ผู้จุดคบเพลิงสวมชุดสีขาว 19 คน เดินขึ้นบันไดก่อนที่หนึ่งในนั้นจะจุดคบไฟจากแสงอาทิตย์โดยใช้กระจกเว้า โดยเลข 19 หมายถึงการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 19 ขณะที่รูปทรงของกระจกออกแบบเหมือนหยกปี้ (Bi) เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของแสงอาทิตย์
เหลียงจู่มีความหมายว่าโอเอซิสน้ำอันงดงาม ตั้งอยู่ที่เขตยู่หางของหางโจว โดยซากปรักหักพังทางโบราณคดีของเหลียงจู่ในหางโจวได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก (UNESCO) เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2562 ระหว่างการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยที่ 43 เพราะเป็นหลักฐานที่ยืนยันได้ว่าอารยธรรมจีนเริ่มต้นเมื่อ 5,000 ปีที่แล้ว ทั้งยังแสดงให้เห็นว่า อารยธรรมจีนห้าพันปีที่ปรากฏให้เห็นนี้ได้รับการยอมรับจากประชาคมโลกอย่างกว้างขวาง
การรวบรวมเชื้อไฟ ณ จุดนี้หมายความว่า แสงแห่งอารยธรรมของเหลียงจู่เคลื่อนผ่านกาลเวลาและสถานที่ จุดไฟแห่งเอเชียนเกมส์ให้ลุกโชนในยุคใหม่ เป็นสัญลักษณ์ของจิตวิญญาณแห่งกีฬาที่สืบทอดส่งต่อและดำเนินต่อไป
อุปกรณ์เก็บไฟได้ออกแบบเป็นทรงหยกปี้ ส่วนแท่นวางกล่องไฟออกแบบในรูปของหยกฉง (Cong) ซึ่งเป็นหยกรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวและกลวง หยกปี้และหยกฉงเป็นหยกที่มีความสำคัญของอารยธรรมเหลียงจู่ สิ่งเหล่านี้เป็นแบบจำลองยุคแรกสุดของจักรวาลวิทยาตามอารยธรรมจีน และเป็นเครื่องหมายทางวัฒนธรรมที่สำคัญ ซึ่งสะท้อนถึงประวัติศาสตร์อันยาวนานและความลึกซึ้งของอารยธรรมจีน
นอกจากนี้ แนวคิดการออกแบบคบเพลิงประจำการแข่งขันหางโจว เอเชียนเกมส์ มาจากหยกที่ใช้ในวัฒนธรรมเหลียงจู่ ซึ่งสื่อถึงสัญลักษณ์อันงดงามในการเชื่อมโยงอดีตและอนาคตของหางโจว เอเชียนเกมส์
ทั้งนี้ อารยธรรมเหลียงจู่ได้เจริญรุ่งเรืองมาเป็นเวลาพันปี โดยมีบทบาทอย่างโดดเด่นในการก่อร่างสร้างอารยธรรมจีน ทั้งยังเปิดโอกาสให้ตีความประวัติศาสตร์อารยธรรมจีนในความเจริญรุ่งเรืองแบบพหุนิยมและประสานกันได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ลิงก์ข่าวต้นฉบับ: https://en.imsilkroad.com/p/334641.html
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2106041/1.jpg
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2106042/2.jpg