ความเสี่ยงเกิดขึ้นเมื่อองค์กรมองไม่เห็นสถานะความเป็นไปของข้อมูล เราจะแก้ปัญหาอย่างไร

พุธ ๑๔ มิถุนายน ๒๐๒๓ ๑๖:๔๐
บทความโดยฮัน ชอน กรรมการผู้จัดการประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้-ไต้หวัน-ฮ่องกง-เกาหลีใต้ นูทานิคซ์

ท่าทีของบริษัทและทัศนคติของผู้บริหารที่มีต่อโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในช่วงห้าปีที่ผ่านมา ในปี 2561 ผู้นำด้านไอทีส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้ว่า ไม่วันใดก็วันหนึ่งพวกเขาจะรันเวิร์กโหลดทางธุรกิจทั้งหมดอย่างเป็นการเฉพาะบนไพรเวทคลาวด์หรือพับลิคคลาวด์

ห้าปีต่อมา รายงาน Enterprise Cloud Index (ECI) ซึ่งเป็นการวิจัยระดับโลกประจำปีฉบับที่ห้าของนูทานิคซ์ ได้เผยให้เห็นถึงความจริงที่เกิดขึ้นซึ่งแตกต่างกันมากกับที่องค์กรส่วนใหญ่เคยคาดการณ์ไว้ ผลวิจัยระบุว่า องค์กรส่วนใหญ่เห็นว่า การรันเวิร์กโหลดบนพับลิคคลาวด์, ศูนย์ข้อมูลที่อยู่ภายในองค์กรและที่ edge พร้อม ๆ กัน เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และมีประโยชน์มาก ผลวิจัยระบุว่า 60 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรที่ตอบแบบสำรวจ ใช้สภาพแวดล้อมไอทีหลากหลายประเภทอยู่แล้ว และจำนวนผู้ใช้ลักษณะนี้กำลังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

รายงานยังระบุว่า เหตุผลหลักจากหลาย ๆ เหตุผล ที่ธุรกิจใช้ตัดสินใจว่าโครงสร้างพื้นฐานแบบไฮบริดเป็นโซลูชันที่ดีที่สุด คือเหตุผลด้านความปลอดภัยของข้อมูล ความยืดหยุ่น และค่าใช้จ่าย บริษัทไมโครลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) ซึ่งให้บริการสินเชื่อรถบรรทุกมือสองของไทย เป็นตัวอย่างหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงนี้ โดยเริ่มจากการใช้คลาวด์แพลตฟอร์มของนูทานิคซ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบภายในองค์กร และกำลังพิจารณานำโซลูชันด้านไฮบริดมัลติคลาวด์ของนูทานิคซ์มาใช้เพื่อรองรับการเติบโตของบริษัท เพื่อใช้ประโยชน์จากสมรรถนะด้านความยืดหยุ่นของพับลิคคลาวด์ได้เต็มประสิทธิภาพ

ความซับซ้อนของสภาพแวดล้อมไอทีลักษณะใหม่นี้ มาพร้อมกับการสร้างข้อมูลที่เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด จึงเป็นความท้าทายที่คนทำงานด้านไอทีต้องเผชิญ ความสามารถในการมองเห็นความเป็นไปของข้อมูลกลายเป็นหนึ่งในประเด็นร้อนที่สุดของบริษัทต่าง ๆ และผลวิจัย ECI ปีนี้ เผยให้เห็นว่าผู้บริหารส่วนใหญ่ (60 เปอร์เซ็นต์) ไม่สามารถมองเห็นได้อย่างครบถ้วนว่าข้อมูลต่าง ๆ ของบริษัทจัดเก็บอยู่ที่ใด

การไม่รู้ว่าข้อมูลทั้งหมดขององค์กรอยู่ที่ใดเป็นความเสี่ยงอย่างมากต่อองค์กร เมื่อใดก็ตามที่บริษัทมองไม่เห็นความเป็นไปของข้อมูลอย่างครบถ้วน บริษัทจะเสี่ยงต่อการละเมิดและการรั่วไหลของข้อมูลมากขึ้น อาจตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ช้าลง และกู้คืนข้อมูลได้ยากขึ้น นอกจากนี้อาจไม่สามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบต่าง ๆ ซึ่งเป็นการเพิ่มประเด็นปัญหาให้ต้องแก้ไขมากขึ้น

เมื่อไม่รู้ว่าข้อมูลอยู่ที่ใด อาจทำให้ธุรกิจขาดภาพรวมในการนำมาตรการด้านความปลอดภัยที่จำเป็น เช่น การควบคุมการเข้าถึงข้อมูล, การเข้ารหัส, และการติดตามตรวจสอบ มาใช้ได้อย่างครอบคลุม ทำให้ไม่มีการป้องกันอย่างรัดกุมและถูกโจมตีได้ง่าย

การมองไม่เห็นอย่างชัดเจนว่าข้อมูลอยู่ที่ใด อาจกระทบต่อประสิทธิภาพในการตอบสนองต่อสถานการณ์ต่าง ๆ เพราะการขาดข้อมูลจะส่งผลต่อความสามารถของบริษัทในการประสานความร่วมมือเพื่อตอบโต้การโจมตีได้อย่างรอบด้าน ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายอย่างมากและต้องใช้เวลาในการกู้คืนระบบมากขึ้น

ความท้าทายอีกประการหนึ่งคือ เมื่อธุรกิจไม่สามารถมองเห็นข้อมูลของตนแม้เพียงส่วนเล็ก ๆ ก็ตาม จะทำให้การใช้กลยุทธ์ด้านการลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลและการสำรองข้อมูลทำได้ยากขึ้น ซึ่งอาจทำให้ข้อมูลสูญหายจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น การโจมตีทางไซเบอร์ ระบบล่ม หรือจากภัยธรรมชาติ

KTBST SEC ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้านหลักทรัพย์ในประเทศไทย พบว่าการใช้โซลูชันของนูทานิคซ์ ช่วยให้มองเห็นความเคลื่อนไหวของดาต้าและแอปพลิเคชันได้อย่ารวดเร็วบนหน้าจอเดียว นูทานิคซ์ยังช่วยให้สามาถสำรองข้อมูลสำคัญได้ภายในไม่กี่วินาที ทำให้มั่นใจในการบริการลูกค้าที่ราบรื่นต่อเนื่อง

นอกจากนี้ บริษัทต่าง ๆ ยังต้องปฏิบัติตามข้อบังคับด้านการคุ้มครองข้อมูลที่มีอยู่อย่างมากมาย และ/หรือต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยถิ่นที่อยู่ของข้อมูลที่ประเทศต่าง ๆ กำหนดไว้ ดังนั้นหากบริษัทใดบริษัทหนึ่งไม่รู้ว่าข้อมูลของตนถูกเก็บไว้ ณ ที่ใด บริษัทนั้นอาจละเมิดข้อบังคับต่าง ๆ โดยไม่ตั้งใจ ทำให้ต้องจ่ายค่าปรับ รับผลทางกฎหมาย และชื่อเสียงเสียหาย

ในประเทศอินโดนีเซีย กระทรวงมหาดไทยตระหนักว่าจำเป็นต้องมีแพลตฟอร์มที่สามารถการรวบรวมและการจัดการบิ๊กดาต้าในทุกแง่มุม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสนับสนุนนโยบาย One Data Indonesia นอกจากนี้ยังต้องใช้เทคโนโลยีด้านบิ๊กดาต้าที่มีประสิทธิภาพให้เป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์ปริมาณ ความเร็ว และความหลากหลายของข้อมูลที่กำลังเพิ่มขึ้น เพื่อใช้เป็นข้อมูลเชิงลึกให้กับเทศบาลทุกแห่ง

กระทรวงมหาดไทยของอินโดนีเซีย ได้ติดตั้งระบบข้อมูลการกำกับดูและระดับภูมิภาคที่เรียกว่า Sistem Informasi Pemerintahan Daerah (SIPD) ไว้บนนูทานิคซ์ เพื่อให้เทศบาล 542 แห่งทั่วประเทศได้ใช้ ซึ่งช่วยให้กระทรวงฯ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพและความแม่นยำของข้อมูลได้อย่างน้อย 50 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานได้อย่างน้อย 2 เท่า และประหยัดค่าใช้จ่ายได้อย่างน้อย 40 เปอร์เซ็นต์ และสามารถเข้าถึงจังหวัดเป้าหมายได้ 99 เปอร์เซ็นต์ภายในเวลาไม่ถึงหนึ่งปี

องค์กรจะมองเห็นสถานะและความเป็นไปของข้อมูลทั้งหมดได้อย่างสมบูรณ์ได้ ด้วยการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ โครงสร้างพื้นฐานที่ควบคุมการทำงานด้วยซอฟต์แวร์ และเครื่องมืออัตโนมัติต่าง ๆ มาผสานใช้งานร่วมกัน และเมื่อมองเห็นข้อมูลทั้งหมดก็จะสามารถปรับกระบวนการตัดสินใจต่าง ๆ และดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ได้ผลลัพธ์ดีขึ้น ซึ่งปลายทางก็คือเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เพิ่มผลิตผล และสามารถทำกำไรได้มากขึ้น แพลตฟอร์มเหล่านี้ เปิดทางให้องค์กรพบโอกาสใหม่ ๆ ที่ใช้ขับเคลื่อนการเติบโตและประสบความสำเร็จในสนามธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงในปัจจุบัน

ที่มา: เอฟเอคิว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๑ ก.พ. รฟท. จัดรถไฟส่งผู้ชุมนุมขบวนคนจนเมืองเพื่อสิทธิที่อยู่อาศัย เครือข่ายสลัม 4 ภาค กลับภูมิลำเนาโดยสวัสดิภาพ
๒๑ ก.พ. BCPG เผยผลการดำเนินงานปี 2567 กำไรสุทธิกว่า 1,800 ล้านบาท เติบโต 65% จากปีก่อน พร้อมประกาศจ่ายเงินปันผลครึ่งปีหลัง
๒๑ ก.พ. เกรท นำทีมศิษย์เก่า ฟอส-แบงค์ ฉลองครบรอบ 40 ปี ม.รังสิต เปิดตัว คริส หอวัง กับบทบาท ครูผู้ฮีลใจนักศึกษา แห่งสถาบัน
๒๑ ก.พ. ธนาคารกรุงเทพ ประกาศจ่ายเงินปันผล หุ้นละ 8.50 บาท สำหรับผลการดำเนินงานประจำปี 2567
๒๑ ก.พ. GULF เคาะแล้ว! อัตราดอกเบี้ยหุ้นกู้อายุ 4-10 ปี ที่ 3.00 - 3.55% ต่อปี พร้อมเสนอขายประชาชนทั่วไป 27-28 ก.พ. และ 3 มี.ค.68 ผ่านสถาบันการเงินชั้นนำ 10
๒๑ ก.พ. Selena Gomez, benny blanco, Gracie Abrams ส่งเพลงสนุกๆ โดนใจ Gen-Z Call Me When You Break Up การรวมตัวของอเวนเจอร์วงการเพลงป็อปที่ทุกคนรอคอย!
๒๑ ก.พ. MBK Care อาสาทำดี ปันน้ำใจสู่สังคม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ ปีที่ 7 ส่งมอบความสุขเพื่อผู้พิการทางสายตา พร้อมสิ่งของอุปโภคบริโภค
๒๑ ก.พ. บางจากฯ ปรับโครงสร้างธุรกิจ เพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวของกลุ่มบริษัทบางจาก
๒๑ ก.พ. สวยทุกลุค ชมพู่ - อารยา ถ่ายทอดไลฟ์สไตล์ของสาว GUESS ในแคมเปญคอลเลกชัน Spring Summer 2025 สีสันแห่งฤดูกาลใหม่
๒๑ ก.พ. วช. เปิดศูนย์การเรียนรู้โดรนเพื่อการเกษตร ต้นแบบการยกระดับประสิทธิภาพภาคการเกษตรของจังหวัดกาฬสินธุ์ ณ