ม.มหิดล-สถานทูตนอร์เวย์เตรียมเปิด'ศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมไทย-เมียนมา'

จันทร์ ๑๗ กรกฎาคม ๒๐๒๓ ๐๙:๐๒
ภายใต้บริบทของความเป็น "พลเมืองโลก" จะทำให้ถนนทุกสายมุ่งสู่ทิศทางเดียวกัน และสามารถมีส่วนทำให้โลกนี้ดีขึ้นได้

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุมิตรา สุรรัตน์เดชา รักษาการรองผู้อำนวยการฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ และอาจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาโทและเอก สาขาวิชาภาษาศาสตร์ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงภารกิจสำคัญของสถาบันฯ ในการจัดหลักสูตรเสริมศักยภาพ "ครูอาสา" ตาม "โครงการ RILCA Empowerment: Creating Refugees, Migrants as Agents of Positive Change การเสริมพลังให้กับผู้ลี้ภัย และแรงงานข้ามชาติในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก"

โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสถานทูตประเทศนอร์เวย์ ผ่านกองวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดลเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการบ่มเพาะ "พลเมืองโลก" สร้างความรู้ความเข้าใจผ่านการเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมสู่ความตระหนักถึงคุณค่าในตนเอง เคารพในความต่าง รวมพลังสร้างสรรค์สังคมโลก สู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ในห้องเรียนพลเมืองโลกที่สร้างขึ้นโดย สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดลนี้ ไม่เพียงเป็นการสอน "ภาษาเพื่อการสื่อสาร" เพื่อเป็น "เครื่องมือ" ในการติดต่อ สร้างความเข้าใจระหว่างพี่น้องชาวไทย-เมียนมา ยังเป็นการเป็นการสอน "ภาษาสังคม" เพื่อสร้างความตระหนักถึง "ภารกิจทางสังคม" ที่ทุกคนพึงมีร่วมกัน

จากการออกแบบกิจกรรม โดยใช้เครื่องมือ "วงล้อแห่งอัตลักษณ์" (Identity Wheel) ที่ช่วยสร้างความเข้าใจ และตระหนักรู้ในคุณค่าของตนเองและผู้อื่น ในระดับบุคคลชุมชนและสังคม ก่อนเข้าสู่บทเรียน "Dialogue เสริมพลัง" ที่นำไปสู่การสร้างโจทย์ ระดม-แลกเปลี่ยน-สะท้อนความคิดสู่การปรับใช้ในชีวิตจริง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุมิตรา สุรรัตน์เดชา ได้ให้มุมมองถึงหลักสูตรพลเมืองโลก ว่าเป็นแนวทางในการลดความเหลื่อมล้ำในสถานการณ์แรงงานข้ามชาติ แบ่งเขา แบ่งเรา ในยุคที่ความท้าทายระดับโลกส่งผลกระทบถึงสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวผู้คนและเศรษฐกิจต้องพึ่งพาอาศัยกัน การแก้ปัญหาต้องอาศัยการวางแผน การบริหารจัดการ และความร่วมมือที่กว้างไกลกว่าพรมแดนของประเทศ และมีจุดเริ่มต้นจาก"ความเข้าใจในภาษาวัฒนธรรมของกันและกัน"

จึงกลายเป็นปรากฏการณ์ที่สร้างความประทับใจเมื่อโครงการได้รับการตอบรับและการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ ในท้องถิ่นและนานาชาติอย่างดีเยี่ยม จนสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะผู้จัดเกิด "พลังใจ" พร้อมผลักดันสู่การสร้าง "ศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมเพื่อความเข้าใจไทย-เมียนมา" ในอนาคตอันใกล้

การเรียนภาษาจะไม่เป็นเพียงชั้นเรียนแห่งการออกเสียงหรือท่องคำศัพท์อีกต่อไป หากได้ทำให้มี "ความหมายร่วมกัน" จากการเรียนรู้วัฒนธรรม พร้อมสร้างความตระหนักในความเป็นพลเมืองโลก ด้วยปณิธาน "ปัญญาของแผ่นดิน" ของมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมมุ่งสร้างสรรค์ภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการสร้างความเข้าใจ และสร้างสันติภาพสู่การรวมพลังเพื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในสังคมโลก

 

 

ที่มา: มหาวิทยาลัยมหิดล

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ