เพื่อพัฒนาแนวทางการจดทะเบียนการเกิด พัฒนางานอนามัยแม่และเด็กใน 10 อำเภอชายขอบของจังหวัดเชียงใหม่ ตลอดจนเสริมสร้างกรอบความร่วมมือด้านการเข้าถึงบริการส่งเสริมสุขภาพในประชากรกลุ่มชาติพันธุ์และแรงงานข้ามชาติให้ได้รับบริการด้านส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ตอบสนองต่อความต้องการด้านสุขภาพตามสิทธิที่ควรได้รับ ระหว่างวันที่ 28-30 พฤษภาคม 2566 ณ โรงแรมเมอร์เคียว จังหวัดเชียงใหม่กิจกรรมภายในงานประกอบด้วยการบรรยายพิเศษหัวข้อ "สถานการณ์การเข้าถึงบริการสุขภาพประชากรกลุ่มเปราะบางและด้อยโอกาสทางสังคมในประเทศไทย และแนวทางการยกระดับการเข้าถึงบริการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มสตรีและเด็กปฐมวัย ประชากรกลุ่มเปราะบางและด้อยโอกาสทางสังคม" โดยผู้อำนวยการศูนย์ ต่อด้วยการเสวนาแนวทางปฏิบัติที่ดีในการจดทะเบียนการเกิด สถานะบุคคลและสิทธิด้านสุขภาพ "อุ้มผางโมเดล" และแนวทางปฏิบัติที่ดีด้านพลังภาคีเครือข่ายการจัดการการคลอดที่ปลอดภัย "แม่สะเรียงโมเดล" โดยผู้ร่วมอภิปรายประกอบด้วย นางสาววิกานดา พัติบูรณ์ ผู้จัดการคลินิกกฎหมาย โรงพยาบาลอุ้มผาง จังหวัดตาก, นางสาวปุญญิสา พรหมมา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน และมี ดร.จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร นักวิชาการอิสระ เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย จากนั้นเป็นกิจกรรมระดมความคิดเห็นร่วมกันจัดทำแนวทางพัฒนาการจัดการการคลอดที่ปลอดภัยและการแจ้งเกิดเพื่อนำไปสู่สิทธิและสถานะบุคคลในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดย นางรุ่งรัศมี ศรีวงศ์พันธ์ รองผู้อำนวยการศูนย์ เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย
ปิดท้ายด้วยการบรรยายพิเศษเรื่อง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการการคลอดที่ปลอดภัยและการแจ้งเกิดเพื่อนำไปสู่สิทธิและสถานะบุคคลในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยวิทยากร ผศ.ดร.ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ที่มา: ศูนย์อนามัยกลุ่มชาติพันธุ์ ชายขอบ และแรงงานข้ามชาติ