ม.มหิดลแนะดูแลโรคหัวใจในกลุ่มดาวน์ซินโดรมอย่างยั่งยืน มอบโอกาส-หยุดตีตรา

จันทร์ ๒๙ พฤษภาคม ๒๐๒๓ ๐๘:๕๑
เสียงร้องครั้งแรกของลูกน้อย เปรียบเสมือน "สัญญาณแรก" ของการมีชีวิต  แต่โชคดีอาจไม่เกิดขึ้นกับเด็กทารกแรกเกิดทุกราย

ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงอลิสา ลิ้มสุวรรณ รองคณบดีฝ่ายโรงเรียนการบริหารงานโรงพยาบาล และอาจารย์แพทย์ประจำสาขาโรคหัวใจ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึงนโยบายในการดูแลแม่ตั้งครรภ์ของโรงพยาบาลรามาธิบดีว่า เชื่อมั่นได้ถึงการให้บริการที่มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐานระดับสากล โดยมีการคัดกรองตั้งแต่ขณะตั้งครรภ์ เพื่อการวางแผนคลอด และรักษาความผิดปกติของทารกด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งช่วยในการวินิจฉัยได้เร็วยิ่งขึ้น

ทว่าอุบัติการณ์ที่พบจากการตั้งครรภ์ที่ผิดปกติ อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ขณะปฏิสนธิ ทั้งที่ผิดปกติทางโครโมโซม หรือลักษณะทางพันธุกรรม ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของทารกดาวน์ซินโดรม ที่มักเกิดมาพร้อมกับอาการความผิดปกติในอวัยวะของร่างกายหลายประการร่วมด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหัวใจแต่กำเนิดซึ่งพบมากประมาณร้อยละ 50 กรณีที่พบความผิดปกติที่ซ้ำซ้อนรุนแรงหลายระบบ แพทย์อาจให้ทางเลือกในการยุติการตั้งครรภ์

จากการศึกษาวิจัยเรื่องภาวะแทรกซ้อนในระบบไหลเวียนเลือดของกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม ถึงปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการดูแลผู้ป่วยดาวน์ซินโดรมที่มีโรคหัวใจแต่กำเนิด ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญระดับโลก โดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องหลายร้อยเรื่อง ร่วมกับประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลก โดยคำนึงถึงความต่างของเวชปฏิบัติในประเทศที่มีรายได้ต่อประชากรที่แตกต่างกัน

ทำให้ผู้วิจัยได้เสนอแนะ "แนวปฏิบัติ" ต่อแพทย์โรคหัวใจที่ดูแลโรคหัวใจแต่กำเนิด เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยดาวน์ซินโดรมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และได้มาตรฐาน ซึ่งได้รับการตีพิมพ์แล้วใน "Circulation" วารสารวิชาการระดับ Top 1% ของโลกเมื่อเร็วๆ นี้

โดยชี้ให้เห็นว่าการดูแลที่ยั่งยืนในผู้ป่วยดาวน์ซินโดรมที่มีโรคหัวใจแต่กำเนิด จะต้องพิจารณาถึงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยในระยะยาว มีการวางแผนติดตามรักษาที่เหมาะสมเพื่อระวังโรคแทรกซ้อนที่อาจทำให้อาการทรุดเพิ่มได้ต่อไปในอนาคต อาทิ ภาวะความดันเลือดในปอดสูงที่อาจพบหลังการเข้ารับการผ่าตัดรักษาโรคหัวใจแต่กำเนิด ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดูแลรักษาในผู้ป่วย และความเสี่ยงในการเสียชีวิต

นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้ป่วยดาวน์ซินโดรมที่เป็นโรคหัวใจแต่กำเนิดยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในกลุ่มเมตาบอลิกซินโดรม อาทิ โรคอ้วน โรคไขมันในเลือดสูง และโรคความดันเลือดสูง ตลอดจนโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่อาจเกิดขึ้นได้ภายหลัง จึงควรตระหนักถึงการป้องกันโรคที่มีผลกระทบต่อระบบหลอดเลือดและหัวใจ รวมถึงกลยุทธที่จะรองรับสวัสดิการการรักษาที่ท้าทายของผู้ป่วยดาวน์ซินโดรมที่มีโรคหัวใจแต่กำเนิดในอนาคตต่อไปอีกด้วย

เนื่องด้วยในเวชปฏิบัติในปัจจุบันได้มีการให้มีสิทธิผู้พิการเข้าถึงการรักษาทางการแพทย์ที่เท่าเทียม ซึ่งเป็นผลผลักดันเชิงนโยบายระดับชาติ ต่างจาก 3 - 4 ทศวรรษที่ผ่านมาที่มีการปิดกั้นการเข้าถึงการรักษาพยาบาลในผู้ป่วยดาวน์ซินโดรมที่มีโรคหัวใจแต่กำเนิด

ที่สำคัญเหนืออื่นใด คือ การปฏิบัติต่อผู้ป่วยเด็กดาวน์ซินโดรมด้วย "หัวใจของความเป็นมนุษย์" โดยตระหนักว่าเป็น"กลุ่มคนที่สมควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ"

 

ที่มา: มหาวิทยาลัยมหิดล

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version