หัวเว่ยเตรียมเปิดตัวอุปกรณ์เครือข่าย 5.5G เชิงพาณิชย์ครบชุดในปี 2567

ศุกร์ ๓๐ มิถุนายน ๒๐๒๓ ๑๒:๕๗
หัวเว่ย (Huawei) ประกาศแผนเปิดตัวอุปกรณ์เครือข่าย 5.5G เชิงพาณิชย์ครบชุดในปี 2567 ณ การประชุม 5G แอดวานซ์ ฟอรัม (5G Advanced Forum) ในระหว่างงานโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส (MWC) เซี่ยงไฮ้ ประจำปี 2566 โดยคุณหยาง เฉาบิน (Yang Chaobin) ผู้อำนวยการและประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์และโซลูชันไอซีทีของหัวเว่ยระบุว่า บริษัทฯ ตั้งใจให้การเปิดตัวครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นของยุค 5.5G สำหรับอุตสาหกรรมไอซีที

การใช้งาน 5G ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา และสร้างเม็ดเงินจำนวนมหาศาล  ปัจจุบัน มีเครือข่าย 5G เชิงพาณิชย์ที่ดำเนินการอยู่มากกว่า 260 เครือข่ายทั่วโลก ซึ่งให้บริการฐานผู้ใช้กว่า 1.2 พันล้านราย และมีผู้ใช้งาน F5G ระดับกิกะบิตแล้ว 115 ล้านราย เนื่องด้วยรูปแบบการบริการและคอนเทนต์ที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง เทคโนโลยีที่ล้ำสมัยต่าง ๆ เช่น 3D แบบไม่ต้องสวมแว่นตา กำลังสร้างประสบการณ์สุดดื่มด่ำอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนให้แก่ผู้ใช้ อย่างไรก็ตาม บริการใหม่เหล่านี้ยังคงต้องอาศัยขีดความสามารถของเครือข่าย 5G ที่แข็งแกร่งขึ้น อุตสาหกรรมต่างเห็นพ้องกันว่า 5.5G จะเป็นก้าวสำคัญในวิวัฒนาการ 5G และกำลังใกล้เข้ามาอย่างรวดเร็ว

หัวเว่ยได้นำเสนอแนวคิดของ "ยุค 5.5G" โดยอิงตามโซลูชันแบบองค์รวมที่ผนวกรวมเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างครอบคลุม เช่น 5.5G, F5.5G และเน็ต 5.5G โซลูชันนี้จะปกป้องการลงทุนก่อนหน้านี้ของผู้ให้บริการใน 5G พร้อมกับยกระดับประสิทธิภาพเครือข่ายได้ถึง 10 เท่า ยุค 5.5G ที่ว่านี้จะประกอบด้วยความเร็วดาวน์ลิงก์สูงสุด 10 กิกะบิต และความเร็วอัปลิงก์สูงสุดระดับกิกะบิต เพื่อตอบสนองความต้องการด้านบริการที่หลากหลายมากขึ้น นอกจากนี้ ยังจะปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์ของอุตสาหกรรมด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น IoT แบบพาสซีฟเพื่อปลดล็อกตลาดที่มีการเชื่อมต่อ IoT ราว 1 แสนล้านครั้ง

คุณหยางอธิบายว่า "ยุค 5.5G มีกรอบระยะเวลาการกำหนดมาตรฐานที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน โดยพร้อมแล้วสำหรับการตรวจสอบเชิงพาณิชย์และเชิงเทคโนโลยี ในปี 2567 หัวเว่ยจะเปิดตัวอุปกรณ์เครือข่าย 5.5G เชิงพาณิชย์ครบชุดเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการใช้งาน 5.5G เชิงพาณิชย์ เราตั้งตารอที่จะได้ร่วมงานกับผู้เล่นในอุตสาหกรรมทั้งหมดเพื่อเริ่มต้นการเดินทางครั้งใหม่สู่ยุค 5.5G"

ในฐานะผู้สนับสนุนโซลูชัน 5.5G แบบครบวงจร หัวเว่ยได้ทำงานร่วมกับผู้เล่นมากมายครอบคลุมทั่วอุตสาหกรรมในด้านการวิจัยและพัฒนาและการตรวจสอบเทคโนโลยี 5.5G และมีความคืบหน้าที่สำคัญในกระบวนการตรวจสอบนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับสายอากาศแบบอาร์เรย์ขนาดใหญ่พิเศษ (ELAA) ซึ่งรับรองดาวน์ลิงก์ 10 กิกะบิต ทั้งยังทำให้เข้าถึงสเปกตรัมที่ยืดหยุ่นรองรับการใช้งานอัปลิงก์ระดับกิกะบิต และ IoT แบบพาสซีฟซึ่งทำให้เกิดการเชื่อมต่อมากกว่า 1 แสนล้านครั้ง ส่วน 50G PON เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีหลักที่รองรับความเร็วระดับ 10 กิกะบิตสำหรับเครือข่ายอัลตราบรอดแบนด์ F5.5G และคาดว่าจะใช้งานอย่างกว้างขวางภายในบ้าน แคมปัส และการผลิตในอนาคต หัวเว่ยทำงานร่วมกับผู้ให้บริการกว่า 30 รายทั่วโลกด้านการตรวจสอบเทคโนโลยีและนำร่องการใช้งานสำหรับเทคโนโลยีเหล่านี้

นอกจากการพัฒนาเทคโนโลยีหลักสำหรับเครือข่ายการเข้าถึงแบบไร้สายและออปติก 5.5G แล้ว คุณหยางยังประกาศว่า บริษัทฯ กำลังดำเนินการใช้เทคโนโลยีเอไอแบบเนทีฟกับเครือข่ายหลัก 5.5G เพื่อยกระดับขีดความสามารถและความพร้อมใช้งานของเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยให้สามารถส่งมอบขีดความสามารถของ AI ไปยังส่วนปลายสุดของเครือข่าย เพื่อที่จะได้รองรับอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น ยุคเน็ต 5.5G รับรองการเข้าถึง 10 กิกะบิต การขนส่งอัลตราบรอดแบนด์ และเวลาแฝงระดับไมโครวินาทีผ่านเครือข่าย AI ซึ่งทำให้เป็นรากฐานเครือข่ายแห่งอนาคตสำหรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลเชิงอุตสาหกรรม ด้วยการเข้าถึงเครือข่ายคุณภาพสูง

อุตสาหกรรมนี้ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนาวิสัยทัศน์สำหรับ 6G และเพิ่งเริ่มต้นการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีหลักเท่านั้น นี่จึงเป็นเหตุผลที่หลายคนหันมาใช้ 5.5G สำหรับการพัฒนาในอนาคต การยกระดับความสามารถเครือข่ายได้ถึง 10 เท่าในยุค 5.5G จะทำให้หลายอุตสาหกรรมปลดปล่อยประสิทธิภาพของเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเต็มที่

งานโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส เซี่ยงไฮ้ ประจำปี 2566 จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 28-30 มิถุนายน ณ เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน โดยหัวเว่ยจะร่วมจัดแสดงผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่บูธ E10 และ E50 ณ ฮอลล์ N1 ของศูนย์จัดแสดงสินค้านานาชาติเซี่ยงไฮ้ (SNIEC) หัวเว่ยจะร่วมมือกับผู้ให้บริการระดับโลก ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม และผู้นำทางความคิดในการอภิปรายหัวข้อต่าง ๆ เช่น การเร่งการเติบโตของเทคโนโลยี 5G การก้าวสู่ยุค 5.5G และการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลอัจฉริยะ ทั้งนี้ เทคโนโลยี 5.5G ได้มอบโอกาสในการสร้างมูลค่าทางธุรกิจใหม่ ๆ เช่น การเชื่อมโยงผู้คนเข้าด้วยกัน อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) และยานพาหนะที่สื่อสารกันได้ผ่านอินเทอร์เน็ต (IoV) สนับสนุนอุตสาหกรรมจำนวนมากในขณะที่กำลังก้าวไปสู่โลกอัจฉริยะ เรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: https://carrier.huawei.com/en/events/mwcs2023

รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2144322/Chaobin_Yang_Board_Member_President_ICT_Products___Solutions_Huawei.jpg



ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑ เม.ย. สุขสนุกกับเทศกาลอีสเตอร์ด้วย Boozy Bunnies Brunch ที่ The Standard Grill
๑๑ เม.ย. Mrs. GREEN APPLE วงป็อปร็อกญี่ปุ่นชื่อดัง ส่งเพลงใหม่ KUSUSHIKI ฉลองครบรอบ 10 ปีอย่างยิ่งใหญ่เต็มรูปแบบ
๑๑ เม.ย. แลคตาซอย ส่งมอบนมถั่วเหลืองกว่า 70,000 กล่อง เสริมพลังกาย สร้างกำลังใจให้คนทุ่มเท ในการเดินทางช่วงสงกรานต์ 68
๑๑ เม.ย. สถาปนิก'68 เตรียมเปิดเวที ASA International Forum 2025 เชิญกูรูต่างประเทศร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และสร้างแรงบันดาลใจ
๑๑ เม.ย. มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ทุ่มงบกว่า 1 ล้านบาท ลงพื้นที่ สร้างสุข ใส่ใจ ผู้สูงวัย ในสถานสงเคราะห์ พร้อมแจกจ่าย ชุดของขวัญคลายร้อน
๑๑ เม.ย. คปภ. ทำงานร่วมกับ กทม. ลงพื้นที่ประสานงานกรณีตึกถล่มจากเหตุแผ่นดินไหว เร่งตรวจสอบสิทธิประโยชน์ด้านประกันภัยเพื่อดูแลผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วน
๑๑ เม.ย. โบว์-วิน สาดออร่าคู่! เนรมิตสงกรานต์ไอคอนสยามสุดอลังการ ในลุคนางสงกรานต์-เทพบุตรสุดปัง! พิธีเปิดงาน ICONSIAM THAICONIC SONGKRAN CELEBRATION 2025
๑๑ เม.ย. รายการ หนูทดลอง Little Explorers EP ล่าสุด ชาบูโชว์ฝีมือการเป็นเชฟทำอาหาร และพาไปดูหนังที่โรงภาพยนตร์สำหรับเด็ก
๑๑ เม.ย. ย้อนความเป็นมาวันสงกรานต์ พร้อมมีช่วงเวลาดี ๆ ไปกับวันเดอร์พัฟฟ์
๑๑ เม.ย. มหาสงกรานต์ ไอคอนสยาม เริ่มแล้ว!!! สัมผัสประสบการณ์สาดความสุข สนุกสไตล์ไทย ICONSIAM THAICONIC SONGKRAN CELEBRATION