เจาะประเด็น The Next Big Things ของวงการ FinTech จากเวที CTC2023 Festival

ศุกร์ ๐๗ กรกฎาคม ๒๐๒๓ ๐๙:๔๕
ไฮไลท์สำคัญในงาน Creative Talk Conference 2023 ในธีม Festival มีเซสชันหนึ่งที่น่าสนใจคือ "The Next Big Thing" ของแวดวง FinTech ไทย ซึ่งในเซสชันดังกล่าวมี CEO คนเก่ง คุณอัศวิน พละพงศ์พานิช ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร DeeMoney ร่วมพูดคุยและเสวนาบนเวทีถึงทิศทางและอนาคตของแวดวงฟินเทคไทยในฐานะผู้ให้บริการการโอนเงินระหว่างประเทศที่ถือเป็นภาคเอกชนที่ได้รับสิทธิ์ครั้งนี้ 

คุณอัศวิน พละพงศ์พานิช ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร DeeMoney เผยว่า "ตอนนี้ DeeMoney ถือเป็นผู้นำอันดับ 1 ของประเทศไทยในแง่ของ Cross-Border Payments ถ้าเทียบกับตลาด Non-Bank ที่ให้บริการโอนเงินระหว่างประเทศ เราให้บริการโอนเงินเข้ามาที่ประเทศไทยได้มากกว่า 100 ประเทศ และสามารถโอนเงินออกไปยังต่างประเทศได้มากกว่า 40 ประเทศทั่วโลก"

"ผมว่าตลาดฟินเทคมีความน่าสนใจและน่าตื่นเต้นมาก พอๆกับตลาดคริปโตเมื่อช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ด้วยที่ฟินเทคถือเป็นอุตสาหกรรมที่ผลักดันเศรษฐกิจอันดับต้นๆ ของโลก ไม่ใช่แค่ในประเทศไทย แต่ต่างประเทศก็เช่นกัน ประกอบกับเกิดภาวะโรคระบาด COVID-19 ในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ฟินเทคเติบโตมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลจากศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ที่ประเมินธุรกิจบริการดิจิทัลในปี 2566 มีมูลค่าสูงถึง 5.6 แสนล้านบาทและมีอัตราเติบโตกว่า 20%"

"ด้านการลงทุนในฟินเทคปี 66 ถึงแม้จะลดลงทั่วโลก แต่ยังมีความคาดหวังการเติบโตจากฝั่งเอเชีย เนื่องด้วยการเปิดรับของผู้ให้บริการที่อยู่บนโลกธุรกิจบริการดิจิทัล ที่ร่วมมือกันผ่านการให้บริการทางการเงินแบบฝังตัว (Embedded finance) การนำเสนอบริการทางการเงินต่างๆ เช่น การชำระเงิน ประกัน เงินฝาก การลงทุน ของผู้ให้บริการรายอื่นบน ecosystem ของตัวเอง (Financial-services as-a-platform ) เทคโนโลยีบล็อกเชน และการเกิดขึ้นของ Virtual banking หรือธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา ซึ่งประเทศไทยเตรียมประกาศใบอนุญาตใหม่เพื่อสนับสนุนการขยายตลาดในกลุ่มลูกค้าที่ยังไม่เคยเข้าถึงบริการธนาคาร (Unbanked) หรืออาจจะเข้าถึงบริการของธนาคารแล้วแต่ยังไม่เต็มประสิทธิภาพ (Underbanked)"

"โดยหากสตาร์ตอัปจะรอด สิ่งสำคัญไม่ใช่แค่เรื่องมูลค่าและยอดขาย แต่เป็นการบริหารจัดการทุกส่วนให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ส่วนหลักได้แก่ 1) กลยุทธ์ด้านการเงิน (Financial strategy) การดูแล บริหารจัดการเงินลงทุนให้เหมาะสมกับสอดคล้องกับรายได้ และการเจริญเติบโตของธุรกิจ เพื่อให้เห็นชัดว่า Business model ที่ทำอยู่เป็นไปได้จริง 2) Sustainable การนำธุรกิจไปสู่ผลประกอบการที่มีการรับรู้กำไร (Profitability) อย่างต่อเนื่อง ในที่นี้ไม่ได้หมายความถึง การสร้างกำไรอย่างรวดเร็วเท่านั้น แต่กำไรที่ได้ต้องมีความยั่งยืน อยู่ได้ในระยะยาว 3) Social impact ถามว่าหากบริษัทจะมีกำไรที่ดีอย่างเดียวเพียงพอหรือไม่ ในยุคนี้คงไม่ได้ เพราะเมื่อบริษัทเติบโต ก็ย่อมมีผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder) เช่นลูกค้า คู่ค้า และพนักงาน ในฐานะผู้ให้บริการเราจะต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อส่วนรวม เราต้องสร้างคอมมิวนิตี และสร้างระบบนิเวศน์ที่ดีให้เกิดขึ้น โดย สูตรสำเร็จของธุรกิจไม่ใช่คำนึงถึงแต่ผลกำไร แต่จะต้องส่งเสริมสังคมไปด้วยพร้อมกัน"

ในระหว่างเซสชันมีการพูดถึงประเด็นการทำธุรกิจในไทยและต่างประเทศ ว่ามีเทคโนโลยีหรือพฤติกรรมอะไรที่เป็นเทรนด์ที่น่าสนใจบ้าง? "สิ่งที่น่าจับตามองในตอนนี้คือ AI และการทำ Automation เพราะสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตและการบริหารจัดการได้อย่างมี ประสิทธิภาพ โดยเชื่อว่าคนทั้งโลกจะหันมาให้ความสนใจในเรื่องนี้ รวมทั้งมีคำศัพท์ใหม่ที่เกิดขึ้นและคนจะหันมาโฟกัสเพิ่มคือ เทคโนโลยี IoT (Internet of Things) ' ที่อุปกรณ์อัจฉริยะ (Smart devices) ต่าง เชื่อมต่อ สามารถส่งผ่านข้อมูลระหว่างกันผ่านอินเตอร์เน็ต และอีกหัวข้อหนึ่งที่น่าสำคัญคือ 'Open banking' ที่ผู้บริโภคสามารถขอใช้บริการกับผู้ให้บริการทางการเงินรายใหม่ โดยส่งข้อมูลของตนเองจากผู้ให้บริการปัจจุบัน เพื่อประกอบการพิจารณาในการขอใช้บริการ ภาพทั้งหมดนี้อาจจะยังไม่ชัดเจนมากนัก แต่สิ่งที่พิสูจน์ให้เห็นคือ Mobile device และ Application จะมีความเข้าใจพฤติกรรมการใช้งานของกลุ่มเป้าหมายมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะแอปพลิเคชันเดียวจะไม่สามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้าได้ เนื่องจากพฤติกรรมของลูกค้าจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตามฟังก์ชันของการพัฒนาโปรดักส์"

นอกจากนี้ยังมีคำถามที่คุณอัศวิน พละพงศ์พานิช ตอบไว้ในมุมมองที่น่าสนใจ คือ 'อนาคตของโลกการเงินจะเป็นอย่างไรและเราควรเตรียมพร้อมแค่ไหนเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลง?' "ในแง่ของฟินเทค เราในฐานะผู้บริโภคจะมีโปรดักส์มาให้เลือกและมีความหลากหลายมากขึ้น เช่นในสมัยก่อนเราพึ่งพิงแค่ธนาคาร แต่ทุกวันนี้ไม่ได้เป็นอย่างนั้นแล้ว ในแง่ของผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจผมว่าการเข้ามาของอินเทอร์เน็ตในยุค IoTs ที่ความเร็วจะสปีดไวขึ้นในทุกปี ทำให้มี AI ที่จะเข้ามาทดแทนธุรกิจที่ทำอยู่ได้ไวมาก ฉะนั้นผู้ประกอบการ จำเป็นต้องคิดล่วงหน้ากับผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ เพราะบริบทของสินค้าและบริการก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปไวด้วยเช่นกัน"

"สำหรับผมแล้ว ในช่วงที่ผ่านมาเจอผลกระทบของเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้ง สิ่งที่ทำให้ผมผ่านมาได้ในการทำธุรกิจคือ Innovation หรือ นวัตกรรม ที่ต้องสร้างสินค้าและบริการขึ้นมาใหม่ ต้องเปลี่ยนตลาด ต้องคิดในมุมผู้บริโภคก่อนว่าตอนนี้สถานการณ์เป็นแบบไหน ต้องปรับวิธีการอย่างไร ถ้าเราไม่ปรับ ไม่มองภาพให้เห็นชัดเจนว่าอะไรกำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต เราก็จะไปไม่รอดและปรับตัวไม่ทัน" คุณอัศวิน พละพงศ์พานิช ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร DeeMoney ปิดท้าย

ที่มา: แบรนด์ คอมมิวนิเคชัน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐:๔๖ นักศึกษา มจพ.คว้า 2 เหรียญทอง หมากรุกไทยและหมากรุกอาเซียน กีฬาแห่งชาติ จันท์เกมส์ ครั้งที่ 49 ณ จังหวัดจันทบุรี
๑๗:๒๗ JAS Group จัดกิจกรรม JAS Virtual Run ก้าวสู่ปีที่ 42 อย่างยั่งยืน
๑๗:๔๓ เจียไต๋เดินหน้าจัด เจียไต๋ โซเชียล เดย์ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 รวมพลังเจียไต๋อาสาทั่วประเทศปลูกความยั่งยืนให้ชุมชน
๑๗:๒๖ กิฟฟารีน แนะนำไอเท็มเด็ด กิฟฟารีน อัลตร้า นอริชชิ่ง ลิป แอมพูล มาสก์ เติมความชุ่มชื้นให้ปากฉ่ำในช่วงฤดูหนาวนี้
๑๗:๔๑ 3 ร้านอาหารเครืออิมแพ็ค แนะนำเมนู Festive เชิญร่วมฉลองส่งท้ายปีกับเมนูแสนอร่อย ตั้งแต่ วันนี้ - 31 ธันวาคม
๑๗:๒๔ กิฟฟารีน แนะนำไอเท็มเด็ด กิฟฟารีน กิฟฟี่ ฟาร์ม คิดส์ เจล ทูธเพสท์ สำหรับเด็กๆ
๑๗:๑๑ โคคา-โคล่า ไทยน้ำทิพย์ นำโรงงานรังสิตคว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่นประเภทการจัดการพลังงาน ชูนวัตกรรมด้านความยั่งยืนในฐานะผู้นำอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม
๑๗:๔๕ สมาคมสถาปนิกสยามฯ ร่วมกับพันธมิตร เตรียมจัดงาน WOW 2025: Wonder Of Well-Living City เมืองดี คนมีพลัง ยกระดับคุณภาพชีวิตสู่ความยั่งยืน
๑๗:๔๓ กทม. เร่งแก้ปัญหาน้ำเน่าเสียในคลองสอง ขอความร่วมมือชุมชนไม่ทิ้งขยะ-เศษอาหารลงคลอง
๑๗:๐๖ ดั๊บเบิ้ล เอ รับรางวัล CSR-DIW Continuous Award 2024 ต่อเนื่อง