อัตราว่างงาน 'กลุ่มเยาวชนอายุระหว่าง 15-24 ปี' ไม่เรียน ไม่ทำงาน และไม่ฝึกอบรม
ผลงานวิจัย "งานวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับเยาวชนที่ไม่ได้อยู่ในการทำงาน การศึกษา หรือการฝึกอบรมในประเทศไทย" ซึ่งจัดทำโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสนับสนุนโดยองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย และกระทรวงแรงงาน พบกับข้อกังวลใหม่ เกี่ยวกับการใช้ชีวิตของเยาวชน อายุ 15-24 ปี ที่ไม่เรียน ไม่ทำงาน และไม่ฝึกอบรม หรือ เยาวชนกลุ่ม NEET (Youth Not in Employment, Education, or Training) ส่วนใหญ่ใช้ชีวิตตามอัตภาพ และพึ่งพาอาศัยครอบครัว โดยข้อมูลล่าสุดขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ หรือ ILO แสดงให้เห็นว่า มีเยาวชนกลุ่ม NEET ในไทย ถึง 1,400,000 คน ขณะที่จำนวนเยาวชนในตลาดแรงงานลดลงจากปี 2554 ที่มี 4,800,000 คน คงเหลือที่ 3,700,000 คน ในปี 2564 และอัตราการว่างงานของเด็กจบใหม่ก็เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยข้อมูลปี 2564 มีผู้เรียนจบปริญญาตรีว่างงานสูงถึง 290,000 คน
สำหรับสาเหตุที่ทำให้เยาวชนอายุระหว่าง 15-24 ไม่เรียน ไม่ทำงาน และไม่ฝึกอบรม มีหลายปัจจัยทับซ้อนกันอยู่ ทั้งระบบการศึกษาที่ยังทำให้เด็กมองไม่เห็นอนาคต จนเกิดความท้อ บางคนจึงเลิกเรียนกลางคัน ขณะที่ความยากจน ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เด็กหลุดจากระบบการศึกษา ขณะเดียวกัน เยาวชนที่มีโอกาสได้เรียนจนจบปริญญาตรีหลายคน ก็เข้ามาอยู่ในกลุ่ม NEET เนื่องจากทักษะที่เรียนจบมา ไม่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน หรือ บางคนเบื่อหน่ายกับระบบการทำงาน จึงเลือกที่จะไม่ทำงานและไม่ศึกษาต่อ อีกกลุ่มหนึ่ง คือ กลุ่มคนพิการ และกลุ่มไร้สัญชาติ ที่ถูกด้อยค่าจากสังคม ทำให้ไม่มีโอกาสที่จะเรียนและเข้าทำงาน
(ที่มา : www.thaipbs.or.th/news/content/326042 )
"4 Skills" หลักสำคัญที่มูลนิธิฯ มุ่งสร้างทักษะให้เยาวชนต้องมี
- Upskill - Reskill อัปสกิล คือ การเพิ่มทักษะ หรือองค์ความรู้ที่จะส่งผลให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รีสกิล คือ การสร้างทักษะขึ้นมาใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงาน
- Data Skill ข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญ นอกเหนือจากการนำมาวิเคราะห์ ยังมีเรื่องการเข้าถึงข้อมูล และการเลือกข้อมูลมาใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะในยุคที่แค่กดเสิร์ชข้อมูลก็หลั่งไหลเข้ามา
- Digital Skill ปัจจุบันเราใช้เทคโนโลยีในการทำงานในหลายระดับ ต้องใช้งานอุปกรณ์เครื่องมือดิจิทัล หากมีความเข้าใจจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้
- Soft Skill - Hard Skill ซอฟท์สกิล คือ การเน้นพัฒนาคุณสมบัติภายใน ความเห็นอกเห็นใจ ความช่วยเหลือ การทำงานร่วมกันเป็นทีม และฮาร์ดสกิล คือ ทักษะหรือความสามารถที่ใช้ในการทำงานในแต่ละสายอาชีพ
ทั้งนี้ มูลนิธิเด็กโสสะฯ ตระหนักเสมอเรื่องการพัฒนาส่งเสริมศักยภาพเยาวชน คือ ต้องพัฒนาทักษะที่สอดคล้องตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานและสถานการณ์โลก และจัดฝึกอบรมเพิ่มทักษะให้เยาวชนมีความพร้อมในการก้าวสู่การประกอบอาชีพกลับสู่สังคมสังคมอย่างแข็งแรง เพราะนี่อาจเป็นอีกทางออกในการลดจำนวนการขาดแคลนแรงงานลงได้บ้าง ที่สำคัญการพัฒนาส่งเสริมศักยภาพเยาวชนคือโอกาสที่น้อง ๆ ครอบครัวโสสะจะได้รับความรู้ มีทักษะ จนนำไปประกอบหน้าที่การงาน มีอาชีพที่มั่นคงสามารถพึ่งพาตนเองได้ เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพและคุณธรรมของสังคมไทยต่อไป มูลนิธิเด็กโสสะฯ ขอขอบพระคุณบริษัท DHL Thailand (DHL Express, DHL Global Forwarding, DHL Supply Chain และ DHL eCommerce Solutions) ในการส่งเสริมเพิ่มทักษะให้กับเยาวชนเป็นอย่างดี
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือเด็กในครอบครัวโสสะ ได้ที่ https://www.sosthailand.org/donate-now
และรับชมคลิป #เติมรักที่ขาดด้วยครอบครัวทดแทน ได้ที่ https://bit.ly/3T3c5D5
ที่มา: มูลนิธิเด็กโสสะแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์