ม.มหิดลแนะ เกษียณอย่างยั่งยืนเรื่องสุขภาพต้องมาเป็นอันดับหนึ่ง

อังคาร ๐๒ พฤษภาคม ๒๐๒๓ ๑๔:๔๕
คงไม่ใช่เรื่องดีหากจะต้องเป็นหนี้การลงทุนที่ชาญฉลาดจะต้องอยู่บนพื้นฐานแห่งความเป็นจริง ด้วยต้นทุนที่มั่นคง สู่อนาคตที่ยั่งยืน โดยจะต้องไม่ลืมใส่ใจในเรื่องสุขภาพ

รองศาสตราจารย์ ดร.จงจิตต์ ฤทธิรงค์ อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึง 3 เสาหลัก "ดัชนีพฤฒิพลัง" (3 Pillars of Active Ageing) แห่งองค์การอนามัยโลก (WHO) หรือ 3 ตัวชี้วัดของผู้สูงวัยที่มีความกระตือรือร้น ประกอบด้วย "สุขภาพ" "ความมั่นคงทางการเงิน" และ "การมีส่วนร่วมทางสังคม"

จากการสำรวจประชากรรุ่น Gen Y ตอนปลาย - Gen Z (ช่วงอายุประมาณ 15 - 29 ปี) เมื่อปี 2564 ที่ผ่านมา น่าตกใจที่พบว่าคนส่วนใหญ่ในช่วงวัยดังกล่าว ยินดีที่จะทำงานหนักแม้จะต้องกินอยู่อย่างประหยัด พร้อมเผชิญกับความเครียดและกดดัน เพื่อให้ได้อยู่ในภาวะ "เกษียณไฟลุก" (Financial Independent Retire Early - FIRE) หรือการเป็นอิสระทางการเงินในช่วงวัยที่อายุยังน้อยให้ได้เร็วที่สุด หรือเพียงประมาณ 35 - 40 ปี แต่ยังให้คำตอบไม่ได้ว่า "เกษียณแล้วจะไปทำอะไร"

จากการสำรวจดังกล่าวยังพบอีกว่า น้อยรายที่จะให้ความสำคัญต่อ "การลงทุนทางสุขภาพ" ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่WHO บัญญัติให้เป็นอันดับหนึ่งของ "ดัชนีพฤฒิพลัง"

การลงทุนของผู้สูงวัยถือเป็นการสร้างโอกาสให้ผู้สูงวัยที่ไม่ได้มีต้นทุนสะสมมามากพอ สามารถสร้างความมั่นคงให้เพียงพอที่จะดูแลตัวเองได้ต่อไปจนถึงวาระสุดท้าย แต่ควรระวังเรื่องความเสี่ยง และการถูกหลอกลวง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงวัยที่มีข้อจำกัดทางด้านสุขภาวะ

นอกจากนี้ ยังพบ "จุดตัด" ของกราฟประชากรในวัยแรงงานที่เกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในปี พ.ศ. 2566 ซึ่งเป็นปีแรกที่ประชากรในวัยแรงงาน 20 - 24 ปี เริ่มน้อยกว่าประชากรที่ออกจากวัยแรงงาน 60 - 64 ปี โดย รองศาสตราจารย์ดร.จงจิตต์ ฤทธิรงค์ มองว่าจะเป็นเรื่องดีหากได้มีการนำแนวคิดเรื่อง "Intergenerational Business" หรือการเปิดโอกาสให้คนในสองวัยดังกล่าวมาใช้ในการร่วมลงทุนทำธุรกิจออนไลน์ ซึ่งเป็นเทรนด์ใหม่ของสังคมในยุคปัจจุบัน

โดยเป็นการทำธุรกิจที่ไม่ต้องอาศัยเงินลงทุนเป็นจำนวนมากนัก แต่ด้วยต้นทุนฝีมือและความชำนาญจากประสบการณ์ชีวิตและการทำงานที่สั่งสมมาอย่างยาวนานของผู้สูงวัยประกอบกับต้นทุนไอเดีย และทักษะการใช้เทคโนโลยีของคนรุ่นใหม่จะประสานเป็น "พลัง" ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจที่สร้างสรรค์ และทดแทน "ภาวะการขาดแคลนแรงงาน" ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญได้ต่อไป

"การเลือกที่อยู่อาศัย" ในช่วงบั้นปลายของชีวิตก็เป็นเรื่องที่สำคัญ แม้ส่วนใหญ่เลือกที่จะใช้ชีวิตอยู่ในที่อยู่อาศัยเดิมแต่หากไม่เอื้ออำนวยต่อวัยที่เปลี่ยนแปลง ก็อาจต้องปรับเปลี่ยน โดยการทำให้มีความปลอดภัยมากขึ้น เนื่องจากผู้สูงวัยเป็นช่วงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหกล้ม ซึ่งอาจกลายเป็นสาเหตุหลักของการมีภาระค่าใช้จ่ายทางสุขภาวะที่เพิ่มขึ้นในช่วงบั้นปลายได้

นอกจากนี้การเลือกที่อยู่อาศัยยังส่งผลต่อ "ดัชนีพฤฒิพลัง" ในส่วนของ "การมีส่วนร่วมทางสังคม" ต่อไปได้ด้วยเช่นกันซึ่งการได้อยู่ในสังคมที่พึ่งพากัน (Community - Based Care - CBC) จะทำให้ผู้สูงวัยมีคุณภาพชีวิตที่ดี และชีวิตที่ยืนยาว ด้วยแรงพลังจากชุมชนที่อยู่ภายใต้ระบบที่สร้างขึ้นร่วมกัน เพื่อการดูแลซึ่งกันและกันอย่างยั่งยืน ล้วนเป็นประเด็นที่รัฐควรส่งเสริมให้เกิดขึ้นเป็นนโยบายต่อไป

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่www.mahidol.ac.th

สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ) งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210

ที่มา: มหาวิทยาลัยมหิดล

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ