เมืองฟุกุโอกะประกาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัลฟุกุโอกะ ประจำปี 2566

อังคาร ๒๓ พฤษภาคม ๒๐๒๓ ๑๔:๓๓
เมืองฟุกุโอกะ (สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการรางวัลฟุกุโอกะ) ประกาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัลฟุกุโอกะ (Fukuoka Prize) ประจำปี 2566 ในวันที่ 19 พฤษภาคม โดยรางวัลแกรนด์ไพรซ์ (Grand Prize) ตกเป็นของศาสตราจารย์ธงชัย วินิจจะกูล นักประวัติศาสตร์ชาวไทยผู้สร้างอิทธิพลสำคัญไปทั่วโลก ด้วยการศึกษาเรื่องชาตินิยมที่เน้นการสร้างและการใช้แผนที่ ส่วนรางวัลวิชาการ (Academic Prize) มอบให้ศาสตราจารย์คาธาร์ยา อัม (Khatharya UM) นักวิทยาศาสตร์ทางการเมืองของสหรัฐอเมริกาที่เผชิญกับความท้าทายในสังคมสมัยใหม่โดยให้ความกระจ่างเกี่ยวกับความทุกข์ยากของผู้อพยพและผู้ลี้ภัย ขณะที่รางวัลศิลปะและวัฒนธรรม (Arts and Culture Prize) มอบให้คุณจาง ลวี่ (ZHANG Lu) ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวจีนผู้สร้างผลงานที่ไม่มีใครเทียบได้ในแวดวงภาพยนตร์เอเชียตะวันออกที่ก้าวข้ามความเป็นชาติและพรมแดน

รางวัลแกรนด์ไพรซ์: ศาสตราจารย์ธงชัย วินิจจะกูล (ไทย/นักประวัติศาสตร์)

https://cdn.kyodonewsprwire.jp/prwfile/release/M100886/202305115565/_prw_PI1fl_v374237u.jpg?_ga=2.138369011.275247967.1683679058-665113690.1585873260

รางวัลวิชาการ: ศาสตราจารย์คาธาร์ยา อัม (สหรัฐอเมริกา/นักวิทยาศาสตร์การเมือง)

https://cdn.kyodonewsprwire.jp/prwfile/release/M100886/202305115565/_prw_PI2fl_VHAaY4Fz.jpg?_ga=2.163929468.275247967.1683679058-665113690.1585873260

รางวัลศิลปะและวัฒนธรรม: คุณจาง ลวี่ (จีน/ผู้กำกับภาพยนตร์)

https://cdn.kyodonewsprwire.jp/prwfile/release/M100886/202305115565/_prw_PI3fl_Xror5u8r.jpg?_ga=2.162421119.275247967.1683679058-665113690.1585873260

พิธีมอบรางวัลจะจัดขึ้นในวันอังคารที่ 12 กันยายน 2566 โดยที่คุณจาง ลวี่ มีกำหนดจะบรรยายสาธารณะในวันพุธที่ 13 กันยายน, ศาสตราจารย์คาธาร์ยา อัม ในวันพฤหัสบดีที่ 14 กันยายน และศาสตราจารย์ธงชัย วินิจจะกูล ในวันศุกร์ที่ 15 กันยายน ซึ่งแต่ละช่วงบรรยายจะจัดขึ้นสำหรับผู้ชมที่เข้าร่วม และบันทึกการบรรยายจะมีให้ชมทางออนไลน์ในภายหลัง ทั้งนี้ พิธีมอบรางวัลจะเปิดให้สำรองสิทธิเข้าร่วมได้ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 3 กรกฎาคม ส่วนการบรรยายสาธารณะนั้นจะเปิดให้สำรองสิทธิเข้าร่วมได้ตั้งแต่วันอังคารที่ 18 กรกฎาคม

*จำเป็นต้องจองล่วงหน้า

เกี่ยวกับรางวัลฟุกุโอกะ

เมืองฟุกุโอกะมอบรางวัลฟุกุโอกะ (Fukuoka Prize) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนความก้าวหน้าของเอเชียในระดับนานาชาติ รางวัลนี้ยกย่องผู้ประสบความสำเร็จที่โดดเด่นทั้งในด้านการอนุรักษ์และสร้างสรรค์วัฒนธรรมเอเชียที่มีเอกลักษณ์และหลากหลาย รางวัลฟุกุโอกะถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี 2533 โดยเมืองฟุกุโอกะ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเป็นประตูให้ญี่ปุ่นได้แลกเปลี่ยนกับภูมิภาคเอเชียตั้งแต่สมัยโบราณ โดยที่รางวัลนี้จะครบรอบ 33 ปีในปีนี้ ทางเมืองฟุกุโอกะได้มอบรางวัลดังกล่าวให้ผู้นำในสาขาต่าง ๆ มาแล้ว 121 คน ผู้ที่เคยได้รับรางวัลนี้มีทั้งศาสตราจารย์มูฮัมหมัด ยูนุส (Muhammad Yunus) จากบังกลาเทศ ซึ่งเคยได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังมี ดร.นากามูระ เท็ตสึ (NAKAMURA Tetsu) จากญี่ปุ่น ผู้นำด้านบริการทางการแพทย์ การปรับปรุงบำรุงที่ดิน และสวัสดิการสังคม สำหรับผู้ป่วยและผู้ด้อยโอกาสในปากีสถานและอัฟกานิสถาน

เว็บไซต์ทางการ: https://fukuoka-prize.org/en/

ที่มา: เมืองฟุกุโอกะ (สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการรางวัลฟุกุโอกะ)



ที่มา:  เกียวโด เจบีเอ็น-เอเชียเน็ท

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ