นายศุภวิทย์ ภาษิตนิรันดร์ ผู้อำนวยการฝ่ายการเรียนรู้ Chief Learning Officer (CLO) บริษัท บียอนด์ เทรนนิ่ง จำกัด (Beyond Training) ผู้นำด้านการฝึกอบรมพัฒนาคนในองค์กรชั้นนำของไทย เปิดเผยว่า "ปัจจุบันการแข่งขันโรงงานอุตสาหกรรม ทวีความรุนแรงเพิ่มสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านๆมา เพราะ FTA หรือเขตการค้าเสรีสำหรับบางประเทศเช่นจีน ทำการแข่งขันในไทยไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะภายในประเทศอย่างเดียว แต่ต้องสู้กับประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ ที่มีกำลังผลิตใหญ่มากกว่า ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยถูกกว่า ต้นทุนการขนส่ง และกำแพงภาษีที่หายไป นับเป็นปัญหาและอุปสรรคการทำงานของโรงงานอุตสาหกรรม เป็นความท้าทายของการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1. การบริหารจัดการระบบผลิต (Production system) และการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร (Human resource development) 2. ความท้าทายของการบริหารจัดการระบบผลิต (Production system) เกี่ยวกับการวางแผนการผลิตที่ไม่สม่ำเสมอ ทำให้เกิด Stock เกินความจำเป็น ซึ่งนำไปสู่ต้นทุนแฝงในการจัดเก็บ, ต้นทุนการขนส่ง เป็นต้น"
การบริหารการจัดการในงานอุตสาหกรรมทำให้เกิดประสิทธิผลหรือประสบความสำเร็จนั่น ต้องยึดหลัก Process Improvement ที่เน้นกระบวนการทำงานที่ดี พร้อมกลยุทธ์และแนวทางสู่ความสำเร็จ คือ 1.) จัดลำดับความสำคัญตามความจำเป็น บางองค์กรมีกลยุทธ์ที่หลากหลายแต่ไม่รู้ว่าจะทำอะไรก่อนหลัง สาเหตุหลักไม่ได้จัดลำดับความสำคัญ จำเป็นต้องนำกลยุทธ์มาลำดับความสำคัญ อาทิ Urgency , Impact , Expansion เป็นต้น 2. ) ทำตามแผนแล้วแต่หัวหน้าบอกว่าผลลัพธ์ไม่เหมือนที่คิดไว้ สาเหตุไม่ได้ clarify target ที่ชัดเจนให้ทุกคนเห็นภาพเดียวกัน ทั้งเชิงผลลัพธ์ และ กระบวนการ 3.) ทำตามแผนไม่ได้ เจอปัญหาระหว่างทางจนทำไม่สำเร็จ สาเหตุมาจากไม่ได้ประเมินความเสี่ยงและหาวิธีปิดความเสี่ยงล่วงหน้าทำให้แก้ปัญหาระหว่างทางยากจนโปรเจคล้มได้
นอกจากนี้ ความท้าทายของศักยภาพของบุคลากร (Human resource development) เป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม คือ หลายบริษัทไม่มีทีม HRD ของตัวเอง ทำให้ขาดการวางระบบการสร้าง Career development และ Skill development ที่เหมาะสมกับบุคลากรในแต่ละตำแหน่ง ซึ่งหลักการบริหาร "คน"ในแบบญี่ปุ่นเป็นหลักการที่ดีซึ่งใช้หลักการ " Before build CAR , we build PEOPLE" ฉะนั้นเราต้องพัฒนาคนของเราให้มีความสามารถก่อน เขาจึงสามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพได้ จะเห็นว่าหลักการบริหาร "งาน" ในแบบญี่ปุ่นจะเน้นหลักการสร้างคุณภาพของสินค้า ให้ลูกค้าประทับใจจนอยากมาซื้อซ้ำอีก เพราะต้นทุนของการหาลูกค้าใหม่แพงกว่าต้นทุนที่ทำให้ลูกค้าเดิมซื้อซ้ำ ถ้าเราไม่สามารถทำให้ลูกค้าซื้อซ้ำได้ ต้นทุนภาพรวมของเราก็แข่งขันได้ยากเช่นกัน
พร้อมกันนี้ องค์กรต้องเข้าใจความต้องการของลูกค้า ต้องรู้กระบวนการที่สร้างคุณค่า สิ่งที่ลูกค้าต้องการ การทำงานที่รวดเร็ว และประหยัด ซึ่งเป็นการสร้าง BUSINESS PROCESS IMPROVEMENT ซึ่งมีกรณีศึกษาของบริษัทผลิตผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ชื่อ S company มีโจทย์ในการส่งมอบสินค้าให้ Supplier ว่าต้อง Pack สินค้าด้วยกล่องใหม่ก่อนขนสินค้าเข้าสู่พื้นที่จัดส่ง เพื่อป้องกันเชื้อโรคด้านนอกกล่องปนเปื้อนเข้าไปในโรงงาน ได้มี Supplier A และ Supplier B : โดย Supplier A ได้ขอพื้นที่หน้าโรงงาน เพื่อ Unpack กล่องที่ทำการขนส่งทิ้ง แล้วเอากล่องใหม่มาทำการบรรจุใหม่ตามคำขอของลูกค้า ส่วนSupplier B ได้ WRAP กล่องที่ขนส่งทั้งหมด ถึงหน้าโรงงานได้ลอก WRAP ออกและใช้กล่องเดิมส่งเข้าโรงงาน ซึ่งตรงกับความต้องการลูกค้าที่ป้องกันเชื้อโรคด้านนอกกล่อง และทำงานที่รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ทำให้ S company ตัดสินใจซื้อสินค้า Suppler B
"นอกจากนี้ ระบบอุตสาหกรรมมีความซับซ้อนซึ่งจากประสบการณ์การทำงานในระบบอุตสาหกรรมที่บริษัทรถยนต์ญี่ปุ่นแห่งหนึ่งซึ่งในยุคแรก อุตสาหกรรมรถยนต์ญี่ปุ่น เป็นการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการที่ไม่สูงมาก เช่น ผลิตรถยนต์เพื่อขายลูกค้าในประเทศเป็นหลัก แต่เนื่องจากการลงทุนเครื่องจักรใช้เงินลงทุนสูงมาก ทำให้การบริหารการใช้งานเครื่องจักรให้มากกว่า 90 % ทำได้ยาก และเข้าสู่ยุคที่ 2 คือการผลิตเพื่อขายลูกค้าภายในประเทศ และส่งออกไปยังต่างประเทศ เพื่อเพิ่มการ Utilize เครื่องจักรให้ได้มากที่สุด เมื่อการส่งออกมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจนถึงช่วงที่สัดส่วนการส่งออกสูงกว่าลูกค้าภายในประเทศ ปัญหาคือ รถยนต์ส่งออกมีกำไรน้อยกว่ารถที่ขายในประเทศเพราะค่าขนส่งและภาษีนำเข้า จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคที่ 3 คือการย้ายฐานการผลิตจากประเทศญี่ปุ่น มายังประเทศที่มีฐานลูกค้าใหญ่ในบางประเทศ และหาแหล่งวัตถุดิบที่ต้นทุนต่ำกว่าญี่ปุ่นและหนึ่งในนั่นคือประเทศไทยจากการย้ายฐานการผลิตรถยนต์นี้ จึงทำให้เกิดระบบอุตสาหกรรมอื่นๆมีบริษัทข้ามชาติย้ายฐานการผลิตมาที่เมืองไทยด้วย" นายศุภวิทย์ ภาษิตนิรันดร์ กล่าวในตอนท้าย
ที่มา: คอมมูนิเคชั่น แอนด์ มอร์