ดร.ชัยยุทธ ชุณหะชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน) เผยว่า "ปัจจุบัน เราอยู่ในโลกยุคดิจิทัล ซึ่งเทคโนโลยีคือสิ่งสำคัญที่ช่วยให้เรามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ช่วยสร้างความได้เปรียบเรื่องการแข่งขันทางธุรกิจ เทคโนโลยีจึงเปรียบเสมือนตัว Enabler ที่ช่วยสร้างคุณค่าใหม่ เช่นการนำเอาเทคโนโลยีมาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือ เพื่อช่วยในการตัดสินใจวางแผนทางธุรกิจ หรือแม้กระทั่งใช้ป้องกันการโจมตีต่างๆ ทางด้านไซเบอร์ รวมถึงช่วยสร้าง New S-Curve เพื่อต่อยอดธุรกิจของ G-Able ในบทบาทของ Tech Enabler ที่สร้างความเป็นไปได้ให้กับองค์กรธุรกิจ ได้อย่างสะดวก ง่ายดายและปลอดภัยสำหรับทุกคนในทุกองค์กร
ในอีกแง่มุมหนึ่ง การเติบโตและขยายตัวของเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ก็อาจส่งผลให้ภัยคุกคามทางไซเบอร์เติบโตขึ้นเป็นเงาตามตัวเช่นกัน โดย Cybersecurity Ventures ซึ่งเป็นองค์กรผู้นำด้านการวิจัยและเก็บรวบรวมสถิติด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ได้คาดการณ์ว่าภายในปี 2031 การโจมตีทางไซเบอร์ จะเกิดขึ้นทุกๆ 2 วินาที นับเป็นการขยายตัวที่รวดเร็วจนน่าตกใจ
ด้วยฐานลูกค้าจำนวนมากของเรา และโซลูชันครบวงจร แบบ end to end เมื่อผสานรวมการต่อยอดด้วยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีที่ล้ำหน้า ทำให้เรามั่นใจว่า ลูกค้าของเราจะปลอดภัยมากขึ้นในโลกที่เต็มไปด้วยภัยคุกคามทางไซเบอร์ ด้วยความมุ่งมั่นของเราในการนำเทคโนโลยีล้ำหน้าเหล่านี้มาช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างมั่นคงและปลอดภัยในยุคดิจิทัล และนี่คือสาเหตุที่เราตัดสินใจสปินออฟธุรกิจไซเบอร์ซีเคียวริตี้ เพื่อขยายศักยภาพในการบริการลูกค้าในองค์กรธุรกิจได้อย่างเต็มรูปแบบ และครบวงจร พร้อมมอบประสิทธิภาพสูงสุดด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์"
นายสุธี อัศวสุนทรางกูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไซเบอร์จีนิคส์ จำกัด เผยว่า "ไซเบอร์ซีเคียวริตี้ มีความสำคัญอย่างมากต่อองค์กรธุรกิจทั้งภาครัฐและเอกชน เพราะภัยคุกคามเป็นสิ่งที่รอไม่ได้ และต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ภาพรวมภัยคุกคามปัจจุบัน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาก ซึ่งที่ไซเบอร์จีนิคส์ เรามีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงธรรมชาติของระบบโครงสร้างเทคโนโลยีของลูกค้าในแต่ละกลุ่มธุรกิจ โดยเฉพาะเรื่องไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ที่ต้องอาศัยการเตรียมพร้อมในทุกจุดที่เสี่ยงต่อการเกิดภัยคุกคาม เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด โดยเราพร้อมมอบบริการที่ครอบคลุม ทั้งบริการให้คำปรึกษา บริหารจัดการความปลอดภัยและเฝ้าระวังภัยคุกคามทางด้านไซเบอร์ เพื่อตอบโจทย์ทุกความต้องการของธุรกิจได้อย่างครบวงจรด้วยโซลูชันล้ำหน้าจากพันธมิตรผู้จำหน่ายระดับโลก"
ปัจจุบันตลาดไซเบอร์ซีเคียวริตี้ในประเทศไทยมีมูลค่าราว 13,000 ล้านบาท ซึ่งทุกธุรกิจที่ต้องการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัล จำเป็นต้องมีการลงทุนด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดตามความเหมาะสมด้านงบประมาณ เพื่อรับมือกับความท้าทายด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ในทุกรูปแบบ
ความปลอดภัยทางไซเบอร์ จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับทุกภาคส่วน โดยต้องเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยคุกคาม ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจการธนาคารและการเงิน รวมถึงประกันชีวิต ซึ่งเป็นตลาดที่มีการเปลี่ยนไปสู่สมาร์ท BFSI ส่วนธุรกิจเทคโนโลยี โทรคมนาคม คมนาคมและการขนส่ง เฮลธ์แคร์ ค้าปลีก ภาคอุตสาหกรรมการผลิต พลังงานและสาธารณูปโภค ล้วนนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้เพื่อนำเสนอบริการในระบบดิจิทัล รวมถึงการผสมผสานการทำงานจากระยะไกล การลงทุนด้านคลาวด์ และ AI เพื่อช่วยในการดำเนินงาน ดังนั้นความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นสิ่งที่หนีไม่พ้น และต้องดำเนินการได้อย่างรัดกุม
นายสุธี เผยต่อว่า "ด้วยวิสัยทัศน์และแนวคิดของไซเบอร์จีนิคส์ ที่ต้องการสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจผ่านการทำดิจิทัลทรานสฟอร์เมชันได้อย่างปลอดภัย เรามีจุดยืนที่แข็งแกร่งในการรองรับการเติบโตและการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจของลูกค้า ด้วยมาตรฐานความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลกแบบครบวงจร พร้อมความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าในการรักษาโลกธุรกิจให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น ด้วยบริการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์แบบองค์รวมของเรา ที่ให้บริการโดยบุคลากรที่มีความรอบรู้เรื่องความปลอดภัยอยู่ในทุก DNA เรามั่นใจในจุดแข็งของทีมงานมืออาชีพของไซเบอร์จีนิคส์ ที่มีทั้งความเชี่ยวชาญ และความเข้าใจด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ อย่างลึกซึ้ง อีกทั้งรับรองด้วยมาตรฐานด้านโซลูชันระดับโลกจากพันธมิตรชั้นนำของเรา เพื่อรองรับการให้บริการทุกธุรกิจในทุกอุตสาหกรรมได้อย่างครบวงจร นอกจากนี้ ไซเบอร์จีนิคส์เอง ยังผ่านการรับรองมาตรฐาน ISO 27001 ที่เป็นตัวการันตีคุณภาพการให้บริการและมาตรฐานการจัดการความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศอีกด้วย
การให้บริการของไซเบอร์จีนิคส์ครอบคลุมทั้ง บริการให้คำปรึกษา บริหารจัดการความปลอดภัยและเฝ้าระวังภัยคุกคามทางด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ในรูปแบบต่างๆ เช่น Infrastructure Security Protection, Cloud Security, Zero Trust Cybersecurity, IOT/OT Security, Active Directory Security, Beach and Attack Simulation, Attack Surface Management, Identity Access Management, Identity Governance and Administration, Security Rating, Security Consultant และ Manage Security Services อีกด้วย"
ที่มา: เอพีพีอาร์ มีเดีย