วว .โชว์งานบริการนวัตกรรมเสริมแกร่งผู้ประกอบการ/ผลงานวิจัยสนับสนุน Net Zero Emission @ TRIUP Fair 2023

พุธ ๑๙ กรกฎาคม ๒๐๒๓ ๐๙:๐๗
นายสายันต์ ตันพานิช ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และ ดร.โสภาพรรณ สัญญาณเสนาะ ผอ.สำนักจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม พร้อมบุคลากร วว. ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดงาน มหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2566 (TRIUP Fair 2023) จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ภายใต้แนวคิด "Journey to Impact : เส้นทางจากงานวิจัยและนวัตกรรม สู่การยกระดับเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ" ระหว่างวันที่ 18 -19 กรกฎาคม 2566 ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ 1-3 ชั้น 5 ศูนย์การค้าสยามพารากอน

ในการนี้ วว. ได้รับเกียรติจาก ศ.กิตติคุณ นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ประธานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในฐานะประธานเปิดงานฯ พร้อมสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เยี่ยมชมบูธนิทรรศการด้วย

วว. ในฐานะหน่วยงานวิจัยของประเทศ เข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการในโซนห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ PILOT PLANT TRIJP และบริการ โดยนำเสนอบริการ Scale-up Plant ด้านนวัตกรรมอาหาร นวัตกรรมเครื่องสำอาง/เวชสำอาง และโพรไบโอติก ได้แก่ โรงงานบริการนวัตกรรมอาหาร (FISP) ศูนย์บริการนวัตกรรมเวชสำอางครบวงจร (ICOS) ศูนย์นวัตกรรมหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่ออุตสาหกรรม (ICPIM 1 & ICPIM 2) ด้วยศักยภาพโรงงานที่ได้มาตรฐานพร้อมให้บริการผู้ประกอบการ และกลไกส่งเสริมผู้ประกอบการที่เชื่อมโยงกับ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ในโครงการส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านระบบ BDS หรือ (Business Development Service) และรับบริการลูกค้าผ่านระบบ "วว. JUMP" https://tistrservices.tistr.or.th/ ที่สามารถรับงานบริการผ่านช่องทาง online ครบ จบ ที่เดียว

นอกจากงานบริการด้านนวัตกรรมดังกล่าวแล้ว วว. ยังได้นำเสนอผลงานวิจัยและพัฒนาด้านการสนับสนุน Net Zero Emission นำโดย ดร.รุจิรา จิตรหวัง ผู้เชี่ยวชาญวิจัย และทีมวิจัย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อม วว. ได้แก่

1) การผลิตไบโอเมทานอลและก๊าซชีวภาพ มีกำลังการผลิต 5 ลิตร/วัน โดยไบโอเมทานอลที่ได้จากกระบวนการนี้ 1 กิโลกรัม มาจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ 0.5 กิโลกรัม หากมีการนำเทคโนโลยีไปใช้จะก่อให้เกิดโรงงานเมทานอล ทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ

2) ต้นแบบการผลิตวัสดุดักจับคาร์บอนไดออกไซด์จากเถ้าโรงงานไฟฟ้าเพื่อรองรับสังคมคาร์บอน สามารถนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าจากของเหลือทิ้งภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการพัฒนาวัสดุประเภทซีโอไลต์สำหรับนำไปประยุกต์ใช้งานประเภทต่างๆ

3) การปลูกไม้มีค่าและพืชเศรษฐกิจร่วมกับการเพาะเห็ดไมคอร์ไรซา เพิ่มพื้นที่สีเขียว ลดโลกร้อน ส่งเสริมการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ส่งเสริมการพัฒนาฐานเศรษฐกิจชีวภาพ

4) ต้นแบบศูนย์นวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อจัดการและแปรรูปวัสดุรีไซเคิลครบวงจร ช่วยลดการกองทิ้งขยะชุมชน ลดมลภาวะทางอากาศ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก PM 2.5 เกิดการยกระดับคุณภาพของวัตถุดิบรองสองตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน เกิดการจ้างงาน สร้างรายได้

5) การพัฒนาเชื้อเพลิงแข็งคุณภาพสูงจากชีวมวลและขยะพลาสติกเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Product)

ที่มา: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ