ในอดีตบ้านทุ่งบ่อ พื้นดินเป็นดินขุดมาจากก้นบ่อ มีสภาพเป็นดินเค็มหรือดินดาน ระบายน้ำไม่ดี แห้งแล้ง โครงการพลังชุมชนและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) สมาคมพัฒนาศักยภาพและอัจฉริยภาพ (สพศอ.) และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) จึงได้พัฒนาขุดบ่อ สร้างถังเก็บน้ำ แก้ไขดินจนเป็นรูปธรรม ปลูกต้นไม้ที่ทนแล้ง พัฒนาจนเป็นป่าชุมชน เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจากความประสงค์ของชุมชนที่ต้องการจะพัฒนาพื้นที่รอบหนองขุมดิน ที่เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 120 ไร่ ให้เป็นพื้นที่สาธารณประโยชน์ พื้นที่สีเขียว สร้างแหล่งอาหาร และแหล่งนันทนาการ หรือเป็นลานวัฒนธรรม เพื่อให้คนในชุมชนได้ใช้ประโยชน์
ในอดีตบ้านทุ่งบ่อ พื้นดินเป็นดินขุดมาจากก้นบ่อ มีสภาพเป็นดินเค็มหรือดินดาน ระบายน้ำไม่ดี แห้งแล้ง โครงการพลังชุมชนและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) สมาคมพัฒนาศักยภาพและอัจฉริยภาพ (สพศอ.) และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) จึงได้พัฒนาขุดบ่อ สร้างถังเก็บน้ำ แก้ไขดินจนเป็นรูปธรรม ปลูกต้นไม้ที่ทนแล้ง พัฒนาจนเป็นป่าชุมชน เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจากความประสงค์ของชุมชนที่ต้องการจะพัฒนาพื้นที่รอบหนองขุมดิน ที่เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 120 ไร่ ให้เป็นพื้นที่สาธารณประโยชน์ พื้นที่สีเขียว สร้างแหล่งอาหาร และแหล่งนันทนาการ หรือเป็นลานวัฒนธรรม เพื่อให้คนในชุมชนได้ใช้ประโยชน์
ดังนั้นการ "ผูกเสี่ยวป่า" จึงเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสร้างความรักความผูกพันของคนในชุมชนให้มีส่วนร่วมดูแลรักษาป่า ร่วมกันพัฒนาพื้นที่ป่าชุมชนให้สามารถใช้ประโยชน์ที่หลากหลาย กลายเป็นพื้นที่สีเขียว เป็นแหล่งอาหาร และเป็นแหล่งนันทนาการของชุมชน ตามแนวทางการปลูก "ป่า 3 อย่าง เพื่อประโยชน์หลายอย่าง" ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของโครงการพลังชุมชนฯ ที่ส่งเสริมให้ชุมชนเป้าหมายที่ขับเคลื่อนงานป่าชุมชนทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ ป่าชุมชนบ้านโคกศรี จังหวัดอุดรธานี ป่าชุมชนบ้านนางิ้วนาโพธิ์ จังหวัดขอนแก่น และป่าชุมชนบ้านทุ่งบ่อ จังหวัดขอนแก่น ได้มองเห็นความสำคัญนอกเหนือจากการปลูกหรือสร้างป่า เพื่อฟื้นฟู อนุรักษ์ และเพิ่มพื้นที่สีเขียวแล้ว หัวใจสำคัญ คือ การดูแลป่า ให้ยั่งยืน สามารถสร้างประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ส่งต่อไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน และเกิดประโยชน์แก่สังคมโลกได้ในระยะยาว
โครงการพลังชุมชนและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน หรือ CEIS ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สถาบันพัฒนา วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) สมาคมพัฒนาศักยภาพและอัจฉริยภาพมนุษย์ (สพศอ.) และ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ให้ความสำคัญในการสร้าง และส่งเสริมให้ชุมชนภายใต้โครงการฯ เกิดความยั่งยืน โดยใช้พลังชุมชนและนวัตกรรม รวมถึงการหนุนเสริมจากภาคีต่าง ๆ เท่าที่จำเป็น มาบูรณาการ โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการวิจัยและพัฒนา และนำมาปรับใช้กับภูมิปัญญาดั้งเดิม ให้เหมาะสมในในแต่ละพื้นที่ เพื่อสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนแก่ชุมชนต่อไป.
ติดตามข้อมูลข่าวสาร D community ได้ที่
Facebook : https://www.facebook.com/GoodforCommunityYou tube : https://www.youtube.com/@dcommunity2023
ที่มา: โครงการพลังชุมชนและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน