รมว.สุชาติ สั่งกรมพัฒน์ up skill ผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์ ป้อน EEC

พฤหัส ๐๓ สิงหาคม ๒๐๒๓ ๑๕:๔๕
กระทรวงแรงงาน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เร่งดำเนินการพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์ รองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ร่วมภาคเอกชนยึดหลักรูปแบบการฝึกของ EEC Model

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor:EEC) เป็นนโยบายหลักในการส่งเสริมการค้าและการลงทุน เพื่อการอำนวยความสะดวกในการประกอบกิจการ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก คือ การส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพและเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก และก่อให้เกิดการจ้างงานมากขึ้นโดยเฉพาะตลาดแรงงานในระดับสูง ซึ่งการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย จำเป็นต้องใช้แรงงานที่มีระดับทักษะฝีมือที่สามารถทำงานร่วมกับเทคโนโลยีขั้นสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมอบหมายให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการพัฒนากำลังแรงงานของประเทศ เร่งดำเนินการพัฒนากำลังแรงงานเพื่อตอบสนองตลาดแรงงานในพื้นที่ EEC

นางสาวบุปผา เรืองสุด อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ EEC ดำเนินการแล้ว โดยเฉพาะที่ชลบุรี มีสถาบันฝึกอบรมเฉพาะทางคือ สถาบันพัฒนาบุคลากรสาขาเทคโนโลยีการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์ (MARA) ซึ่งหน่วยงานของกรมได้บูรณาการร่วมกับภาคเอกชนในพันที่ แจ้งความประสงค์เข้าฝึกอบรม มนหลักสูตรที่ภาคเอกชนเป็นผู้กำหนด และร่วมกันกับกรมเพื่อจัดทำหลักสูตรตามความต้องการร่วมกัน แล้วนำมาใช้ฝึกพนักงานของสถานประกอบกิจการในพื้นที่ โดยใช้บุลคลากรที่มีศักยาภาพร่วมกัน เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และถ่ายทอดไปยังแรงงาน นอกจากนี้ยังบูรณาการด้านงบประมาณอีกด้วย รูปแบบดังกล่าวเป็นการฝึกแบบมีส่วนร่วมจากภาคเอกชน เรียกว่า "EEC Model Type B" คือ ภาคเอกชนผู้ใช้บุคลากรในพื้นที่ EEC เป็นผู้กำหนดความต้องการ หลักสูตร รูปแบบการฝึกอบรม เครื่องมือ อุปกรณ์ และคุณสมบัติของผู้เรียนและผู้สอน โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงานเป็นผู้ดำเนินการ ดังนั้นหลักสูตรที่ใช้ฝึกอบรมจึงเป็นหลักสูตรที่ได้รับการยอมรับจากสถานประกอบการในพื้นที่ EEC เพื่อพัฒนาบุคลากรให้ตรงความต้องการและสามารถตอบสนองความต้องการด้านการพัฒนากำลังคนของภาคอุตสาหกรรมเป้าหมายได้เป็นอย่างดี

"หลักสูตรที่ดำเนินการฝึก อาทิ การใช้โปรแกรม Hypermill for 3-AXIS MILLING การบำรุงรักษาหุ่นยนต์อุตสาหกรรม (YASKAWA) และการโปรแกรมหุ่นยนต์อุตสาหกรรมระดับพื้นฐาน (KUKA) ผู้ที่สนใจสามารถดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน www.dsd.go.th หัวข้อกำหนดการฝึกอบรม หรือสอบถามได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 039-276823 หรือสายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 กด 4"อธิบดีบุปผา กล่าว

ที่มา: กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๓:๔๖ MEDEZE ต้อนรับสถาบันนักลงทุน CSI เยี่ยมชมบริษัท
๑๓:๔๙ บริษัท อินเตอร์ไฟเบอร์ คอนเทนเนอร์ จำกัด รับประกาศนียบัตร เครื่องหมายรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ประจำปี 2567
๑๓:๔๓ AJA จัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2568 ผถห. โหวตผ่านทุกวาระ พร้อมเปิดตัวกลยุทธ์ใหม่ รีแบรนด์ AJ EV BIKE สู่
๑๓:๕๑ SCAP ตั้งเป้าระดมทุนโดยการขายหุ้นกู้1,600 ล้านบาท ชูดอกเบี้ยสูงสุด 5.05% ต่อปี ด้วยอันดับความน่าเชื่อถือที่ BBB เปิดขายวันที่ 31 ม.ค. และ 3-4 ก.พ.
๑๒:๐๐ สกสว. - สวทช. รุกปั้นกลุ่ม ผู้จัดการงานวิจัยและนวัตกรรม หนุนระบบบุคลากร
๑๒:๑๕ HMD ประเทศไทย เปิดแผนธุรกิจปี 68 ย้ำมุ่งพัฒนาสมาร์ทโฟนคุณภาพ ด้วยปรัชญา ใช้งานปลอดภัย ไว้ใจได้ ด้วยราคาเข้าถึงง่าย
๑๑:๑๒ VEHHA Hua Hin คว้า Fitwel มาตรฐานคอนโดระดับโลก ยกระดับคุณภาพชีวิตระยะยาว ต่อยอดจุดแข็งสู่ที่สุดของความครบครัน
๑๑:๐๐ ttb reserve มอบประสบการณ์ใหม่เหนือระดับเพื่อลูกค้าคนสำคัญ
๑๑:๓๙ ศิลปะจักสานหลินซู ภูมิปัญญาโบราณสู่ตลาดโลก
๑๑:๐๐ ฉลองครบ 10 ปี HOUSE OF LITTLEBUNNY กระเป๋าแบรนด์ไทย จากกระต่ายน้อยตัวเล็ก เติบโตสู่ตลาดอินเตอร์ จัดแฟชั่นโชว์ยิ่งใหญ่