นวัตกรรมทางเทคโนโลยีต้องอาศัยความก้าวหน้าทางทฤษฎี เช่นเดียวกับสิ่งประดิษฐ์ทางเทคโนโลยี ต้นแบบ และการใช้งาน ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับความร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรม ชุมชนวิชาการ และสถาบันวิจัย หัวเว่ยได้ประกาศจัดโอลิมปัสมอนส์ ชาลเลนจ์ เป็นเวลา 4 ปีติดต่อกันแล้ว ซึ่งช่วยชี้นำทิศทางของการวิจัยในแวดวงการจัดเก็บข้อมูลทั่วโลก หัวเว่ยเอาชนะความท้าทายทางเทคนิคที่สำคัญ เพื่อนำการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ระดับสูงไปสู่การปฏิบัติจริง และนำไปสู่ความร่วมมือที่ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
ศาสตราจารย์โอนูร์ มูตลู (Onur Mutlu) และคณะ จากมหาวิทยาลัยอีทีเอช ซูริก (ETH Zurich) ซึ่งคว้ารางวัลโอลิมปัสมอนส์ ปี 2565 ไปครอง ได้ศึกษาระบบเครือข่ายรวมการจัดเก็บข้อมูลและประมวลผลข้อมูล โดยพัฒนาอัลกอริทึมเพิ่มประสิทธิภาพแบบใหม่ เพื่อเร่งอัปเกรดสถาปัตยกรรมการจัดเก็บข้อมูล
ในการประชุมนี้ หัวเว่ยได้ประกาศชาลเลนจ์หลักสำหรับรางวัลโอลิมปัสมอนส์ ประจำปี 2566 รวม 2 รายการ ได้แก่ พื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่มีความคุ้มค่าต่อบิตขั้นสูงสุด (Storage with Ultimate Per-Bit Cost Efficiency) และความยืดหยุ่นของข้อมูลและบริการที่มุ่งสู่สภาพแวดล้อมแบบมัลติคลาวด์ (Data Resilience and Services Oriented towards Multi-Cloud Environments) โดยหัวเว่ยหวังทำงานร่วมกับชุมชนวิชาการ เพื่อสร้างระบบการจัดเก็บข้อมูลคุณภาพสูงที่โดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมการจัดเก็บข้อมูลที่เน้นข้อมูลเป็นศูนย์กลาง ใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีเทคโนโลยีการกำกับดูแลเพื่อรองรับแอปพลิเคชันใหม่ ๆ ความยืดหยุ่นของข้อมูล และการป้องกันเชิงรุก
โจอัน เซอร์รา-ซากริสตา (Joan Serra-Sagrist?) ศาสตราจารย์จากภาควิชาวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยอิสระแห่งบาร์เซโลนา (Autonomous University of Barcelona) ได้เปิดตัวการประกวดการบีบอัดข้อมูลระดับโลก (Global Data Compression Competition หรือ GDCC) ครั้งที่ 3 ซึ่งทางมหาวิทยาลัยร่วมจัดกับหัวเว่ย โดยเชิญวิศวกรซอฟต์แวร์ นักวิจัย นักศึกษา และผู้ที่ชื่นชอบเข้าร่วม การแข่งขันดังกล่าวประกอบด้วย 8 โจทย์หลัก โดยเน้นอัลกอริทึมการบีบอัดแบบไม่สูญเสียข้อมูล ด้วยเงินรางวัลรวม 171,000 ยูโร บุคคลและทีมที่ทำอัตราการบีบอัดและประสิทธิภาพได้มากที่สุดจะเป็นผู้ชนะ
ดร.เฉิง จวอ (Cheng Zhuo) หัวหน้าผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยทางเทคนิค ประจำธุรกิจโซลูชันจัดเก็บข้อมูลของหัวเว่ย ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษที่งานนี้ในหัวข้อ "Innovations Towards Next-Generation Storage Architecture" (นวัตกรรมสู่สถาปัตยกรรมการจัดเก็บข้อมูลยุคหน้า) โดยเปิดเผยว่า เมื่อองค์กรต่าง ๆ มีความเป็นดิจิทัลเร็วขึ้น นวัตกรรมการจัดเก็บข้อมูลจะดำเนินการใน 6 ด้านหลัก ได้แก่ ความจุ สมรรถนะ ความน่าเชื่อถือ ประสิทธิภาพ ความยืดหยุ่น และระบบนิเวศแบบมัลติคลาวด์
การพัฒนาอุตสาหกรรมการจัดเก็บข้อมูลจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมืออย่างกว้างขวาง โดยธุรกิจโซลูชันจัดเก็บข้อมูลของหัวเว่ยจะยังคงทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรมและวิชาการ เพื่อพัฒนาโซลูชันที่ชาญฉลาด ดิจิทัล และยั่งยืนในวันหน้า
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2086601/image_5011010_38450846.jpg