เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ ดึง 800 บริษัทการแพทย์ จาก 30 ประเทศชั้นนำ ลุยจัดเมกะอีเว้นท์ "เมดิคอล แฟร์ ไทยแลนด์ 2023" ตอกย้ำไทย "ฮับการแพทย์โลก"

จันทร์ ๒๖ มิถุนายน ๒๐๒๓ ๑๖:๔๗
เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ ดึง 800 บริษัทการแพทย์ จาก 30 ประเทศชั้นนำ ลุยจัดเมกะอีเว้นท์ "เมดิคอล แฟร์ ไทยแลนด์ 2023" ตอกย้ำไทย "ฮับการแพทย์โลก" พร้อมกรุยทางการลงทุนในไทย - อาเซียน

บริษัท เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ เอเชีย เดินหน้าเผยความพร้อมมหกรรมยิ่งใหญ่แห่งวงการการแพทย์ "เมดิคอลแฟร์ ไทยแลนด์ 2023" แพลตฟอร์มสนับสนุนประเทศไทยสู่ฮับสำคัญด้านศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติตามนโยบายรัฐบาล โดยเตรียมดึงพันธมิตร 800 บริษัทเทคโนโลยีด้านการแพทย์ จาก 30 ประเทศทั่วโลก พร้อมพาวิลเลี่ยนนานาชาติกว่า 20 ประเทศ ร่วมนำเสนอ 8,000 นวัตกรรมและโซลูชั่นทางการแพทย์ที่น่าสนใจแห่งปี ภายใต้พื้นที่ 3 ส่วนสำคัญ ได้แก่ สตาร์ทอัพพาร์ค พาวิลเลี่ยนดูแลสุขภาพชุมชน และพาวิลเลี่ยนอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-15 กันยายน 2566 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา และ 16-22 กันยายน 2566 ในรูปแบบออนไลน์

นายเกอร์นอท ริงลิ่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ เอเชีย กล่าวว่า อุตสาหกรรมการแพทย์ในประเทศไทยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีอัตราการเติบโตมากกว่า 10 % ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนจากเทรนด์ที่คนไทยให้ความสนใจในการดูแลรักษาสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ อีกทั้งรัฐบาลได้ผลักดันนโยบายศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ศูนย์กลางบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ (Wellness Hub) ศูนย์กลางบริการการแพทย์ (Medical Service Hub) ศูนย์กลางบริการวิชาการและงานวิจัย (Academic Hub) และศูนย์กลางยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Product Hub) พร้อมด้วยเป้าหมายที่จะส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการแพทย์ - ศูนย์กลางสุขภาพระดับโลก โดยมีการคาดการณ์ว่ามูลค่าตลาดท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของไทยในปี 2566 คาดว่าจะอยู่ที่ 3.1 แสนล้านบาท และอาจแตะระดับ 7.6 แสนล้านบาท ในปี 2570 (ที่มา : Allied Market Research 2022) และประเทศไทยยังเป็นผู้ส่งออกอุปกรณ์การแพทย์รายใหญ่ที่สุดในอาเซียนอีกด้วย

"จากความน่าสนใจนี้จึงเป็นตัวแปรให้อุตสาหกรรมการแพทย์และผู้จัดงานนิทรรศการ งานประชุม และงานแสดงสินค้าในระดับโลกยังคงสนใจที่จะใช้ไทยเป็นพื้นที่ในการลงทุน ทำตลาด สร้างความร่วมมือทางด้านนวัตกรรม พร้อมด้วยนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาโชว์ศักยภาพเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยจะเห็นได้ว่าปีนี้มีงานด้านการแพทย์ในไทยมีความคึกคัก นักท่องเที่ยวและนักเดินทางที่เข้ามาในไทยมีจุดมุ่งหมายในเรื่องการรับบริการเพื่อสุขภาพที่มุ่งเป้าทั้งสังคมสูงวัย การรักษาและบำบัดโรคเฉพาะทาง บริการแพทย์แผนไทย ฯลฯ และยังจะเห็นได้ว่ามีการเพิ่มขึ้นของธุรกิจสถานพยาบาล ธุรกิจเครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์ ยาและอาหารเสริม ประกันสุขภาพ กลุ่มธุรกิจไบโอเทคโนโลยี สตาร์ทอัพ MedTech อย่างต่อเนื่อง

ในส่วนของ เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในพันธมิตรที่จัดงานระดับโลกในไทยมากว่า 20 ปี ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพและความพร้อมด้านการแพทย์ของประเทศไทย จึงเตรียมจัดมหกรรมด้านการแพทย์ยิ่งใหญ่แห่งปี เมดิคอลแฟร์ ไทยแลนด์ 2023 : Medical Fair Thailand 2023 ซึ่งจะจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 10 โดยผนึกกำลังพันธมิตร และรวบรวมผู้แสดงสินค้ากว่า 800 รายจากกว่า 30 ประเทศทั่วโลกทั้ง เยอรมนี สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร จีน สิงคโปร์ ฯลฯ รวมถึงประเทศที่เข้าร่วมงานเป็นครั้งแรกทั้ง ลัตเวีย โปรตุเกส โปแลนด์ ตุรกี และแคนาดา มาร่วมนำเสนอผลงานนวัตกรรมด้านการแพทย์และการดูแลสุขภาพที่ครอบคลุมทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ด้านจักษุ อุปกรณ์ด้านทันตกรรม ด้านเภสัชกรรม ยา อุปกรณ์ห้องทดลอง สิ่งทอ เครื่องมือวินิจฉัย ระบบกำจัดเชื้อ เทคโนโลยีในระบบอาคาร เครื่องมือรองรับเหตุฉุกเฉิน เฟอร์นิเจอร์ทางการแพทย์ อุปกรณ์ฟื้นฟูสมรรถภาพ เครื่องมืออิเลคทรอนิกส์ทางการแพทย์ ฯลฯ ที่พร้อมจะขยายธุรกิจและความร่วมมือทางการแพทย์ในตลาดอาเซียน ซึ่งงานเมดิคอลแฟร์ ไทยแลนด์ ได้จัดขึ้นครั้งล่าสุดเมื่อปี 2019 และงดจัดงานในปี 2021 เนื่องจากสถานการณ์โควิด การกลับมาในครั้งนี้หลังจากเว้นระยะไป 4 ปี จะกลับมาสร้างความคึกคักในวงการธุรกิจอุตสาหกรรมการแพทย์อย่างแน่นอน เพราะช่วงเวลาดังกล่าวเกิดกลุ่มธุรกิจและสตาร์ทอัพด้าน MedTech ทั้งในประเทศไทยและอาเซียนขึ้นจำนวนมาก"

นายเกอร์นอท กล่าวเพิ่มเติมว่า ภายในงานเมดิคอลแฟร์ ไทยแลนด์ 2023 ประกอบด้วย 3 ไฮไลท์หลักคือ สตาร์ทอัพพาร์ค พื้นที่สำหรับสตาร์ทอัพจากทั่วโลกที่เกี่ยวข้องในด้านการแพทย์ เช่น เทคโนโลยีเอไอเพื่อช่วยเหลือทางการแพทย์ การใช้หุ่นยนต์ช่วยระบบการวินิจฉัยโรค ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพพร้อมเติบโตในวงการการแพทย์และการดูแลสุขภาพ เพื่อสร้างความร่วมมือและต่อยอดทางธุรกิจ ผลักดันสตาร์ทอัพให้เติบโตควบคู่กับสุขภาพของประชาชน และทำให้สตาร์ทอัพในประเทศไทยมีโอกาสได้รับการลงทุนในฐานะฐานสตาร์ทอัพแห่งเอเชีย พาวิลเลี่ยนดูแลสุขภาพชุมชน ที่มุ่งเน้นนวัตกรรมและโซลูชั่นที่เกี่ยวข้องใน 3 ประเด็นหลัก คือ การดูแลสุขภาพทางใจ สังคมผู้สูงวัย และโรคอุบัติใหม่ สอดคล้องกับสภาพสังคมเมืองในปัจจุบัน โดยเฉพาะประเทศไทยมีผู้ที่มีภาวะป่วยทางใจมากกว่า 3 ล้านคน และคาดการณ์ว่าจะเป็นหนึ่งในประเทศที่มีประชากรสูงวัยมากที่สุดในอาเซียน ภายในปี 2045 ทำให้ต้องมีโซลูชันทางการแพทย์เพื่อตอบรับความต้องการที่กำลังเพิ่มขึ้นทั้ง ระบบดิจิทัลเพื่อสุขภาพจิต ระบบอัฉริยะและเครื่องมือในดูแลรักษาโรค เวชศาสตร์ผู้สูงวัย การฟื้นฟูสมรรถภาพ ฯลฯ

พาวิลเลี่ยนอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ ไฮไลท์พิเศษที่เปิดตัวในประเทศไทยเป็นครั้งแรกในปีนี้ เพื่อเป็นพื้นที่แห่งความร่วมมมือด้านกระบวนการและองค์ประกอบของอุตสาหกรรมการผลิต ครอบคลุมทั้งด้านวัสดุชนิดใหม่ๆ ผลิตภัณฑ์ แพคเกจจิ้ง และบริการขั้นสูง จนถึงไมโครโปรเซสเซอร์และนาโนเทคโนโลยี โดยแวดวงอุตสาหกรรมการผลิตด้านการแพทย์กำลังเป็นที่ต้องการในตลาดอย่างมาก โดยเฉพาะการผลิตที่ปรับเปลี่ยนให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า ต้นทุนไม่สูง และมีวัสดุให้เลือกหลากหลาย ซึ่งประเทศไทยถือเป็นที่รู้จักในฐานะผู้ผลิตและจัดจำหน่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่สำคัญทั้งตลาดในและต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังมีฟอรั่ม Wearable Technologies Conference 2023 ASIA เพื่อเสริมความแข็งแกร่งของเครือข่ายการแพทย์และการดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่สวมใส่ในการออกกำลังกายหรือตรวจวิเคราะห์สุขภาพ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญของไลฟ์สไตล์ในยุคปัจจุบัน และเป็นการยกระดับกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ กีฬา และอุตสาหกรรม และสร้างเครือข่ายความร่วมมือในกลุ่มธุรกิจให้เติบโตขึ้น

ทั้งนี้ เมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟ เอเชีย มั่นใจว่างานนี้จะเป็นแรงขับเคลื่อนก้าวใหญ่ในการสนับสนุนวงการการแพทย์และสุขภาพให้เติบโต โดยขณะนี้มีผู้เข้าร่วมจัดแสดงสินค้าเต็มทั้งพื้นที่ ล่วงหน้าก่อนการจัดงานถึง 3 เดือน ผู้เข้าร่วมงานจะได้ทั้งเครือข่ายจากทั่วโลก โอกาสการเติบโตทางธุรกิจ นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อโลกอนาคต โดยเมสเซ่ ดุสเซลดอร์ฟยังคาดการณ์อีกว่าจะมีจำนวนผู้เยี่ยมชมงานมากกว่า 12,000 ราย เพิ่มขึ้นจากครั้งที่ผ่านมาราว 20% แบ่งเป็นผู้ที่ทำธุรกิจในประเทศไทย 60% และนักธุรกิจและนักลงทุนจากต่างชาติ 40% ทั้งจากกิจกรรมจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) การซื้อขายนวัตกรรม อุปกรณ์ โซลูชันทางการแพทย์ อีกทั้งยังช่วยตอกย้ำเป้าหมายของหลายภาคส่วนของประเทศไทยที่ต้องการลดการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และมุ่งสู่การเป็นผู้ผลิตนวัตกรรมที่เกิดการใช้และเป็นที่รู้จักในระดับโลก นายเกอร์นอท กล่าวทิ้งท้าย

สำหรับงานเมดิคอลแฟร์ ไทยแลนด์ 2023 ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) โดยจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-15 กันยายน 2566 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา และระหว่างวันที่ 16-22 กันยายน 2566 ในรูปแบบออนไลน์ เพื่อขยายโอกาสการเข้าถึงงานให้กว้างขึ้น นอกจากในแวดวงการแพทย์และสุขภาพแล้ว จะขยายไปถึงกลุ่มธุรกิจนำเข้า ส่งออก การศึกษาและวิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม และอุตสาหกรรมอีกด้วย ภายในงานมีการจัดแสดงสินค้าอุตสาหกรรมด้านการแพทย์และการดูแลสุขภาพจากหน่วยงานชั้นนำทั่วโลก พร้อมด้วยหัวข้องานประชุมทางการการแพทย์ระดับโลก สามารถติดตามการจัดงานเมดิคอลแฟร์ไทยแลนด์ ครั้งที่ 10 ได้ที่ www.medicalfair-thailand.com

ที่มา: เจซีแอนด์โค คอมมิวนิเคชั่นส์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version