นักวิทยาศาสตร์ชี้ว่า มหาวิทยาลัยควรเปลี่ยนไปเสิร์ฟอาหารแพลนต์เบส เพื่อบรรเทาวิกฤตโลกร้อน

ศุกร์ ๐๗ กรกฎาคม ๒๐๒๓ ๑๐:๕๗
องค์กรพิทักษ์สัตว์ซิเนอร์เจีย แอนิมอล เชิญชวนให้มหาวิทยาลัยชั้นนำในไทยพิจารณาเข้าร่วมโครงการมื้อนี้เพื่ออนาคต เริ่มเสิร์ฟอาหารแพลนต์เบสสัปดาห์ละมื้อ

ข้อคิดเห็นโดยนักวิทยาศาสตร์ 23 คน จาก 10 ประเทศ แนะนำว่ามหาวิทยาลัยทั่วโลกควรให้ความสำคัญกับอาหารแพลนต์เบส และพยายามลดปริมาณผลิตภัณฑ์อาหารที่มาจากสัตว์ เช่น เนื้อสัตว์ อาหารทะเล นม และไข่  ข้อคิดเห็นฉบับดังกล่าวตีพิมพ์ในวารสาร The Lancet Planetary Health วารสารวิชาการที่มีชื่อเสียงในวงการวิทยาศาสตร์

ข้อคิดเห็นฉบับนี้ชี้ว่า มหาวิทยาลัยหลายแห่งยังไม่ใส่ใจผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่มาจากอุตสาหกรรมปศุสัตว์มากเท่าที่ควร รายงานหลายฉบับโดยคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภายใต้การทำงานขององค์การสหประชาชาติ (UN's Intergovernmental Panel on Climate Change- IPCC) และ EAT-Lancet ซึ่งเป็นคณะนักวิทยาศาสตร์ผู้ทรงคุณวุฒิ 37 คน จากทั่วโลกได้หารือเกี่ยวกับระบบอาหารและความยั่งยืน ระบุว่าการเปลี่ยนสู่อาหาแพลนต์เบสถือเป็นพื้นฐานของการบรรลุเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศ และคงผลกระทบจากการผลิตอาหารให้อยู่ภายใต้ขีดจำกัดความปลอดภัยของโลก (planetary limits)

"สถาบันการศึกษา ต้องตระหนักถึงบทบาทของตนในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบอาหารที่ยั่งยืนกว่าเดิม" คือคำกล่าวจากวิชญะภัทร์ ภิรมย์ศานต์ ผู้อำนวยการจัดการประจำประเทศไทย จากองค์กรซิเนอร์เจีย แอนิมอล ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำงานเพื่อส่งเสริมการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและยั่งยืนมากกว่าเดิมในกลุ่มประเทศโลกใต้ (Global South) รวมถึงประเทศไทย

ซิเนอร์เจีย แอนิมอลขอให้มหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศไทยเป็นผู้นำเทรนด์อาหารแพลนต์เบส

โครงการมื้อนี้เพื่ออนาคต เป็นโครงการภายใต้องค์กรซิเนอร์เจีย แอนิมอล ดำเนินงานในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ อีกสามประเทศ ช่วยเหลือและจัดอบรมแก่สถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนที่สนใจจะจัดให้มีอาหารแพลนต์เบสในโรงอาหารอย่างน้อยหนึ่งครั้งต่อสัปดาห์ นอกจากนี้ยังบริการให้คำแนะนำจากนักโภชนาการและเชฟมืออาชีพ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ซึ่งอาจช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านอาหารของสถาบันได้อีกด้วย

"เราอยากเชิญชวนมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศไทย เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างการปศุสัตว์ และวิกฤตสภาพภูมิอากาศ และพิจารณาเข้าร่วมโครงการมื้อนี้เพื่ออนาคต นิสิต นักศึกษาเป็นคนรุ่นใหม่ที่จะต้องรับภาระจากวิกฤตนี้โดยตรง มหาวิทยาลัยและโรงเรียนจึงเป็นส่วนสำคัญในการช่วยปลูกฝังพฤติกรรมที่ดี เพราะคนรุ่นใหม่มักเปิดรับการเปลี่ยนแปลงเพื่อสิ่งที่ดีกว่า" วิชญะภัทร์กล่าวเสริม

"นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยควรจะแสดงให้สังคมเห็นว่าให้ความสำคัญและติดตามความคืบหน้าด้านวิทยาศาสตร์อยู่เสมอ งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์หลังๆ มานี้ต่างลงความเห็นตรงกันว่าผลิตภัณฑ์จากสัตว์ส่งผลเสียอย่างใหญ่หลวงต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ" วิชญะภัทร์กล่าวปิดท้าย

มหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาที่สนใจจะเข้าร่วม หรือเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการมื้อนี้เพื่ออนาคต สามารถเข้าชมเว็บไซต์ที่  https://www.nourishingtomorrowthai.org/ 

เกี่ยวกับซิเนอร์เจีย แอนิมอล

ซิเนอร์เจีย แอนิมอล เป็นองค์กรพิทักษ์สัตว์ระดับสากล ปฏิบัติงานในกลุ่มประเทศ Global South เพื่อบรรเทาความเจ็บปวดของสัตว์ในอุตสาหกรรมผลิตอาหารและส่งเสริมทางเลือกอาหารที่แสดงถึงความเห็นอกเห็นใจต่อสัตว์  เราได้รับการจัดอันดับโดย Animal Charity Evaluators (ACE) ให้เป็นหนึ่งในองค์กรพิทักษ์สัตว์ที่ทำงานได้มีประสิทธิภาพที่สุดในโลก

ที่มา: อินวิส

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๔๗ เอ. เจ. พลาสท์ คว้า 2 รางวัลใหญ่ จาก SET Awards 2024 และได้รับการประเมิน CGR ดีเลิศ ระดับ 5 ดาว
๑๖:๑๓ เปิดมาตรการ พักหนี้ ลดดอกเบี้ย ช่วยเหลือ SMEs ถูกน้ำท่วมในงาน มันนี่ เอ็กซ์โป 2024 เชียงใหม่
๑๖:๓๙ หน้าหนาวมาเยือน! กรมอนามัยเตือนดูแลสุขภาพให้พร้อม เด็กเล็ก-ผู้สูงอายุเสี่ยงเจ็บป่วยง่าย
๑๖:๕๗ เปิดรันเวย์อวดผลงานไอเดียสร้างสรรค์ของ 5 ผู้ชนะรางวัลทุนการศึกษา จากโครงการ Jaspal Group Scholarship Program
๑๖:๐๘ กิฟฟารีน แนะนำไอเทมเด็ด กิฟฟารีน เอช เอ็ม บี พลัส วิตามินดี 3 สำหรับช่วยดูแลมวลกล้ามเนื้อให้แข็งแรง
๑๕:๐๑ ไขข้อสงสัย สินเชื่อรถแลกเงินคืออะไร
๑๕:๓๘ ซื้อมอเตอร์ไซค์ ออกรถใหม่ มีขั้นตอนอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง
๑๕:๐๕ ยางขอบ 17 ยี่ห้อไหนดีที่ขับขี่สนุก และยังคงนุ่มสบาย
๑๔:๕๖ heygoody คว้าแชมป์จากเวที Thailand Influencer Awards 2024 ตอกย้ำความเข้าใจลูกค้า Introvert
๑๔:๐๓ เมืองไทยประกันชีวิต คว้า 4 รางวัลใหญ่ระดับสากล ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล และเป็นองค์กรสถานประกอบการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการ