คุณหลิว คัง กล่าวว่า "ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมนั้น บรรดาผู้ให้บริการจัดว่าเป็นผู้นำและสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลเสมอมา โดยผู้ให้บริการไม่เพียงเพิ่มประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องและสะสมความสามารถด้านนวัตกรรมของตนเองในระหว่างการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลเท่านั้น แต่ยังมีส่วนส่งเสริมการอัปเกรดทางดิจิทัลในอุตสาหกรรมนับพัน ซึ่งมอบศักยภาพด้านนวัตกรรมไว้อย่างมหาศาล"
สร้างพลังขับเคลื่อนนวัตกรรม ดันผู้ให้บริการเดินหน้ายกระดับทางดิจิทัล
ประการแรก สำหรับผู้บริโภคแล้ว ผู้ให้บริการได้เปลี่ยนจากการให้บริการสัญญาณเสียงธรรมดาไปสู่การให้บริการกิกะบิตที่แพร่หลายและเปิดโอกาสให้โต้ตอบได้อัจฉริยะ โดยโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายระดับแนวหน้าเป็นรากฐาน เพื่อคิดค้นบริการธุรกิจดิจิทัลสำหรับผู้บริโภค
ประการที่สอง สำหรับภาคอุตสาหกรรมแล้ว องค์กรต่าง ๆ กำลังก้าวไปสู่การผลิตแบบดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นการปรับสำนักงานให้เป็นดิจิทัล ไปจนถึงการตลาดและการบริการลูกค้า ตัวอย่างเช่น การควบคุมระยะไกล AGV และ PLC ซึ่งล้วนได้รับการกระตุ้นอย่างเต็มที่ และช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตขององค์กรต่าง ๆ ได้อย่างมาก
คุณหลิว คัง เปิดเผยว่า ความสำเร็จเหล่านี้เป็นผลจากความสามารถอันล้นเหลือ ที่เหล่าผู้ให้บริการได้สั่งสมมาตลอดเส้นทางการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล
คลื่นลูกใหม่ของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล เปลี่ยนพลังสร้างสรรค์นวัตกรรมไปสู่การเติบโต
หัวเว่ยเชื่อว่า การรับมือกับเทคโนโลยีดิจิทัลระลอกใหม่ จำเป็นต้องอาศัยการทำงานร่วมกับผู้ให้บริการเครือข่าย เพื่อสร้างความสามารถใหม่ 3 ประการ ในการส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล
อย่างแรกคือเลเยอร์โครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเปลี่ยนการทำงานร่วมกันด้านไอซีทีให้เป็นความสามารถในการบูรณาการทรัพยากรเชิงกลยุทธ์ที่ยืดหยุ่น โดยคุณหลิว คัง กล่าวว่า "สิ่งที่เห็นได้ชัดที่สุดอย่างหนึ่งคือ การเชื่อมต่อต่าง ๆ จะเปลี่ยนจากอัปลิงก์ 100 Mbit/s, ดาวน์ลิงก์ Gbit/s และความสามารถแบบคลาวด์เนทีฟ ไปเป็นการเชื่อมต่อใหม่ ๆ ที่มีคุณสมบัติอย่างอัปลิงก์ Gbit/s, ดาวน์ลิงก์ 10 Gbit/s และความชาญฉลาดจากภายใน ซึ่งการรวมกันของเครือข่าย + การประมวลผล ข้อกำหนดในการทำงานร่วมกันของเครือข่ายและคลาวด์ การทำงานร่วมกันบนคลาวด์และเอดจ์ และการทำงานร่วมกันของอุปกรณ์และคลาวด์ กำลังเกิดขึ้น"
ประการที่สองคือเลเยอร์การดำเนินการ ซึ่งจะแปลงข้อมูลจำนวนมหาศาลให้เป็นความสามารถในการรับมือกับสถานการณ์ที่ซับซ้อนอย่างคล่องตัว ตั้งแต่การรวมข้อมูล ไปจนถึงการรวมข้อมูล + การสนับสนุนที่ชาญฉลาด เพื่อช่วยเร่งการถ่ายโอนข้อมูลในกิจกรรมการผลิตและกิจกรรมในชีวิตของผู้คน ช่วยให้ดำเนินการได้อย่างชาญฉลาดตลอดทั้งกระบวนการและธุรกิจทั้งหมด และเพิ่มประสบการณ์และประสิทธิภาพโดยตรงเป็นเท่าตัว พร้อมสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง
ประการที่สามคือเลเยอร์บริการดิจิทัล ซึ่งเปลี่ยนบริการที่ได้เปรียบให้เป็นความสามารถในการเร่งคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ โดยการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลช่วยให้ผู้ประกอบการใช้ประโยชน์จากข้อได้เปรียบของ SIM ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นตามธรรมชาติได้อย่างเต็มที่ และให้บริการดิจิทัลที่ล้ำหน้ามากขึ้น
คุณหลิว คัง ให้ความเห็นเกี่ยวกับอนาคตข้างหน้าว่า "ยุคดิจิทัลอัจฉริยะระลอกใหม่กำลังมา โดยหัวเว่ยจะยังคงทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรม เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง และเร่งพลิกศักยภาพของนวัตกรรม ให้เป็นแรงผลักดันในการพัฒนาอุตสาหกรรม"
งานโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส เซี่ยงไฮ้ ประจำปี 2566 จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 28-30 มิถุนายน ณ เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน โดยหัวเว่ยจะร่วมจัดแสดงผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่บูธ E10 และ E50 ณ ฮอลล์ N1 ของศูนย์จัดแสดงสินค้านานาชาติเซี่ยงไฮ้ (SNIEC) หัวเว่ยจะร่วมมือกับผู้ให้บริการระดับโลก ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม และผู้นำทางความคิดในการอภิปรายหัวข้อต่าง ๆ เช่น การเร่งการเติบโตของเทคโนโลยี 5G การก้าวสู่ยุค 5.5G และการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลอัจฉริยะ ทั้งนี้ เทคโนโลยี 5.5G ได้มอบโอกาสในการสร้างมูลค่าทางธุรกิจใหม่ ๆ เช่น การเชื่อมโยงผู้คนเข้าด้วยกัน อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) และยานพาหนะที่สื่อสารกันได้ผ่านอินเทอร์เน็ต (IoV) สนับสนุนอุตสาหกรรมจำนวนมากในขณะที่กำลังก้าวไปสู่โลกอัจฉริยะ เรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: https://carrier.huawei.com/en/events/mwcs2023
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2144398/Liu_Kang_Global_Carrier_Marketing___Solution_Sales_Dept_Huawei.jpg