โดยได้ข้อสรุปว่า เจ้าของโครงการฯ จะออกค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าเสาเข็มร้อยละ 40 และค่าแรงงานการซ่อมแซมรอยแตกร้าวภายในอาคารทั้งหมด ส่วนค่าวัสดุอุปกรณ์เจ้าของอาคารจะเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งเจ้าของอาคารจำนวน 5 คูหา ตกลงตามเงื่อนไขดังกล่าว คงเหลืออีก 3 คูหา อยู่ระหว่างการตัดสินใจ นอกจากนั้น เจ้าของอาคารมีความประสงค์ให้วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) เข้ามาตรวจสอบสาเหตุก่อน จึงจะให้เจ้าของโครงการฯ ดำเนินการแก้ไข เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า อาคารจะไม่ทรุดตัวเช่นเดิมอีก ทั้งนี้ สำนักงานเขตฯ ได้มีหนังสือประสานขอให้ วสท.ส่งผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบและหาสาเหตุที่ทำให้อาคารทรุดตัว เบื้องต้นคาดว่า จะสามารถเข้าตรวจสอบได้ภายในเดือน มิ.ย.66
อย่างไรก็ตาม สำนักงานเขตฯ มีแนวทางช่วยเหลือประชาชนที่ยังพักอาศัยในบ้าน โดยเฉพาะครอบครัวที่มีผู้สูงอายุ ผู้ป่วย และเด็กเล็ก รวมทั้งเตรียมความพร้อมดำเนินการหากเกิดเหตุบ้านทรุดตัวเพิ่มขึ้น หรือเหตุพังถล่ม โดยเตรียมสถานที่ที่โรงเรียนประชาบำรุง ถนนเลียบคลองภาษีเจริญฝั่งเหนือ ซึ่งเป็นโรงเรียนในสังกัด กทม.เพื่อเป็นที่พักอาศัยในกรณีฉุกเฉินต่อไป
ที่มา: กรุงเทพมหานคร