"...ปัจจุบันประเทศไทยตระหนักถึงการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์กับคุณภาพชีวิตและการศึกษาเพิ่มมากขึ้น มีการยกระดับคุณภาพการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์อย่างต่อเนื่อง มีการบริโภคอาหารปลอดภัยเพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยเฉพาะอาหารในกลุ่มเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเกษตรอินทรีย์ได้ถูกกำหนดเป็นวาระแห่งชาติ โดยให้ทุกภาคส่วนร่วมปฏิบัติอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อดำเนินการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตที่พึ่งพาการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมี มาเป็นการพึ่งตนเองในการผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์และสารอินทรีย์ โดยเป็นประโยชน์ในทุกมิติ ทั้งมิติของอาหารปลอดภัย ความปลอดภัยของเกษตรกร การประหยัดค่าใช้จ่าย การฟื้นฟูนิเวศของดิน/ทรัพยากรธรรมชาติ และการสำนึกต่อผู้บริโภคด้านความปลอดภัย ช่วยลดการบริโภคที่มีสารเคมีตกค้าง ลดอัตราการเจ็บป่วยซึ่งเกิดจากการบริโภคอาหารที่มีสารพิษในแต่ละปี โดยเฉพาะโรคมะเร็งที่นับเป็นสาเหตุของการตายในลำดับต้นๆของประเทศไทย อย่างไรก็ตามพบปัญหาหลักคือ กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ต่างๆ ยังไม่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาแปลงเกษตรอย่างทั่วถึง และยังไม่ได้รับการประเมินแปลงเกษตรอย่างเพียงพอตามไปด้วย ส่งผลให้ไม่สามารถต่อยอดไปสู่การได้รับการตรวจประเมินรับรองมาตรฐานทางการเกษตรและเกษตรอินทรีย์ได้..." รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม วว. กล่าวถึงที่มาในการดำเนินโครงการฯ
ทั้งนี้การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง "ผู้ส่งเสริมและพัฒนาแปลงเกษตร รุ่นที่ 2" ถ่ายทอดความรู้นำโดย นางชลธิชา นิวาสประกฤติ นักวิจัยอาวุโส ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ กลุ่มวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ วว. และทีมคณะวิจัย บรรยายเรื่อง มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 9000-2564 ใน 2 หัวข้อหลัก ได้แก่ 1) เกษตรอินทรีย์ ในด้านการผลิต การแปรรูป การแสดงฉลากและการจำหน่าย ผลิตผลและผลิตภัณฑ์อินทรีย์ และ 2) การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร ซึ่งจะก่อให้เกิดการจัดการความรู้ การมีส่วนร่วม และการนำไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ให้มีศักยภาพในการส่งเสริมและพัฒนาแปลงเกษตรของตนเองและชุมชน เป็นการพึ่งพาตนเอง รวมทั้งช่วยสร้างอาชีพและรายได้ ตลอดจนส่งเสริมการยกระดับมาตรฐานทางการเกษตรของประเทศไทยให้ยั่งยืน
ที่มา: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย