ด้วยกำลังซื้อและการปรับตัวเป็นพลเมืองดิจิทัลที่เพิ่มมากขึ้น จึงนับเป็นโอกาสทองฝังเพชรของผู้ประกอบการหลาย ๆ คน ที่จะมาทำสินค้า บริการ หรือแพ็กเกจจิ้งเพื่อตอบโจทย์บรรดาคนวัยเกษียณแต่ในการจะเข้าถึงกลุ่มคนดังกล่าวหลายคนก็อาจไม่รู้ว่าต้องเริ่มตรงไหน หร้อต้องใช้กลยุทธ์อะไรที่จะมัดใจฐานลูกค้าเหล่านี้ให้อยู่หมัด ในวันนี้เราจึงมีทริคจากคนที่เห็นความเป็นไปของคนวัยเกษียณมาตั้งแต่เด็ก จนกระทั่งปัจจุบัน แน่นอนว่าจะเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก "ไปรษณีย์ไทย" พี่ใหญ่แห่งวงการสื่อสารขนส่งที่สนิทกับทุกบ้าน รู้ทุกข้อมูล เห็นการเปลี่ยนแปลงมาตลอด 140 ปี กับเทคนิค "5 ส. มัดใจวัยเก๋า" ที่เอาอยู่กับทุกประเภทสินค้าแน่นอน
ส. สินค้าถูกใจ ขายได้ทันที
ถ้าอยากขายได้ ต้องขายในสิ่งที่ลูกค้าอยากซื้อ การศึกษาความต้องการของกลุ่มเป้าหมายจะช่วยให้สามารถจัดเตรียมสินค้าได้ถูกใจและตรงความต้องการ โดยสินค้าที่วัยเกษียณให้ความสนใจ 4 อันดับแรกได้แก่ กลุ่มสินค้าสุขภาพ เช่น วิตามิน, อาหารเสริม, สมุนไพร รวมถึงอุปกรณ์ออกกำลังกาย กลุ่มสินค้าแฟชั่น เช่น เสื้อผ้า, รองเท้า และเครื่องประดับ กลุ่มสินค้าบิวตี้ เช่น สกินแคร์ และน้ำหอม กลุ่มสินค้าเครื่องใช้ เช่น ของใช้ภายในบ้าน และของตกแต่งบ้าน
ส. สแตนด์บาย พร้อมตอบคำถาม
การได้รับข้อมูลที่เพียงพอไม่ว่าจะก่อนซื้อหรือหลังซื้อเป็นสิ่งที่ลูกค้าวัยเกษียณต้องการ ดังนั้น พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ควรเตรียมพร้อมในการตอบคำถามหรือข้อสงสัยที่จะเกิดขึ้น โดยจัดเตรียมแอดมินที่มีความรู้ในเรื่องของสินค้าเพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้อง หรืออธิบายข้อมูลการใช้งานอย่างละเอียดให้กับลูกค้า และที่สำคัญคือ การใช้คำพูดในการโต้ตอบกับลูกค้า ควรใช้คำพูดที่สุภาพ ภาษาที่เข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน และใช้ระยะเวลาในการตอบกลับคำถามหรือข้อสงสัยให้น้อยที่สุด เพื่อสร้างความประทับใจที่ดี
ส. สะดวกซื้อ สะดวกจ่าย
สิ่งที่กลุ่มลูกค้าวัยเกษียณมองหาในการซื้อสินค้าออนไลน์ คงหนีไม่พ้นความสะดวกสบายในการซื้อและการจ่ายเงิน โดยช่องทางที่คนกลุ่มนี้ใช้ในการซื้อของออนไลน์มากที่สุดคือเฟซบุ๊ก สิ่งที่ร้านค้าออนไลน์จำเป็นต้องมีคือ การสร้างขั้นตอนการซื้ออย่างง่าย และอธิบายขั้นตอนการสั่งซื้ออย่างละเอียด แจ้งราคาและค่าธรรมเนียมต่างๆ อย่างชัดเจน ส่วนการชำระเงินควรมีช่องทางการชำระที่หลากหลาย เช่น Mobile Banking, บัตรเครดิต โดยเฉพาะการเก็บเงินปลายทาง ถือว่าเป็นช่องทางชำระเงินที่กลุ่มวัยเกษียณเลือกใช้มากที่สุด โดยไปรษณีย์ไทยก็มีให้บริการเก็บเงินปลายทาง (COD) สำหรับร้านค้าออนไลน์ด้วย โดยสามารถใช้บริการผ่านแอปพลิเคชัน Wallet@POST ได้เลย
ส. สร้างความมั่นใจ น่าเชื่อถือ
นับเป็นจุดสำคัญที่ร้านค้าออนไลน์ทุกร้านต้องมีคือ ความน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะกับกลุ่มลูกค้าวัยเกษียณที่โอกาสถูกหลอกในการซื้อสินค้าออนไลน์ได้ง่าย สิ่งที่จะสร้างความน่าเชื่อถือให้กับร้านได้ เช่น การแสดงมาตรฐานของสินค้า มีรูปภาพและวิดีโอสินค้า รีวิวจากลูกค้าที่น่าเชื่อถือ การแจ้งเลขพัสดุที่ชัดเจน จัดส่งสินค้าที่ตรงเวลา รวมถึงบริการคืนสินค้าหากเกิดความเสียหาย เพื่อสร้างความมั่นใจในการสั่งซื้อสินค้า
ส. ส่งกับไปรษณีย์ไทย ส่งได้ทุกวัน รวดเร็ว มีโปรโมชัน
ไปรษณีย์ไทยยังคงเดินหน้าช่วยแบ่งเบาต้นทุนค่าจัดส่งสิ่งของให้ผู้ใช้บริการด้วยโปรโมชัน "EMS ลดทุกวัน" โดยสามารถส่งทั้งรูปแบบซองและกล่อง ตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันเสาร์ เริ่มต้นเพียง 25 บาท พิเศษวันอาทิตย์ราคาเริ่มต้นเพียง 19 บาท สามารถใช้บริการได้ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ ร้านไปรษณีย์ไทย และร้านไปรษณีย์อนุญาตทุกแห่งทั่วประเทศ รวมถึงมีบริการ Pick up Service ซึ่งเป็นการเข้ารับฝากสิ่งของถึงสถานที่โดยที่ไม่ต้องออกจากบ้าน รองรับการฝากส่งตั้งแต่ 1 ชิ้น จนถึงธุรกิจที่มีสินค้าฝากส่งเป็นจำนวนมาก สามารถใช้บริการได้ง่าย ๆ ผ่านไลน์ออฟฟิเชียล @Thailandpost ได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่มีการเรียกเก็บค่าบริการเพิ่มและการจำกัดจำนวนสิ่งของฝากส่งขั้นต่ำ พร้อมคงมาตรฐานการจัดส่งถึงไวภายใน 1-2 วัน สามารถตรวจสอบสถานะได้ทุกขั้นตอนการจัดส่ง ผ่านแอปพลิเคชันไลน์ @Thailandpost ฟังก์ชัน TRACK&TRACE
ทั้งหมดนี้คือ เทคนิค "5 ส. มัดใจวัยเกษียณ" ที่ไปรษณีย์รวบรวมอินไซด์มาให้ครบทุกด้าน เพราะผู้สูงอายุเป็นวัยที่ต้องการการเอาใจใส่มากเป็นพิเศษทั้งด้านจิตใจและอารมณ์ เป็นวัยที่มีทั้งเวลาและอำนาจในการซื้อ มีการใช้เหตุผลและคำถามในการซื้อค่อนข้างมาก และอาจใช้เวลาในการตัดสินใจนานสักหน่อย แต่ก็เป็นวัยที่มีคอมมูนิตี้เป็นของตัวเอง ดังนั้นเมื่อชื่นชอบอะไรแล้วก็จะยึดมั่นอยู่กับสิ่งนั้นและมักจะบอกต่อไปยังกลุ่มเพื่อนฝูงอีกด้วย พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์คนไหนอยากเป็นร้านขวัญใจวัยเกษียณ อย่าลืมนำทริคดีๆ เหล่านี้ไปปรับใช้เพื่อสร้างยอดขายปังๆ กันได้เลย
ติดตามข่าวสารไปรษณีย์ไทยเพิ่มเติมได้ที่
เว็บไซต์ : www.thailandpost.co.th
เฟซบุ๊ก : บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
ทวิตเตอร์ : @Thailand_Post
ไลน์ออฟฟิเชียล : @Thailand Post
กต็อก : @thailandpostchannel
ที่มา: เจซีแอนด์โค คอมมิวนิเคชั่นส์