นวัตกรรม "แพลตฟอร์มกลางสร้างเครื่องมือบำบัดจิตวิทยาด้วยปัญญาประดิษฐ์" คว้ารางวัลเหรียญทองงานนักประดิษฐ์นานาชาติ เจนีวา

พุธ ๑๙ กรกฎาคม ๒๐๒๓ ๑๖:๕๓
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดี พร้อมด้วย รศ. ดร.ธนภัทร์ วานิชานนท์ และ รศ. ดร.นรเศรษฐ์ ณ สงขลา  แสดงความยินดีกับทีมนักวิจัยไทย ดร.กลกรณ์ วงศ์ภาติกะเสรี ผศ.ดร.นริศ หนูหอม และ ดร.สุเมธ ยืนยง ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และนางสาวพณิดา โยมะบุตร นักจิตวิทยาคลินิก ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เจ้าของผลงานนวัตกรรม 'แพลตฟอร์มกลางสำหรับการสร้างเครื่องมือบำบัดทางจิตวิทยาด้วยปัญญาประดิษฐ์' (AI Phychological Open Platform) ในโอกาสคว้ารางวัลเหรียญทอง จากงานนักประดิษฐ์นานาชาติเจนีวา ประจำปี 2566 (International Exhibition of Inventors Geneva 2023) ในเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ดร.กลกรณ์ วงศ์ภาติกะเสรี หัวหน้าทีมวิจัยและอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ขณะที่สังคมและเศรษฐกิจมีความซับซ้อนอ่อนไหวและผันผวน ปัญหาสุขภาพจิตมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นและส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและคุณภาพชีวิตของผู้ประสบปัญหาและคนใกล้ตัว หลายหน่วยงานที่ให้บริการดูแลสุขภาพจิตทั้งภาครัฐ เอกชนและหน่วยงานอิสระต่างก็ช่วยเหลือให้คำแนะนำปรึกษาแก่ประชาชน แต่ยังมีข้อจำกัด เช่น จำนวนบุคคลากรไม่เพียงพอ ค่าใช้จ่ายสูง ขาดเทคโนโลยีที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของบริการ ดังนั้น โดยทีมวิจัยคณะวิศวะมหิดล จึงได้ริเริ่มพัฒนา 'แพลตฟอร์มกลางสำหรับการสร้างเครื่องมือบำบัดทางจิตวิทยาด้วยปัญญาประดิษฐ์' (AI Psychological Intervention Open Platform) เป็นแพลตฟอร์มกลางเพื่อช่วยให้บริการสุขภาพจิตของหน่วยงานต่างๆ สามารถมีเครื่องมือและเทคโนโลยีในการพัฒนาบริการดูแลสุขภาพจิตให้ก้าวหน้าทันสมัยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นับเป็นงานวิจัยนวัตกรรมที่สร้างความเปลี่ยนแปลงไปสู่ดิจิทัลเฮลแคร์และเสริมสร้างความก้าวหน้าของวงการสุขภาพจิตในประเทศไทย ทั้งนี้โดยได้รับทุนวิจัยสนับสนุนจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ปัจจุบันมีหน่วยงานสุขภาพจิตจำนวนกว่า 30 องค์กร ที่ได้ร่วมโครงการอบรมและใช้ประโยชน์ในการพัฒนาบริการดูแลสุขภาพจิต

ประโยชน์ของแพลตฟอร์ม ช่วยยกระดับงานบริการดูแลสุขภาพจิตของไทยให้ก้าวหน้า  ช่วยให้บุคลากรของหน่วยงานดูแลสุขภาพจิตในประเทศไทยสามารถสร้าง 'หุ่นยนต์โต้ตอบ (Chatbot)' แบบอัตโนมัติได้ง่าย สามารถออกแบบพัฒนาแชทบอทปัญญาประดิษฐ์ด้านสุขภาพจิตได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี รวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่าย เพื่อตอบโจทย์ประชาชนผู้รับบริการ ตรงวัตถุประสงค์ และเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายของหน่วยงาน  เป็น Open Platform ที่หน่วยงานหนึ่งสามารถแชร์แบบให้แก่หน่วยงานอื่นนำไปปรับใช้ประโยชน์ต่อได้ นอกจากนี้ยังมี 'ปัญญาประดิษฐ์ (AI)' ที่ช่วยประเมินวิเคราะห์อารมณ์หรือปัญหาทางสุขภาพจิต ผลงานนวัตกรรมนี้นับเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ชุมชนและประชาชนคนไทยทั่วประเทศสามารถเข้าถึงการบริการและได้รับการดูแลด้านสุขภาพจิตอย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น ได้ทุกที่ทุกเวลา สะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ในอนาคตยังเป็นฐานข้อมูล Big Data ด้านสุขภาพจิตของไทย ที่สามารถนำมาวิเคราะห์ วางแผนหรือกำหนดแนวทางและนโยบายการพัฒนาสุขภาพจิตต่อไปอีกด้วย

การได้รับรางวัลเหรียญทอง จากงานนักประดิษฐ์นานาชาติเจนีวา ประจำปี 2566 (International Exhibition of Inventors Geneva 2023) ในเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ครั้งนี้ เป็นสิ่งที่ตอกย้ำฝีมือของคนไทยในเวทีนานาชาติ

ที่มา: เบรนเอเซีย คอมมิวนิเคชั่น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ