การ์ทเนอร์เผย 47% ของพนักงานดิจิทัลประสบปัญหาค้นหาข้อมูลที่จำเป็นเพื่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

จันทร์ ๑๙ มิถุนายน ๒๐๒๓ ๐๙:๕๐
ผู้บริหารในองค์กรดิจิทัล (Digital Workplace) สามารถใช้แอปพลิเคชันและแนวทางปฏิบัติที่ใช้ร่วมกันได้เพื่อปรับปรุงผลลัพธ์ทางธุรกิจ

จากการสำรวจล่าสุดของการ์ทเนอร์ อิงค์ พบว่า 47% ของพนักงานดิจิทัลระบุว่าพวกเขาต้องพบกับความยุ่งยากไปกับการค้นหาข้อมูลที่จำเป็นเพื่อให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพ

ทอร์รี พอลแมน ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ กล่าวว่า "พนักงานต้องประสบปัญหากับการจัดการงานในยุคดิจิทัล เนื่องจากมีข้อมูลและแอปพลิเคชันที่เข้ามาในดิจิทัลเวิร์กสเปซมากขึ้น แม้ว่าพนักงานจะพยายามจัดการคอนเทนต์เหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดการทำงานซ้ำซ้อนหรือเพิ่มการแบ่งปันความรู้และการรักษาความรู้ ซึ่งการค้นหาข้อมูลที่ต้องการสำหรับการทำงานกลับสร้างแรงกดดันให้พนักงานเผชิญกับความท้าทาย ผู้บริหารในองค์กรดิจิทัลควรสร้างกระบวนการที่เปิดโอกาสให้พนักงานสามารถตกลงกันในแอปพลิเคชันที่ใช้ในการทำงานได้"

รายงานการสำรวจของการ์ทเนอร์นี้ดำเนินการในช่วงเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน ปี 2565 กับพนักงานประจำที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลจำนวน 4,861 รายในองค์กรที่มีพนักงานตั้งแต่ 100 คนขึ้นไปในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร อินเดีย และจีน

พนักงานต้องการเครื่องมือที่เหมาะสม

จากการสำรวจพบว่าพนักงานนั่งโต๊ะ (ที่อาจเรียกว่า "พนักงานที่มีทักษะหรือ Knowledge Worker") ใช้แอปพลิเคชันสำหรับทำงานโดยเฉลี่ย 11 แอปพลิเคชัน เมื่อเทียบกับ 6 แอปพลิเคชันในปี 2563 โดย 40% ของพนักงานดิจิทัลใช้แอปพลิเคชันทำงานมากกว่าค่าเฉลี่ย ขณะที่  5% ของพนักงานใช้มากกว่า 26 แอปพลิเคชันในที่ทำงาน

โดยเฉลี่ย 66% ของผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่า องค์กรสามารถบรรลุผลและสร้างผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ดีขึ้นได้ หากฝ่ายไอทีจัดหาแอปพลิเคชันและอุปกรณ์ที่ได้รับการยอมรับและสนับสนุนการทำงานในระดับสากล เมื่อกลยุทธ์แอปพลิเคชันในดิจิทัลเวิร์กสเปซพยายามเอาชนะทุกความท้าทายด้วยแอปพลิเคชันใหม่ พบว่าพนักงานดิจิทัลต้องเจอกับปัญหาในการค้นหาข้อมูล การตัดสินใจที่ไม่ดีพอเนื่องจากขาดองค์ความรู้ การได้รับการแจ้งเตือนที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้องาน และพลาดการอัปเดตสำคัญท่ามกลางการถูกรบกวน (ดูรูปที่ 1)

รูปที่ 1 ผลกระทบของการใช้งานแอปพลิเคชันจำนวนมาก (เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถาม)

ข้อมูลจาก: การ์ทเนอร์ (พฤษภาคม 2566)

พนักงานยอมรับการตรวจสอบการทำงานเพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพ

การแพร่ระบาดทำให้องค์กรให้ความสนใจติดตามประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน โดยระบบเหล่านี้ตรวจสอบการมีส่วนร่วมของพนักงานผ่านอุปกรณ์และการใช้งานแอปพลิเคชัน รวมทั้งประเมินว่าพนักงานคนใดทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดและตรงตามผลลัพธ์ทางธุรกิจหรือไม่

แม้ว่าแนวคิดเกี่ยวกับการประเมินประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในระดับพื้นฐานที่สุดอาจเต็มไปด้วยข้อกังขา อย่างไรก็ดีการสำรวจชี้ให้เห็นว่า มีพนักงานดิจิทัลถึง 96% ระบุว่าพวกเขายินดียอมรับการตรวจสอบเพื่อแลกกับความช่วยเหลืออย่างน้อยหนึ่งในสามตัวเลือกที่ตอบในแบบสอบถาม ยิ่งไปกว่านั้น ยังพบว่า 34% ระบุว่าพวกเขายอมรับการตรวจสอบเพื่อเป็นประตูสู่โอกาสในการฝึกอบรมเสริมความรู้และความก้าวหน้าในอาชีพ ในขณะที่ 33% ยอมรับการตรวจสอบเพื่อรับการสนับสนุนในการหาข้อมูลสำหรับทำงานของพวกเขา และ 30% ยอมรับการตรวจสอบเพื่อแลกกับการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการใช้งานคอมพิวเตอร์หรือแอปพลิเคชันเชิงรุกจากทีมไอทีเมื่อเจอปัญหา

พนักงานต้องการให้แก้ปัญหาด้านเทคโนโลยีแบบเชิงรุก

การสำรวจพบว่าแนวทางความช่วยเหลือด้านไอทีภายในองค์กร 6 ข้อแรกที่พนักงานต้องการจากการแก้ไขด้านเทคโนโลยี โดยแนวทาง 3 อันดับแรก ได้แก่ การโต้ตอบทางโทรศัพท์ แชท และบทสนทนาทางอีเมล โดยให้เหตุผลหลักว่าความรู้ความเชี่ยวชาญของพนักงานฝ่ายไอทีที่แก้ปัญหาและความรวดเร็วในการแก้ปัญหา ซึ่งผลการสำรวจในครั้งนี้ต่างจากปี 2563 ที่พนักงานเลือกใช้วิธีการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดิจิทัลอื่น ๆ เพื่อแก้ไขปัญหา เช่น ค้นหาวิธีแก้ปัญหาทางออนไลน์และปรึกษาเพื่อนร่วมงาน

"พนักงานต้องการการสนับสนุนด้านไอทีเชิงรุกมากขึ้น เช่นได้รับการแก้ปัญหาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และแอปพลิเคชันก่อนที่จะพบความผิดปกติหรือก่อนที่ความผิดปกตินั้นจะถูกรายงานออกไป ประสบการณ์การทำงานแบบดิจิทัลของพนักงาน (DEX) สามารถช่วยทีมไอทีให้บรรลุเป้าหมายนี้ได้โดยการปรับปรุงประสิทธิภาพของอุปกรณ์และแอปพลิเคชันอย่างต่อเนื่อง" พอลแมน กล่าวเสริม

"ผู้บริหารในดิจิทัลเวิร์กสเปซต้องเริ่มขับเคลื่อน DEX และตระหนักว่าจะใช้เครื่องมือดิจิทัลที่มีอยู่ในองค์กรให้เกิดประโยชน์สูงสุด พวกเขาควรมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาคุณภาพและหาแนวปฏิบัติที่เหมาะสมแก่พนักงานเพื่อสร้างประสบการณ์ทำงานดิจิทัลที่ยอดเยี่ยม เช่น ส่งเสริมการเติบโตและสร้างความสัมพันธ์ทั่วทั้งองค์กร เข้าใจวิธีการที่พนักงานรับรู้การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี"

เกี่ยวกับการ์ทเนอร์

บริษัท การ์ทเนอร์ (Gartner, Inc.) (NYSE: IT) คือบริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาชั้นนำของโลก มอบข้อมูลเชิงลึก คำแนะนำ และเครื่องมือต่าง ๆ แก่ผู้บริหารองค์กรธุรกิจ เพื่อรองรับการดำเนินภารกิจสำคัญที่มีอยู่ในปัจจุบันและสร้างองค์กรให้ประสบความสำเร็จในอนาคต ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางของการ์ทเนอร์ในการช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจอย่างถูกต้องเพื่อขับเคลื่อนอนาคตของธุรกิจได้ที่ gartner.com

ที่มา: พีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version