ควอนทินิวอัม ผนึกกำลังบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป และแอร์บัส ใช้คอมพิวเตอร์ควอนตัมที่ก้าวหน้าล้ำสมัยเร่งกระบวนการวิจัยด้านการเคลื่อนที่ที่ยั่งยืน

ศุกร์ ๐๔ สิงหาคม ๒๐๒๓ ๐๘:๒๓
แอร์บัส (Airbus) บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป (BMW Group) และควอนทินิวอัม (Quantinuum) ผู้นำระดับโลกในด้านการเคลื่อนที่และเทคโนโลยีควอนตัม ได้พัฒนาระบบการทำงานควอนตัม-คลาสสิกแบบไฮบริด เพื่อเร่งกระบวนการวิจัยในอนาคตโดยใช้คอมพิวเตอร์ควอนตัมในการจำลองระบบควอนตัม โดยมุ่งเน้นปฏิกิริยาทางเคมีของตัวเร่งในเซลล์เชื้อเพลิง

ในบทความเชิงเทคนิคชิ้นใหม่เรื่อง "การประยุกต์ใช้การประมวลผลควอนตัมในการจำลองปฏิกิริยาลดออกซิเจน" (Applicability of Quantum Computing to Oxygen Reduction Reaction Simulations) พันธมิตรทั้งสามรายได้รายงานการสร้างแบบจำลองปฏิกิริยาลดออกซิเจน ("ORR") อย่างแม่นยำบนพื้นผิวของตัวเร่งที่ทำจากแพลทินัม ซึ่ง ORR ที่ว่านี้คือปฏิกิริยาเคมีในกระบวนการที่แปลงไฮโดรเจนและออกซิเจนเป็นน้ำและไฟฟ้าในเซลล์เชื้อเพลิง ซึ่งจำกัดประสิทธิภาพของกระบวนการ โดยเป็นไปอย่างค่อนข้างช้าและต้องใช้ตัวเร่งแพลทินัมจำนวนมาก จึงมีความสนใจและมีคุณค่าอย่างสูงในการทำความเข้าใจกลไกที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาดังกล่าวนี้ให้ดียิ่งขึ้น

คณะทำงานได้ใช้คอมพิวเตอร์ควอนตัมเอช ซีรีส์ (H-Series) ของควอนทินิวอัม เพื่อแสดงความสามารถในการประยุกต์ใช้การประมวลผลควอนตัมในระบบการทำงานเชิงอุตสาหกรรม เพื่อยกระดับความเข้าใจของเราเกี่ยวกับปฏิกิริยาเคมีที่สำคัญ บริษัททั้งสามนี้มีแผนที่จะทำงานร่วมกันเพิ่มเติมต่อไป เพื่อสำรวจการใช้การประมวลผลควอนตัมในการจัดการกับความท้าทายเชิงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง

ดร. ปีเตอร์ เลห์เนิร์ต ( Dr. Peter Lehnert) รองประธานฝ่ายเทคโนโลยีการวิจัยของบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป กล่าวว่า "การหมุนเวียนและการเคลื่อนที่ที่ยั่งยืนผลักดันให้เราค้นหาวัสดุใหม่ ๆ เพื่อที่จะสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเสริมสร้างประสบการณ์ผู้ใช้ระดับพรีเมียมในอนาคต การจำลองคุณสมบัติของวัสดุด้วยความแม่นยำทางเคมีที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ประโยชน์จากฮาร์ดแวร์การประมวลผลควอนตัมที่ช่วยเร่งกระบวนการนั้น ได้มอบเครื่องมือที่เหมาะสมอย่างยิ่งให้กับเราในการพัฒนานวัตกรรมอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นสำหรับด้านสำคัญนี้"

ในฐานะผู้บุกเบิกในตลาดยานยนต์ระดับโลก บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป เล็งเห็นศักยภาพของการประมวลผลควอนตัมในการสร้างการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนความสำคัญในการใช้ศึกษาวิจัยวัสดุใหม่ ๆ ซึ่งเป็นด้านที่การประมวลผลควอนตัมสามารถเอื้อให้เกิดกระบวนการที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พร้อมทั้งลดจำนวนตัวจำลองต้นแบบที่ต้องใช้ในแล็บ การจัดการและจำลองกระบวนการทางไฟฟ้าเคมีขั้นพื้นฐานได้อย่างแม่นยำเป็นครั้งแรกโดยใช้การประมวลผลควอนตัม ถือเป็นความก้าวหน้าอย่างใหญ่หลวงในการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานยั่งยืน โดยส่งผลดีต่อแบตเตอรี่โลหะอากาศ และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วยประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น

คุณอิซาเบล กราเดิร์ต ( Isabell Gradert) รองประธานฝ่ายการวิจัยและเทคโนโลยีหลักของแอร์บัส กล่าวว่า "เรามองเห็นประโยชน์ของการศึกษาวิจัยนี้ได้อย่างชัดเจนในการแสวงหาทางเลือกที่ยั่งยืนและใช้พลังงานไฮโดรเจน อย่างเช่น อากาศยานซีโรอี (ZEROe) ซึ่งอาจทำงานโดยใช้เครื่องยนต์เซลล์เชื้อเพลิง การศึกษาวิจัยนี้ยืนยันว่าการประมวลผลควอนตัมกำลังพัฒนาในระดับที่เราต้องการสำหรับด้านการบิน"

แอร์บัสมองว่าไฮโดรเจนเป็นตัวเลือกเชื้อเพลิงที่มีศักยภาพสำหรับอากาศยานคาร์บอนต่ำ เพราะไม่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ขณะบินเมื่อสร้างจากพลังงานหมุนเวียน ก่อนหน้านี้บริษัทได้ประกาศแผนที่จะเริ่มทดสอบระบบขับเคลื่อนเซลล์เชื้อเพลิงที่ใช้พลังงานไฮโดรเจนบนอากาศยานสาธิตซีโรอี (ZEROe) ของบริษัทในช่วงไม่กี่ปีข้างหน้านี้ บริษัทมีความมุ่งหมายที่จะพัฒนาอากาศยานเชิงพาณิชย์ที่ใช้พลังงานไฮโดรเจนเป็นครั้งแรกของโลกเพื่อที่จะเข้าสู่ตลาดภายในปี 2578

คุณอิลยาส คาน ( Ilyas Khan) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตภัณฑ์ ควอนทินิวอัม กล่าวว่า "เราตื่นเต้นที่ได้ทำงานร่วมกันมาเป็นระยะหนึ่งแล้วเพื่อที่จะสนับสนุนบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป และแอร์บัส ซึ่งต่างเป็นผู้นำในด้านของตน ทั้งสองเล็งเห็นว่าการประมวลผลควอนตัมสามารถมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาการเคลื่อนที่ที่ยั่งยืนในอนาคต ในการทำงานซึ่งเป็นการบุกเบิกนี้ เราแสดงวิธีนำการประมวลผลควอนตัมมารวมกับระบบการทำงานเชิงอุตสาหกรรมของสองบริษัทที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสูงสุดเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก โดยจัดการกับปัญหาด้านวัสดุที่เป็นเป้าหมายสำคัญเพื่อให้เกิดความก้าวหน้าโดยใช้การประมวลผลควอนตัม"

ทีมวิจัยหวังว่าความเข้าใจเกี่ยวกับปฏิกิริยา ORR จะช่วยมอบมุมมองเชิงลึก ที่ช่วยให้ทั้งสองบริษัทพบวัสดุทางเลือกที่อาจจะยกระดับสมรรถนะและลดต้นทุนการผลิตเซลล์เชื้อเพลิงได้ การสร้างแบบจำลองปฏิกิริยาเคมีอย่าง ORR ได้อย่างแม่นยำเป็นงานที่จัดการได้ยากสำหรับคอมพิวเตอร์แบบดั้งเดิม เนื่องจากคุณสมบัติควอนตัมของกลไกทางเคมีที่เกี่ยวข้อง จึงทำให้การจำลองเช่นนี้เหมาะสมที่จะใช้ประโยชน์จากศักยภาพความได้เปรียบของควอนตัมในอนาคต

หมายเหตุถึงบรรณาธิการ

เกี่ยวกับควอนทินิวอัม

ควอนทินิวอัม (Quantinuum) คือบริษัทด้านการประมวลผลควอนตัมรายใหญ่ที่สุดในโลก ก่อตั้งขึ้นโดยการรวมกันระหว่างฮาร์ดแวร์ชั้นนำระดับโลกของฮันนี่เวลล์ ควอนตัม โซลูชันส์ (Honeywell Quantum Solutions) กับมิดเดิลแวร์และแอปพลิเคชันชั้นนำของเคมบริดจ์ ควอนตัม (Cambridge Quantum) โดยควอนทินิวอัมยึดมั่นในวิทยาศาสตร์และการขับเคลื่อนองค์กรเป็นหัวใจสำคัญ เพื่อเร่งการประมวลผลควอนตัมและการพัฒนาแอปพลิเคชันในด้านเคมี ความปลอดภัยทางไซเบอร์ การเงิน และการยกระดับประสิทธิภาพ จุดมุ่งหมายขององค์กรคือการสร้างโซลูชันควอนตัมเชิงพาณิชย์ที่ปรับขนาดได้ เพื่อแก้ปัญหาที่เร่งด่วนที่สุดในโลกในด้านต่าง ๆ เช่น พลังงาน การขนส่ง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสุขภาพ บริษัทมีพนักงานมากกว่า 480 คน รวมถึงนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรกว่า 350 คนที่ประจำอยู่ในสำนักงาน 8 แห่งทั่วสหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.quantinuum.com การใช้เครื่องหมายการค้าฮันนี่เวลล์อยู่ภายใต้การอนุญาตจากฮันนี่เวลล์ อินเตอร์เนชันแนล อิงค์ (Honeywell International Inc) ฮันนี่เวลล์มิได้เป็นตัวแทนหรือให้การรับประกันที่เกี่ยวข้องกับบริการนี้

บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป

บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป (BMW Group) ประกอบด้วยสี่แบรนด์ ได้แก่ บีเอ็มดับเบิลยู (BMW), มินิ (MINI), โรลส์-รอยซ์ (Rolls-Royce) และบีเอ็มดับเบิลยู มอเตอร์ราด (BMW Motorrad) โดยเป็นผู้ผลิตรถยนต์และจักรยานยนต์ระดับพรีเมียมชั้นนำของโลก อีกทั้งยังให้บริการด้านการเงินและการเคลื่อนที่ระดับพรีเมียม เครือข่ายการผลิตของบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป ประกอบด้วยแหล่งการผลิตกว่า 30 แห่งทั่วโลก บริษัทมีเครือข่ายการจำหน่ายในกว่า 140 ประเทศ

ในปี 2565 บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป จำหน่ายรถยนต์โดยสารเกือบ 2.4 ล้านคันและจักรยานยนต์กว่า 202,000 คันทั่วโลก มีกำไรก่อนภาษีในปีการเงิน 2565 อยู่ที่ 23,500 ล้านยูโร จากรายรับ 142,600 ล้านยูโร ทั้งนี้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป มีพนักงาน 149,475 คน

ความสำเร็จของบีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป เกิดจากการคิดระยะยาวและการลงมือทำอย่างมีความรับผิดชอบเสมอมา บริษัทกำหนดแผนการดำเนินงานสำหรับอนาคตตั้งแต่ในขั้นแรกเริ่ม และยึดมั่นในความยั่งยืนและการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพเป็นหัวใจสำคัญของทิศทางเชิงกลยุทธ์ของเครืออยู่เสมอ ตั้งแต่ซัพพลายเชน การผลิต ไปจนถึงสิ้นสุดระยะการใช้งานของทุกผลิตภัณฑ์

เกี่ยวกับแอร์บัส

แอร์บัส (Airbus) บุกเบิกนวัตกรรมการบินและอวกาศสำหรับโลกที่ปลอดภัยและมีเอกภาพ บริษัทพัฒนานวัตกรรมอยู่เสมอเพื่อมอบโซลูชันที่มีประสิทธิภาพสูงสุดและมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในด้านการบินและอวกาศ การกลาโหม และบริการเชื่อมต่อ โดยในด้านอากาศยานเชิงพาณิชย์นั้น แอร์บัสให้บริการเครื่องบินที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพด้านเชื้อเพลิงสูงสุด แอร์บัสยังเป็นผู้นำในยุโรปในด้านการกลาโหมและความมั่นคง อีกทั้งยังเป็นธุรกิจอวกาศชั้นนำอันดับต้น ๆ ของโลก ส่วนในด้านเฮลิคอปเตอร์ แอร์บัสให้บริการโซลูชันอากาศยานปีกหมุนสำหรับพลเรือนและกองทัพที่มีประสิทธิภาพสูงสุดทั่วโลก

รูปภาพ: https://mma.prnewswire.com/media/2167646/Quantinuum_H2.jpg



ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version