สจล. เสริมแกร่งวิจัย - หลักสูตรวิศวกรรมดนตรีและสื่อประสม ผนึกความร่วมมือ ยามาฮ่า คอร์ปอเรชั่น ผู้นำอุตสาหกรรมดนตรีของโลก ประเทศญี่ปุ่น

ศุกร์ ๒๓ มิถุนายน ๒๐๒๓ ๑๔:๑๒
ดนตรีเป็น 'ซอฟท์พาวเวอร์' อันทรงพลัง ขณะที่สื่อดิจิทัลคอนเทนต์ต่างๆ มีอิทธิพลต่อวิถีสังคมมนุษย์และเข้าถึงคนทุกเพศทุกวัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) นำโดย รศ.ดร.คมสัน มาลีสี อธิการบดี ผศ.ดร.พิทักษ์ ธรรมวาริน คณบดี วิทยาลัยวิศวกรรมสังคีต ผนึกความร่วมมือกับผู้นำอุตสาหกรรมดนตรีของโลก บริษัท ยามาฮ่า คอร์ปอเรชั่น แห่งญี่ปุ่น และสยามดนตรียามาฮ่า ณ เมืองฮามามัตสึ เพื่อแลกเปลี่ยนและต่อยอดงานวิจัยศิลปะและเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมดนตรี ผลิตกำลังคนสมรรถนะสูงป้อนวงการดนตรีและดิจิทัลมีเดีย เสริมความแข็งแกร่งงานวิจัย พัฒนาหลักสูตรดนตรีและสื่อประสมให้ก้าวหน้า สร้างเสริมพลังซอฟท์พาวเวอร์ของไทย

รศ.ดร.คมสัน มาลีสี อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า อุตสาหกรรมดนตรีในตลาดโลกมีการพัฒนาควบคู่กับดิจิทัลมีเดียซึ่งเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก อุตสาหกรรมดนตรีจึงเติบโตอย่างรวดเร็ว ในบางประเทศ เช่น เกาหลีใต้ กำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ มีศิลปินโด่งดังระดับโลก เช่น ลิซ่า - ลลิษา มโนบาล แบล็คพิ้งค์ บีทีเอส สร้างภาพลักษณ์ให้ประเทศและมูลค่าทางเศรษฐกิจอื่นๆ ตามมาอย่างมหาศาล โดยใช้อุตสาหกรรมดนตรีเป็นตัวนำทางและแผ่ขยายไปยังนานาประเทศทั่วโลก สำหรับประเทศไทย วิทยาลัยวิศวกรรมสังคีต สจล. ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2561 นับเป็นแห่งแรกในอาเซียนที่ผลิตบุคลากรด้านวิศวกรรมดนตรีที่เชี่ยวชาญทั้งศาสตร์และศิลป์ รองรับยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) โดยเปิดหลักสูตรวิศวกรรมดนตรีและสื่อประสม ในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และหลักสูตรระยะสั้น ดังนั้นความร่วมมือระหว่าง สจล.กับ สยามดนตรียามาฮ่า และยามาฮ่า คอร์ปอเรชั่น นับเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อความร่วมมือพัฒนาความก้าวหน้าของหลักสูตรดนตรีใหม่ๆ และงานวิจัยในประเทศไทย การถ่ายทอดเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น การบ่มเพาะบุคลากรสมรรถนะสูงทางด้านวิศวกรรมดนตรีและสื่อดิจิทัลเทคโนโลยี ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการสร้างสรรค์งานดนตรี สื่อและคอนเทนต์ต่างๆ ได้อย่างมีสีสัน ตอบสนองความหลากหลายของการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ เสริมพลังให้'ซอฟท์พาวเวอร์' ของไทยด้านดนตรี ภาพยนตร์ เฟสติวัล กีฬาการต่อสู้ และขับเคลื่อนไทยเป็น "ศูนย์กลางอุตสาหกรรมและนวัตกรรมทางด้านบันเทิงแห่งอาเซียน"

ผศ.ดร.พิทักษ์ ธรรมวาริน คณบดี วิทยาลัยวิศวกรรมสังคีต สจล. กล่าวว่า จุดเด่นของหลักสูตรวิศวกรรมดนตรีและสื่อประสม วิทยาลัยวิศวกรรมสังคีต แบ่งเป็น Acoustic Engineering และ Sound Engineering มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะความสามารถและความเชี่ยวชาญในการบูรณาการองค์ความรู้ อาทิ วิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร อิเล็กทรอนิกส์ และวิศวกรรมการประมวลผลสัญญาณ วิศวกรรมอคูสติกส์ เข้ากับองค์ความรู้ทางด้านศิลป์สาขาวิชาดนตรีและเทคโนโลยีดนตรี บุกเบิกมิติใหม่ในแวดวงการศึกษาทางด้านวิศวกรรมดนตรีของประเทศ ตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียน และกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ด้านดนตรี สื่อดนตรี อุตสาหกรรมเกม อีเว้นท์ สื่อทางวิทยุ โทรทัศน์ เป็นต้น เข้าใจในมุมมองของศิลปะทางด้านดนตรีและมีทักษะในทางปฏิบัติ สามารถวิเคราะห์ความเชื่อมโยงของหลักการทางวิศวกรรมกับเทคโนโลยีดนตรีได้เป็นอย่างดี โดยมีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ ห้องปฏิบัติการ และเครื่องมือที่ครบครันทันสมัย

ผู้จบการศึกษาจะสามารถทำงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ อุตสาหกรรมดนตรี, ภาพยนตร์, โฆษณา, เกมส์และแอนิเมชัน, วิทยุโทรทัศน์, อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องดนตรี, วิศวกรรมเสียงสำหรับอาคาร, วิศวกรรมความปลอดภัยทางเสียงและโสตทัศนูปกรณ์ทางการแพทย์, อุตสาหกรรมยานยนต์ และอื่นๆ  ผู้สนใจสมัครเรียนวิทยาลัยวิศวกรรมสังคีต ดูรายละเอียดที่เว็บไซต์ https://imse.kmitl.ac.th/th/ โทร. 02-329-8197 หรือเฟสบุค https://www.facebook.com/imsekmitl/?locale=th_TH

ในโอกาสที่นักวิจัย คณาจารย์และนักศึกษาของวิทยาลัยวิศวกรรมสังคีต สจล. ไปเยือนโรงงานผลิตเครื่องดนตรีและอุปกรณ์ระบบเสียงของยามาฮ่า ที่เมืองฮามามัตสึ ดร. พีรวัฒน์ ชูเกียรติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามดนตรียามาฮ่า จำกัด และ มร.กาซุนาริ ซูซูกิ (Kazunari Suzuki) กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ บริษัท สยามดนตรียามาฮ่า จำกัด ได้ประสานงานกับยามาฮ่า คอร์ปอเรชั่น ที่ญี่ปุ่นตลอดทริปที่เมืองฮามามัตซึ ซึ่งเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมดนตรีที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก นำนักวิจัยและนักศึกษา สจล.ดูงานและเปิดมุมมองเกี่ยวกับแนวโน้มการพัฒนาเครื่องดนตรี เครื่องเสียง และอุปกรณ์ต่างๆ ไลน์การผลิตที่ก้าวหน้าทันสมัยของยามาฮ่า เป็นผู้นำอุตสาหกรรมดนตรีและระบบเสียงในตลาดโลก ซึ่งมีประวัติศาสตร์การก่อตั้งมายาวนานตั้งแต่ปี ค.ศ. 1887 โดดเด่นในงานวิจัยคิดค้นและสร้างสรรค์นวัตกรรม ตั้งแต่เครื่องดนตรีอิเลคโทน เปียโน คีย์บอร์ด ดนตรีคอมโบ้ ซินธิไซเซอร์ เครื่องเป่าทองเหลือง ระบบเครื่องเสียงในบ้าน ระบบเครื่องเสียงสำหรับงานสาธารณะ อีกทั้งได้เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์เครื่องดนตรีโลกแห่งแรกและแห่งเดียวในญี่ปุ่น Hamamatsu Museum of Musical Instruments "เมืองแห่งการสร้างสรรค์ดนตรี" อนุรักษ์มรดกทางดนตรีที่มีคุณค่าจากทั่วทุกมุมโลก

นอกจากนี้วิทยาลัยวิศวกรรมสังคีต สจล.ยังได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ความก้าวหน้ากับสองมหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยโตไก (Tokai University) เยี่ยมห้องปฏิบัติการวิจัย Acoustic Lab & Virtual Reality Lab และ มหาวิทยาลัยศิลปะแห่งโตเกียว (Tokyo University of the Arts) ซึ่งมี Immersive Sound Lab ที่ทันสมัย พร้อมพบปะและฟังบรรยายสรุปของนักศึกษาไทยจากวิทยาลัยวิศวกรรมสังคีต สจล. ชั้นปี4 ที่เดินทางไปฝึกงานในประเทศญี่ปุ่น (Oversea Training) เป็นเวลา 1 เทอมการศึกษา ณ มหาวิทยาลัยทั้งสองแห่ง เพื่อนำประสบการณ์ความรู้มาพัฒนาดนตรีในประเทศไทยอีกด้วย

ที่มา: เบรนเอเซีย คอมมิวนิเคชั่น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ