ภูเก็ต เริ่มแล้ว พื้นที่ขยายของโครงการ " โค้ก ชวนแยก แลกลุ้นโชค Trash Lucky" ปี 3 ส่งเสริมพฤติกรรมการแยกขยะ

ศุกร์ ๐๔ สิงหาคม ๒๐๒๓ ๑๒:๒๑
นายสยาม สุวรรณรัตน์ ผู้อำนวยการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วย นายวรวิทย์ วงษ์เล็ก ผู้ร่วมก่อตั้งและผู้อำนวยการปฏิบัติการ บริษัท แทรชลัคกี้ จำกัด (Trash Lucky) และนางสาวดิสรา จ่างเจริญ ผู้จัดการอาวุโสแผนกการตลาด ศูนย์การค้าจังซีลอน ป่าตอง ภูเก็ต เปิดโครงการ "โค้ก ชวนแยก แลกลุ้นโชค กับ Trash Lucky" ก้าวสู่ปีที่ 3 นำร่อง 5 จุดสำคัญของจ.ภูเก็ต ได้แก่ โลตัส ภูเก็ต, โลตัส ฉลอง, โลตัส โก เฟรซ บางเทา, ปั้มน้ำมันเชลล์ หัวมุมถนนพังงาและถนนสุรินทร์ และศูนย์การค้าจังซีลอน ป่าตอง ภูเก็ต เดินหน้าส่งเสริมและกระตุ้นให้ผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรมการแยกขยะ เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล สร้างระบบกลไกจัดการขยะแบบครบวงจร เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม ถึง 31 ธันวาคม 2566 ซึ่งจะดำเนินการและกำกับดูแลโดย บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน)

สำหรับโครงการ "โค้ก ชวนแยก แลกลุ้นโชค กับ Trash Lucky" ก้าวสู่ปีที่ 3 โดยกลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่า ในประเทศไทย ประกอบด้วย บริษัท ไทยน้ำทิพย์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท โคคา-
โคล่า (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับ แทรชลัคกี้ โดยในปีนี้ขยายความร่วมมือกับพันธมิตรองค์กรชั้นนำทั้งพันธมิตรรีเทลเดิมอย่าง โลตัส และบริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด และพันธมิตรรีเทลใหม่อย่างบริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ภูเก็ตสแควร์ จำกัด ผู้บริหารศูนย์การค้าจังซีลอน ป่าตอง ภูเก็ต เข้าร่วมแคมเปญเพื่อเพิ่มจุดรับวัสดุรีไซเคิล 64 จุดทั่วกรุงเทพฯ และนำร่องขยายมายังจังหวัดภูเก็ตจำนวน 5 จุด รวม 69 จุด โดยขวดพลาสติก PET จากแคมเปญจะถูกส่งต่อไปให้ บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) เพื่อรีไซเคิลเป็นเม็ดพลาสติกที่สามารถผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ที่สะอาดปลอดภัยอีกครั้ง ด้านพันธมิตรใหม่อย่าง บริษัท ไทยเบเวอร์เรจแคน จำกัด จะสนับสนุนการรีไซเคิลกระป๋องอะลูมิเนียม รวมถึงผู้ที่ส่งกระป๋องอะลูมิเนียมมาในแคมเปญจะได้ร่วมบริจาคเงินสนับสนุนมูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีอีกด้วย ซึ่งการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วอย่างเหมาะสมเพื่อให้สามารถนำมาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ใหม่ที่สะอาด ปลอดภัยถือเป็นอีกเป้าหมายหลักของแคมเปญในการขับเคลื่อนการจัดการขยะอย่างยั่งยืน และจูงใจผู้บริโภคให้นำหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ในชีวิตประจำวันโดยเริ่มจากการรีไซเคิล พร้อมทั้งได้ลุ้นรางวัลรวมมูลค่ากว่า 2 ล้านบาทอีกด้วย

สำหรับโครงการ "โค้ก ชวนแยก แลกลุ้นโชค กับ Trash Lucky" แจกรางวัลประจำเดือนรวมกว่า 3,000 รางวัลตลอด 6 เดือน โดยมีรางวัลใหญ่เป็นรถยนต์ไฟฟ้า Neta V มูลค่า 549,000 บาท โดยสามารถเข้าร่วมกิจกรรมลงทะเบียนผ่านทาง Line Official Account : @trashlucky ซึ่งจะได้รับรหัสสมาชิก (Trash Lucky ID) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถแยกวัสดุรีไซเคิล พลาสติก อะลูมิเนียม แก้ว และกระดาษของแบรนด์ใดก็ได้ บรรจุใส่ถุงหรือกล่องโดยติดชื่อ หรือรหัสสมาชิก (Trash Lucky ID)
และสามารถส่งขยะรีไซเคิลได้ 3 วิธี วิธีแรกคือ นำไปส่งที่จุดรับวัสดุรีไซเคิลมากกว่า 64 จุดทั่วกรุงเทพฯ และ 5 จุด ในจังหวัดภูเก็ต ตามสถานที่ต่าง ๆ ของพันธมิตรที่เข้าร่วม หรือส่งวัสดุรีไซเคิลผ่านบริการขนส่งพัสดุมาที่ Trash Lucky Warehouse 496 ซอยสาธุประดิษฐ์ 49 และออฟฟิศ แขวงดินแดง หรือเรียกใช้บริการเก็บวัสดุรีไซเคิลของแทรชลัคกี้ ในกรุงเทพฯและปริมณฑล

สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมของแคมเปญและการบริจาคร่วมกับแคมเปญให้มูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้ที่ https://trashlucky.com/recycleme

ที่มา: หาดทิพย์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ