แฟ็คทอรี่ทอล์ค ผู้ให้บริการด้านไอทีโซลูชันและบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำด้านการกำกับดูแลคุณภาพในธุรกิจเภสัชกรรมและชีววิทยาศาสตร์ ประกาศขยายการดำเนินงานของแบทช์ไลน์ (BatchLine) บริษัทลูกที่อยู่ในประเทศไทย โดยมีจุดประสงค์เพื่อขยายการให้บริการด้านซอฟต์แวร์และดิจิทัลโซลูชั่นให้บริษัทผู้ผลิตต่างๆ ที่ต้องมีการดำเนินงานตามระเบียบข้อบังคับด้านคุณภาพ'GxP' และต้องการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในอุตสาหกรรมที่กำลังเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างรวดเร็ว
นายเดวิด โฮลท์ กรรมการผู้จัดการของแฟ็คทอรี่ทอล์คกล่าวว่าโครงการไทยแลนด์ 4.0 อันเป็นนโยบายในการขับเคลื่อนประเทศสู่ยุคดิจิทัลเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้แวดวงชีววิทยาศาสตร์และเภสัชกรรมของประเทศไทยเกิดการพัฒนาและขยายตัวเพิ่มมากขึ้น บริษัทเล็งเห็นโอกาสอันดีจากนโยบายดังกล่าว จึงต้องการใช้ความชำนาญด้านบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลโซลูชั่นที่จะช่วยให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องสามารถเปลี่ยนผ่านจากระบบดั้งเดิมสู่ระบบดิจิทัลได้อย่างมีกลยุทธ์ โดยบริษัทมีแผนที่จะขยายธุรกิจการให้บริการด้านซอฟท์แวร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Solutions) สำหรับแวดวงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวภาพ อุปกรณ์การแพทย์ เซลล์และยีนบำบัด และเทคโนโลยีด้านสุขภาพ อันเป็นภาคธุรกิจเป้าหมายของไทยแลนด์ 4.0
แฟ็คทอรีทอล์ค เริ่มดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2547 โดยนำเสนอผลิตภัณฑ์ไอทีและบริการให้คำปรึกษาแก่ธุรกิจที่ต้องปฏิบัติตาม GxP หรือกฎข้อบังคับด้านคุณภาพของอุตสาหกรรมต่างๆ อาทิเช่นเภสัชกรรม เทคโนโลยีชีวภาพ อุปกรณ์การแพทย์ ยาสมุนไพร เทคโนโลยีด้านสุขภาพ เครื่องสำอาง และอาหารและเครื่องดื่ม ทั้งนี้ หลักปฎิบัติด้าน Good 'x' Practices ( GxP) ได้แก่ แนวทางการผลิตที่ดี ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม (GMP) แนวทางการจัดทำห้องปฏิบัติการที่ดี เพื่อป้องกันการเจือปน กันเชื้อโรคที่อาจเข้ามาห้องปฏิบัติการ (Good Laboratory Practice) และแนวทางการปฏิบัติทางคลินิกที่ดี เพื่อการติดตามปรับปรุงคุณภาพ และเทคนิคในการพัฒนาที่ทดลองเกี่ยวกับยาและสารประกอบอื่น ๆ (Good Clinical Practice) เป็นต้น ดังนั้น แฟ็คทอรี่ทอล์ค จึงมีเป้าหมายที่จะ
ช่วยให้บริษัทต่างๆ เหล่านี้ทั้งในประเทศไทยและในภูมิภาคได้ยกระดับการดำเนินงานโดยนำระบบดิจิทัลมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพ คุณภาพของผลิตภัณฑ์ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
"เป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่ได้เห็นโครงการที่รัฐบาลไทยให้การสนับสนุนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการปรับเปลี่ยนประเทศสู่ไทยแลนด์ 4.0 มีความคืบหน้าไปอย่างมาก รวมถึงมาตรการด้านภาษีเพื่อจูงใจนักลงทุนต่างชาติ นอกจากนี้ ยังมีนโยบายของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ที่ช่วยลดภาษีสำหรับนักลงทุนต่างชาติ และมาตรการจูงใจให้ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศเข้ามาทำงานในประเทศไทย ทำให้เราได้ประโยชน์ในส่วนนี้ในช่วงปีแรกของการดำเนินงาน มาตรการเหล่านี้มีส่วนช่วยสนับสนุนให้เราสามารถเริ่มลงทุนและขยายธุรกิจซอฟต์แวร์ของเราในภูมิภาค" นายโฮลท์กล่าว
โครงการไทยแลนด์ 4.0 ทำให้บริษัทมองเห็นโอกาสการลงทุน และต้องการจะใช้ประโยชน์จากมาตรการด้านภาษีเพื่อสนับสนุนนักลงทุนต่างชาติของ BOI เพื่อขยายการดำเนินงานและให้บริการแก่ลูกค้าเป้าหมาย
ทั้งนี้ แฟ็คทอรี่ทอล์คจะขยายการดำเนินงานโดยผ่านบริษัทแบทช์ไลน์ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือที่ให้บริการด้านซอฟท์แวร์และโซลูชั่นที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ผลิตที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ต้องดำเนินงานตามหลัก GxP ทั้งรายเก่าและรายใหม่ การให้บริการของแบทช์ไลน์จะช่วยให้ผู้ผลิตสามารถเปลี่ยนระบบการผลิต จากวิธีการแบบดั้งเดิมที่ยังต้องใช้กระดาษไปสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์อันทันสมัยได้อย่างราบรื่นรวดเร็ว โดยจะนำเสนอโซลูชันเชิงดิจิทัลที่ก้าวล้ำบนระบบคลาวด์ ซึ่งจะทำให้ลดความซับซ้อนลง และเพิ่มความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน ด้วยการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานมาสู่ระบบดิจิทัลนี้ จะช่วยให้บริษัทสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้อย่างมาก เป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้วยต้นทุนที่ต่ำลง ทั้งยังช่วยขยายโอกาสการส่งออกเนื่องจากสามารถปฏิบัติตามหลักปฏิบัติสากลของสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย ทั้งนี้ การปรับเปลี่ยนสู่ระบบดิจิทัลจะครอบคลุมตลอดทั้งกระบวนการของห่วงโซ่คุณค่า ตั้งแต่กระบวนการผลิตและการควบคุมคุณภาพไปจนถึงการจัดจำหน่าย
นายโฮลท์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาอุตสาหกรรม GxP อย่างเวชภัณฑ์ต้องเผชิญความท้าทายในการปรับสู่ยุคดิจิทัลเนื่องจากระบบซอฟต์แวร์แบบเดิมมีต้นทุนค่อนข้างสูง ดังนั้น แฟ็คทอรี่ทอล์คโดยแบทช์ไลน์จึงได้พัฒนาผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นระดับโลกในราคาที่ย่อมเยากว่ามานำเสนอให้กับบริษัทผู้ผลิตสินค้าที่ต้อง
ได้รับการควบคุมให้สามารถได้รับประโยชน์จากการปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระบบดิจิทัลได้อย่างเต็มที่ ซึ่งเทคโนโลยีสมัยใหม่จะทำงานบนทั้งระบบคลาวด์และ Internet of Things (IoT) เป็นหลักจึงลดภาระเรื่องค่าใช้จ่าย แต่ได้ประโยชน์สูงสุดต่ออุตสาหกรรม
ซอฟต์แวร์ของแบทช์ไลน์ ประกอบด้วยโซลูชันดิจิทัลสำหรับการผลิต การควบคุมและประกันคุณภาพ กระบวนการการตรวจสอบ และการวิเคราะห์ข้อมูล ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์เหล่านี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้บริษัทลดขั้นตอนงานด้านเอกสารและเพิ่มประสิทธิภาพโดยการจะแปลงกระบวนการผลิตทั้งหมดให้เป็นระบบดิจิทัล มีระบบการตรวจสอบแบบเรียลไทม์ โดยอัตโนมัติ และมีการรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ นอกจากนี้ยังมีการตรวจสอบให้แน่ใจว่ากระบวนการทั้งหมด เป็นไปตามข้อกำหนด GxP
"เรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะได้ขยายฐานธุรกิจของแบชท์ไลน์ในประเทศไทย เพื่อสนับสนุนการปรับเปลี่ยนประเทศไทยให้เข้าสู่ระบบดิจิทัล ด้วยประสบการณ์และความชำนาญจากการทำงานระดับสากลทั้งในญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และยุโรป เราจึงมั่นใจว่าจะสามารถนำเสนอเครื่องมือและโซลูชันต่างๆ ที่จะสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ผลิตไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ เรายังมีแผนที่จะขยายการดำเนินงานของแบชท์ไลน์ในประเทศไทย ให้เป็นศูนย์กลางระดับภูมิภาคซึ่งจะทำให้บริษัทสามารถรองรับการขยายธุรกิจไปทั่วโลก" นายโฮลท์กล่าว
ทั้งนี้บริษัทมีแผนที่จะจัดหาเครื่องมือและจัดวางกลยุทธ์เชิงดิจิทัลที่เหมาะกับภูมิภาคส่วนนี้ โดยบริษัทมีเป้าหมายที่จะช่วยให้ลูกค้าประสบความสำเร็จในตลาดที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและมีการแข่งขันสูง
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Factorytalk ดูได้ที่ https://factory-talk.com/
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ BatchLine ดูได้ที่ https://www.batchline.com/
เกี่ยวกับแฟ็คทอรี่ทอล์ค
บริษัทแฟ็คทอรี่ทอล์ค เป็นผู้นำด้านไอทีโซลูชันและผู้ให้บริการให้คำปรึกษาชั้นนำด้านการกำกับดูแลคุณภาพในธุรกิจเภสัชกรรมและชีววิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรมที่อยู่ภายใต้หลักปฏิบัติด้านคุณภาพตามมาตรฐานสากล GxP ได้แก่เภสัชกรรม เทคโนโลยีชีวภาพ เซลล์และยีนบำบัด อุปกรณ์ทางการแพทย์ ยาสมุนไพร เทคโนโลยีด้านสุขภาพ เครื่องสำอาง และอาหารและเครื่องดื่ม โดยมีบริษัทลูกอย่างแบชท์ไลน์เป็นผู้ให้บริการโซลูชันซอฟต์แวร์ ที่จะเข้ามาแทนที่การบันทึกด้วยเอกสารแบบ Electronic Batch Record (EBR) ทั้งหมด ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาและทุ่นค่าใช้จ่ายได้อย่างมาก ช่วยปรับปรุงขั้นตอนการทำงานให้เป็นแบบอัตโนมัติ รวมทั้งการกระจายสินค้าและการวิเคราะห์ข้อมูล บริษัทแฟ็คทอรี่ทอล์คมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญที่ปฏิบัติงานทั่วภาคพื้นเอเชีย ยุโรป และสหรัฐอเมริกาที่ประจำอยู่ในสำนักงานในกรุงเทพฯ ประเทศไทย และเมืองแดร์สเบอรี สหราชอาณาจักร ปัจจุบันบริษัททำงานให้กับลูกค้ากว่า 200 รายทั่วโลก โดยนำเสนอบริการการตรวจสอบความถูกต้อง บริการให้คำปรึกษา และการวางระบบสำหรับบริษัทผู้ผลิตที่อยู่ภายใต้การควบคุมของ GxP องค์กรของรัฐ และหน่วยงานกำกับดูแลทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียแปซิฟิก ยุโรป และอเมริกาเหนือ
ที่มา: โอ.โอเพ่น อาร์ม