กระทรวงคมนาคมและโลจิสติกส์ซาอุดีอาระเบียคาดตลาดโลจิสติกส์ในประเทศเติบโตแตะ 5.74 หมื่นล้านริยาลภายในปี 2573

ศุกร์ ๒๖ พฤษภาคม ๒๐๒๓ ๐๘:๓๐
กระทรวงคมนาคมและโลจิสติกส์แห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียประกาศยุทธศาสตร์สุดท้าทาย โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาภาคการคมนาคมและโลจิสติกส์ของประเทศ พร้อมกับตอบสนองความต้องการด้านบริการโลจิสติกส์ที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ปี 2573 (Vision 2030) ของซาอุดีอาระเบีย ที่มีเป้าหมายในการเปลี่ยนราชอาณาจักรให้กลายเป็นมหาอำนาจด้านอุตสาหกรรมและศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ของโลก 

นับตั้งแต่มีการกำหนดเป้าหมายดังกล่าว ภาคการคมนาคมและโลจิสติกส์ของซาอุดีอาระเบียก็เติบโตและก้าวหน้าอย่างชัดเจนกว่าที่เคยเป็นมา จนสร้างชื่อเสียงในวงการโลจิสติกส์ระดับโลก ซึ่งเป็นผลพวงโดยตรงจากความพยายามอย่างต่อเนื่องของกระทรวงคมนาคมและโลจิสติกส์ ทั้งนี้ ดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์ (Logistics Performance Index หรือ LPI) ประจำปี 2566 ที่ธนาคารโลกเผยแพร่เมื่อเร็ว ๆ นี้ ระบุว่า ซาอุดีอาระเบียมีความก้าวหน้าอย่างมาก โดยกระโดดขึ้นถึง 17 ขั้น จากอันดับ 55 ในปี 2561 มาอยู่ที่อันดับ 38 ในปีนี้

เจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน มกุฎราชกุมารแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ทรงให้การสนับสนุนความพยายามของราชอาณาจักรในทิศทางดังกล่าว โดยทรงเปิดตัวโครงการหลายโครงการที่ครอบคลุมและให้ความสำคัญกับงานด้านต่าง ๆ ของภาคการคมนาคมและโลจิสติกส์ ซึ่งรวมถึงการประกาศยุทธศาสตร์การคมนาคมและโลจิสติกส์แห่งชาติ (National Transport and Logistics Strategy หรือ NTLS) ในปี 2564 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความสามารถของมนุษย์และความสามารถทางเทคนิคในภาคการคมนาคมและโลจิสติกส์ของราชอาณาจักร และก่อนหน้านั้นในปี 2562 ได้มีการเปิดตัวโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์แห่งชาติ (National Industrial Development and Logistics Program หรือ NIDLP) เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถด้านอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ของประเทศ และก้าวสู่ความเป็นผู้นำระดับโลกในอุตสาหกรรม

โครงการเหล่านี้ล้วนมีเป้าหมายในการผลักดันให้ซาอุดีอาระเบียกลายเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ระดับโลก เนื่องด้วยที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะ โดยเชื่อมระหว่างสามทวีป ได้แก่ ยุโรป เอเชีย และแอฟริกา ทำให้ซาอุดีอาระเบียมีความได้เปรียบในการเป็นทางผ่านที่เอื้อต่อการค้าและการขนส่งสินค้าข้ามทวีป นอกจากนี้ การตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าเอเชีย-ยุโรป ยังทำให้ในแต่ละปีมีตู้คอนเทนเนอร์สินค้าจากทั่วโลกราว 12% ถูกขนส่งผ่านซาอุดีอาระเบีย

ซาอุดีอาระเบียกำลังดำเนินการอย่างรวดเร็วในการเปลี่ยนเศรษฐกิจของประเทศให้ถอยห่างจากการพึ่งพาน้ำมันไปสู่การสร้างระบบนิเวศเศรษฐกิจที่มีความหลากหลายและเป็นองค์รวมมากขึ้น ปัจจุบัน ภาคโลจิสติกส์คิดเป็นสัดส่วน 6% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 10% ภายในปี 2573 หรือคิดเป็นมูลค่าราว 2.01 หมื่นล้านริยาล

เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการบรรทุกสินค้าและพัฒนาห่วงโซ่อุปทานให้ดียิ่งขึ้น ซาอุดีอาระเบียได้ประกาศเปิดเขตโลจิสติกส์ 59 แห่ง ภายในปี 2573 โดยขณะนี้เปิดดำเนินการแล้ว 21 แห่ง นอกจากนั้นยังมีการเปิดเขตโลจิสติกส์พิเศษแบบบูรณาการ (Special Integrated Logistics Zone) แห่งแรกที่ท่าอากาศยานนานาชาติคิงคาลิดในกรุงริยาด โดยมาตรการเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งภายใต้กลยุทธ์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นการเติบโตของธุรกิจ ดึงดูดการลงทุน และเพิ่มรายได้ที่ไม่ได้มาจากน้ำมันให้ได้ราว 4.5 หมื่นล้านริยาลภายในปี 2573

วิสัยทัศน์ปี 2573 ของซาอุดีอาระเบีย เป็นโรดแมปในการสร้างประเทศให้มีความเป็นสากลและก้าวหน้าอย่างยั่งยืน และเนื่องจากการคมนาคมและโลจิสติกส์คือกระดูกสันหลังของทุกระบบเศรษฐกิจ เป้าหมายของประเทศจึงประกอบด้วยการพัฒนาภาคส่วนนี้ การสร้างระบบการเชื่อมต่อ และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับโลก ซาอุดีอาระเบียกำลังทุ่มเทความพยายามทั้งหมดในการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานทั้งภายในและภายนอก พร้อมกับปรับปรุงกระบวนการให้ได้มาตรฐานสากลที่ดีที่สุด เพื่อนำเสนอโครงสร้างพื้นฐานและบริการระดับโลก โดยมีเป้าหมายในการเปิดประเทศซาอุดีอาระเบียสู่โลกกว้างที่มีโอกาสมากมายรอยู่ข้างหน้า

ในเดือนตุลาคม 2565 มกุฎราชกุมารแห่งซาอุดีอาระเบียทรงเปิดตัวโครงการห่วงโซ่อุปทานยืดหยุ่นระดับโลก (Global Supply Chain Resilience Initiative หรือ GSCRI) เพื่อดึงดูดการลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทาน โดยมีเป้าหมายที่จะระดมทุน 4 หมื่นล้านริยาล (ราว 1.064 หมื่นล้านดอลลาร์) ในช่วงสองปีแรก และตั้งเป้าให้การสนับสนุนทั้งที่เป็นตัวเงินและมิใช่ตัวเงินเพื่อจูงใจนักลงทุนเป็นจำนวน 1 หมื่นล้านริยาล

เพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซาอุดีอาระเบียได้กำหนดหลักชัยสำคัญที่ต้องบรรลุทั้งในส่วนของการขนส่งทางราง ทางถนน ทางทะเล และทางอากาศ  นอกจากนี้ ในฐานะประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดในกลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council หรือ GCC) ซาอุดีอาระเบียยังมีเป้าหมายที่จะสร้างงานมากกว่า 2 แสนตำแหน่งในภาคส่วนนี้ ภายในปี 2573

สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://lpi.logisti.sa/

วิดีโอ - https://mma.prnewswire.com/media/2082242/SA_Global_Logistics.mp4
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2082229/SA_Global_Logistics.jpg
โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/2082227/MOTLS_Logo.jpg 



ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๐๘ LSP ยกระดับประสบการณ์อินเตอร์ ด้วยวุฒิการศึกษา 2 ประเทศ ไทย-อเมริกา เพื่อสร้างนักเรียนคิดไกล วิสัยทัศน์สากล
๐๙:๐๗ เอสไอเอส จับมือ เอชพีอี เดินหน้าบริการคลาวด์ประสิทธิภาพสูง พร้อมเปิดตัวบริการใหม่รองรับการเติบโตของตลาดคลาวด์ในประเทศไทย
๐๙:๑๗ กลุ่มดุสิตธานี เปิดรับการท่องเที่ยวช่วงไฮซีซั่นแบบไม่พัก เผย 'ดุสิต ปริ๊นเซส เชียงใหม่' กลับมาให้บริการ พร้อมร่วมแคมเปญ 'แอ่วเหนือ
๐๙:๑๓ Big Bite Burger Bar Grill เปิดตัวเมนูใหม่ เอาใจคนรักเบอร์เกอร์และเมนูสไตล์อเมริกัน
๐๙:๑๗ TNP เผย Q4/67 จุดพลุฉลองครบ 50 สาขา ปิดปี 67 สุดปัง เดินหน้าโตอย่างมั่นคง - ตอบโจทย์สินค้าด้วยราคาที่เข้าถึงได้
๐๙:๔๘ ไต้หวันประกาศผู้ชนะเลิศ 3 อันดับแรกจากโครงการ Go Green with Taiwan
๐๙:๑๒ PRTR จับมือ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก เสริมแกร่งการจ้างงาน พัฒนาทักษะอาชีพ
๐๙:๔๑ ซินเน็คฯ จับมือ Copperwired เปิดแล้ว! Mega Display Zone ?โซนแสดงสินค้าและเทคโนโลยีล้ำสมัย ณ สยามพารากอน
๐๘:๔๓ มิตรแท้ประกันภัย ร่วมพิธีเปิด Thailand Friendly Design Expo 2024 ครั้งที่ 8 พร้อมรับมอบใบประกาศเกียรติคุณ
๐๘:๑๘ ดูโฮม หนุนภาครัฐร่วมมหกรรมธงฟ้าฟื้นฟูเศรษฐกิจ ลดค่าครองชีพประชาชนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย