงอย่างไม่น่าเชื่อสำหรับเหล่าผู้บริหารธุรกิจ

  • ผู้คน 73% ระบุว่ารู้สึกปวดหัวกับการที่ต้องรวบรวมและตีความข้อมูล เพราะมันมีจำนวนมากกว่าที่พวกเขาที่จะสามารถจัดการได้
  • โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกธุรกิจ 75% ของผู้บริหารธุรกิจกล่าวว่าผู้คนมักตัดสินใจก่อนแล้วจึงค่อยหาข้อมูลเพื่อนำมาสนับสนุนการตัดสินใจนั้น พนักงาน 74% เชื่อว่าธุรกิจต่าง ๆ มักให้ความสำคัญกับความคิดเห็นของบุคคลที่มีรายได้สูงสุดมากกว่าข้อมูล และ 26% ของผู้ตอบแบบสอบถามใน JAPAC รู้สึกว่าการตัดสินใจส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นในองค์กรนั้นไม่สมเหตุสมผล
  • สถานการณ์มีความท้าทายอย่างมาก จนทำให้ผู้คนกว่า 81% และผู้บริหารธุรกิจกว่า 85% ต้องการขจัดปัญหาเหล่านี้และให้หุ่นยนต์มาช่วยตัดสินใจแทน
  • แม้รู้สึกผิดหวังกับข้อมูลทั้งในเรื่องส่วนตัวและการทำงาน แต่ผู้คนทราบว่าหากไม่มีข้อมูล การตัดสินใจของพวกเขาจะแม่นยำน้อยลง (45%) ประสบความสำเร็จน้อยลง (32%) และมีแนวโน้มเกิดข้อผิดพลาด (41%)
  • ผู้คนยังเชื่อว่าองค์กรที่ใช้เทคโนโลยีการตัดสินใจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลนั้น มีความน่าเชื่อถือมากกว่า (77%) จะประสบความสำเร็จมากกว่า (77%) เป็นบริษัทที่พวกเขาอยากลงทุนด้วย (75%) เป็นพันธมิตรคู่ค้าด้วย (75%) และทำงานด้วย (76%)

"ผู้คนกำลังจมอยู่กับกองข้อมูล" เซธ สตีเฟน-เดวิโดวิตซ์ นักวิทยาศาสตร์ด้านข้อมูลและผู้เขียนหนังสือ Everybody Lies and Don't Trust Your Gut กล่าว "การศึกษาครั้งนี้เน้นย้ำว่าข้อมูลจำนวนมหาศาลที่ผู้คนได้รับในหนึ่งวันโดยเฉลี่ย เช่น จากการค้นหาทางอินเทอร์เน็ต ข่าวแจ้งเตือน ความคิดเห็นที่ไม่พึงประสงค์จากเพื่อน และอื่น ๆ มักจะทับถมกันจนมากเกินกว่าที่สมองจะจัดการได้ ผู้คนจึงมักทิ้งข้อมูลที่ดูสับสนและขัดแย้งกันออกไป และเลือกทำในสิ่งที่คิดว่าใช่ แต่นี่อาจเป็นความผิดพลาดครั้งใหญ่ โดยได้มีการพิสูจน์หลายครั้งแล้วว่าสัญชาตญาณของเราอาจทำให้เราหลงทางได้เช่นกัน และการตัดสินใจที่ดีที่สุดต้องเกิดจากความเข้าใจที่ถูกต้องกับข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน การพยายามจัดการกับกระแสข้อมูลอย่างรวดเร็วเพื่อให้ธุรกิจสามารถแยกแยะระหว่างสัญญาณเตือนและสัญญาณรบกวนได้นั้น ถือเป็นขั้นตอนแรกที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง"

"ในยุคแห่งปัญญาประดิษฐ์และระบบการเรียนรู้ของเครื่องเช่นทุกวันนี้ นับเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งที่องค์กรการวิจัยตามสัญญาจ้าง (Contract Research Organization: CRO) ต้องอาศัยข้อมูลที่ได้จากเครื่องมือการวิเคราะห์เพื่อให้สามารถค้นพบวิธีการรักษาใหม่ ๆ ได้เร็วยิ่งขึ้นสำหรับคลินิเซอร์" พญ. กนกวรรณ พรประสิทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คลินิเซอร์ จำกัด กล่าว "ระบบการวิเคราะห์เพื่อการพัฒนาทางคลินิกของเราซึ่งทำงานบน Oracle Analytics Cloud ช่วยให้ CRO สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำสอบทางคลินิกและนำเสนอวิธีการรักษาใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว เพื่อมอบผลลัพธ์ทางการรักษาที่ดียิ่งขึ้นให้แก่ผู้ป่วย"

"เมื่อธุรกิจในประเทศไทยเกิดการขยายตัวเพื่อให้บริการลูกค้าในรูปแบบใหม่ๆ ทำให้ปริมาณข้อมูลที่จำเป็นซึ่งถูกป้อนเข้าสู่ระบบมากขึ้นตามไปด้วย สำหรับผู้บริหารธุรกิจที่ต้องตัดสินใจครั้งสำคัญ การเพิกเฉยต่อข้อมูลก็ย่อมจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้กับตัวเขาเอง" นายทวีศักดิ์ แสงทอง กรรมการผู้จัดการ ออราเคิล คอร์ปอเรชั่น ประเทศไทย กล่าว "ความลังเล ความไม่เชื่อมั่น และการขาดความเข้าใจในข้อมูลซึ่งปรากฏในการศึกษาครั้งนี้ สอดคล้องกับสิ่งที่เราได้ยินจากลูกค้าที่กำลังทบทวนวิธีการตัดสินใจของพวกเขา ลูกค้าของเรากำลังมองหาการสนับสนุนในการเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับข้อมูลเชิงลึกเพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจ และด้วยศักยภาพของระบบคลาวด์ที่เชื่อมโยงกันของเรา นับตั้งแต่การจัดการข้อมูลพื้นฐาน การวิเคราะห์เพิ่มเติมและการวิเคราะห์เชิงประยุกต์ ไปจนถึงชุดแอปพลิเคชันเพื่อการดำเนินงาน ทำให้เราก้าวไปสู่ตำแหน่งที่เหนือกว่าคู่แข่งเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านี้ และช่วยสนับสนุนลูกค้าของเราในเมืองไทยให้ประสบความสำเร็จทางธุรกิจได้อย่างมั่นคง"

"ผู้นำธุรกิจในเอเชียแปซิฟิกกำลังตระหนักมากขึ้นถึงบทบาทของข้อมูลและการวิเคราะห์ที่มีคุณภาพ ว่าจะสามารถเปิดเผยข้อมูลเชิงลึกของตลาดและลูกค้าได้ ซึ่งจะพลิกโฉมธุรกิจแบบเดิม ๆ และแม้แต่การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของอุตสาหกรรมทั้งหมด" ดร. คริส มาร์แชล รองประธานฝ่ายวิจัยของ IDC กล่าว "ข้อมูลจากเอกสาร IDC's Worldwide Big Data and Analytics (BDA) Spending Guide for Asia Pacific ฉบับล่าสุด คาดการณ์ว่าการใช้จ่ายเกี่ยวกับโซลูชั่นระบบวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (BDA) จะสูงถึง 70.7 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี พ.ศ. 2569 การนำเทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลและแนวทางการทำงานที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในการเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ระบบดิจิทัล จะถือเป็นการวางเดิมพันสำหรับผู้นำระดับภูมิภาค เนื่องจากพวกเขาต้องการเพิ่มรายได้และสร้างประสิทธิภาพด้านต้นทุนให้ดีขึ้นท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนเช่นทุกวันนี้"

กระบวนการศึกษา

กลุ่มตัวอย่างจากทั่วโลกจำนวน 14,250 คนได้ถูกสำรวจความคิดเห็นในเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 โดยในแต่ละประเทศ กลุ่มตัวอย่างจะเป็นพนักงานและผู้บริหารธุรกิจซึ่งครอบคลุมตำแหน่งต่าง ๆ เช่น ประธานบริษัท ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ประธานกรรมการ ผู้บริหารระดับสูง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ ผู้อำนวยการ ผู้จัดการอาวุโส ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล และผู้นำส่วนงานอื่นๆ โดยใช้ Prodege ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มข้อมูลเชิงลึกระดับโลกในการยืนยันการจับคู่ข้อมูลผู้บริโภคที่มีความสอดคล้องกัน ตัวอย่างพนักงานยังได้รับการปรับเทียบในกรณีที่สามารถทำได้ เพื่อสะท้อนถึงระดับอายุและเพศของแรงงานในประเทศนั้น ๆ อย่างเหมาะสม

DKC Analytics ดำเนินการศึกษาและวิเคราะห์แบบสำรวจนี้ด้วยตัวอย่างที่จัดทำโดยแพลตฟอร์มการส่งแบบสำรวจของ Pollfish ซึ่งส่งแบบสำรวจออนไลน์ไปทั่วโลกผ่านแอปพลิเคชันและเว็บไซต์บนสมาร์ตโฟน รวมถึงเว็บไซต์เวอร์ชันเดสก์ท็อป โดยไม่มีการนำผลการสำรวจมาจัดแบ่งระดับชั้นตามตำแหน่งงานในภายหลัง

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

  • ดูข้อมูลเกี่ยวกับ Oracle Analytics
  • ดูข้อมูลเกี่ยวกับ Oracle Fusion Analytics

ที่มา: วิวาลดี้ อินทิเกรเต็ด พับลิค รีเลชั่นส์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version