โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมเพิ่มความแข็งแกร่งให้ภาครัฐและเอกชน นักวิจัย นักวิชาการ และรองรับการเติบโตแบบยั่งยืนทางด้านนวัตกรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีของภาคอุตสาหกรรมไทย ให้ได้เรียนรู้ถึงประโยชน์ ความคุ้มค่า รวมถึงกรณีศึกษาการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการจำลองเชิงวิศวกรรมในงานจริง โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรที่เชี่ยวชาญทั้งจาก วว. และพันธมิตรเอกชนร่วมถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้ในหัวข้อต่างๆ ได้แก่ การเปิดโลกเทคโนโลยีและการจำลองทางวิศวกรรม การประยุกต์ใช้ไฟไนต์เอลิเมนต์ในงานประเมินอายุชิ้นส่วนวิศวกรรมตามมาตรฐานสากล งานออกแบบวิเคราะห์ทางวิศวกรรมด้วยไฟไนต์เอลิเมนต์ทางด้านระบบรางและยานยนต์ขนส่ง การยกระดับงานวิจัยเพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรม 4.0 ด้วยเทคโนโลยี IoT และ Digital Twin โดยมีกลุ่มเป้าหมายให้ความสนใจเข้าร่วมการสัมมนากว่า 100 ท่าน
ทั้งนี้ เทคโนโลยี CAE ได้เข้ามามีบทบาทในการทำงานของวิศวกรในหลากหลายอุตสาหกรรม โดยอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรนิกส์ได้นำไปช่วยด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า อุตสาหกรรมปิโตรเลียมและปิโตรเคมีนำไปใช้ด้านการพัฒนากระบวนการผลิตและงานซ่อมบำรุง ส่วนอุตสาหกรรมทางการแพทย์นำมาช่วยในการออกแบบและผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ โดยแนวโน้มการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี CAE ในอนาคต จะมุ่งไปสู่รูปแบบของ Virtual Engineering ที่จำลองงานวิศวกรรมทั้งหมดอยู่บนคอมพิวเตอร์ ทำให้การพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถของอุตสาหกรรมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีต้นทุนต่ำและใช้เวลาน้อยลง
ที่มา: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย