ศ.นพ. อภิชาติ อัศวมงคลกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ภายใต้ความร่วมมือตลอดระยะเวลา 3 ปี ทั้ง 4 หน่วยงานจะร่วมกันพัฒนาศึกษาหาวิธีป้องกันและรักษาโรคธาลัสซีเมีย โดยเปรียบเทียบวิธีการทดสอบ ประสิทธิภาพ ผลลัพธ์ และประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข ระหว่างเทคโนโลยี Next Generation Sequencing (NGS) กับเทคนิคดั้งเดิม คือ Gap-PCR เพื่อนำไปสู่การรักษาโรคแบบเซลล์และยีนบำบัดให้เกิดขึ้นได้ในประเทศไทย และเป็นโครงการนำร่องสู่การขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ที่ใช้รักษาโรคธาลัสซีเมีย เพื่อให้คนไทยได้รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ในราคาที่สามารถเข้าถึงได้ และช่วยลดการสูญเสียงบประมาณชาติในการรักษาผู้ป่วยลงได้อีกด้วย
ทั้งนี้ ในประเทศไทยพบผู้ที่เป็นพาหะธาลัสซีเมียประมาณร้อยละ 30-40 ของประชากร หรือประมาณ 18-24 ล้านคน มีผู้ป่วยโดยรวมประมาณ 6 แสนคนในแต่ละปี และมีเด็กเกิดใหม่ป่วยเป็นโรคธาลัสซีเมียประมาณ 12,125 ราย ส่งผลให้รัฐบาลสูญเสียงบประมาณในการรักษาผู้ป่วยปีละไม่น้อยกว่า 6,000 ล้านบาท (ที่มา https://www.hfocus.org/content/2016/03/11861)
ที่มา: ซิกซ์ ดีกรีส์ คอมมิวนิเคชั่น