รมว.อว. เยี่ยมชมนิทรรศการ วว. "สะแกราชโมเดล" ต้นแบบการเรียนรู้ ฟื้นฟูป่า สู่ธนาคารธรรมชาติ @ มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566

จันทร์ ๐๗ สิงหาคม ๒๐๒๓ ๑๖:๕๐
ศ. (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมคณะ เยี่ยมชมนิทรรศการผลงาน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) "สะแกราชโมเดล" ต้นแบบการเรียนรู้ ฟื้นฟูป่า สู่ธนาคารธรรมชาติ ซึ่ง วว. นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สร้างความเข้มแข็งชุมชน เพื่อรับมือวิกฤตสิ่งแวดล้อมโลก ในกรอบการบริหารพื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราชอย่างยั่งยืน สนับสนุนการวิจัยโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เนื่องในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 (Thailand Research Expo 2023) ซึ่ง วช. จัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-11 สิงหาคม 2566 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ฯ เซ็นทรัลเวิลด์ ภายใต้แนวคิด "วิจัยไทยก้าวไกล ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน" โอกาสนี้ ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. พร้อมคณะผู้บริหารและนักวิจัย ร่วมให้การต้อนรับและบรรยายรายละเอียดผลงานที่นำมาจัดแสดง ณ ชั้น 22 โซนงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG บูธ AL 1 ในโอกาสเดียวกันนี้ รมว.อว. ให้เกียรติปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศด้วยวิจัยและนวัตกรรม" โดย ผู้ว่าการ วว. ได้เข้าร่วมรับฟังด้วย ในวันที่ 7 สิงหาคม 2566 @ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ฯ เซ็นทรัลเวิลด์

นิทรรศการ "สะแกราชโมเดล" ต้นแบบการเรียนรู้ ฟื้นฟูป่า สู่ธนาคารธรรมชาติ วว. นำเสนอการดำเนินงานบริหารพื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราชอย่างยั่งยืนภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG และผลการดำเนินงานที่ประกอบด้วยองค์ความรู้และฐานข้อมูลจากงานวิจัยทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ ภายใต้สภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในการปรับตัวและเสริมสร้างอาชีพของชุมชนโดยใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG จากความหลากหลายของทรัพยากรชีวภาพในป่าสะแกราช ซึ่งจะเป็นโมเดลต้นแบบสู่การขยายผลในพื้นที่อื่นๆ เพื่อการพัฒนาพื้นที่สงวนชีวมณฑลอย่างยั่งยืน ภายใต้การดำเนินงาน 3 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการพัฒนาพื้นที่ป่าสงวนสะแกราชรองรับสภาวะการเปลี่ยนแปลงเพื่อความยั่งยืนทรัพยากรธรรมชาติ 2) โครงการอนุรักษ์พื้นที่ชีวมณฑลสะแกราชและการปรับตัวของชุมชนด้วยการส่งเสริมอาชีพอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยใช้องค์ความรู้จากป่าสะแกราช และ 3) โครงการการสำรวจและพัฒนาฐานข้อมูลพื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราชเพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน โดย ศูนย์เชี่ยวชาญพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อม วว. เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงานร่วมกับพันธมิตร ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

การดำเนินโครงการดังกล่าวมุ่ง 2 ด้านหลัก ได้แก่ 1) การตั้งรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยติดตามพลวัตป่าไม้ธรรมชาติและป่าฟื้นฟู เพื่อการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนในพื้นที่สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช วว. จังหวัดนครราชสี นำมามาพัฒนาฐานข้อมูลชีวภาพของพื้นที่ป่าไม้ ใช้ภาพถ่ายดาวเทียมพัฒนาแบบจำลองเพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและความหลากหลายทางพืชพรรณจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของพื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราชและส่งเสริมการอนุรักษ์อย่างยั่งยืนของชุมชน 2) โครงการการพัฒนาชุมชนโดยรอบพื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช โดยการเพิ่มพื้นที่ป่าไม้มีค่าแบบผสมผสานในพื้นที่เกษตรกรรมและป่าเสื่อมโทรม การใช้ประโยชน์เห็ดป่าในอนาคต เพื่ออนุรักษ์พันธุกรรมของไม้มีค่าในพื้นที่ป่าสะแกราชที่ใกล้จะสูญพันธุ์ อบรมให้ความรู้แก่ชุมชนในการเพาะเชื้อเห็ดเอคโตไมคอร์ไรซา ในกล้าไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ สนับสนุนกล้าไม้แก่ชุมชน จัดตั้งศูนย์การเพาะเชื้อเห็ดในพื้นที่ พร้อมจัดทำแปลงสาธิตพืชกินได้

เนื่องจากป่าในสะแกราชเป็นตัวแทนของป่า 2 ประเภทหลักๆ ประกอบด้วย ป่าไม่ผลัดใบ (ป่าดิบแล้ง) และป่าผลัดใบ (ป่าเต็งรัง) จากการศึกษาข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมจาก GISTDA ซึ่งเป็นข้อมูลภาพถ่ายของสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชและพื้นที่โดยรอบในระยะ 2 กิโลเมตร เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าจากอดีตจนถึงปัจจุบัน พบว่า พื้นที่ป่าเต็งรังมีเนื้อที่ลดลงจาก 38.63% เป็น 27.63% และ ป่าดิบแล้งมีเนื้อที่เพิ่มขึ้นจาก 31.77 % เป็น 41.44%

นอกจากนี้จากการวิเคราะห์มวลชีวภาพและการกักเก็บคาร์บอน (Biomass and Carbon storage) ของต้นไม้ในสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชและพื้นที่โดยรอบในระยะ 2 กิโลเมตร โดยใช้สมการแอลโลเมตรีอ้างอิงตาม Ogawa et al. (1965) และ Komiyama et al. (1987) พบว่า พื้นที่ป่าไม้บริเวณสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช สามารถกักเก็บคาร์บอนเหนือพื้นดินได้ทั้งหมด 2,770,281.26 ตันคาร์บอน โดยป่าดิบแล้งมีการกักเก็บคาร์บอนได้สูงที่สุด จำนวน 2,024,929.27 ตันคาร์บอน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของพื้นที่ด้านบริการของระบบนิเวศ (ecosystem services) ที่สำคัญ

 

"...การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้รวมไปถึงการเพิ่มพื้นที่สีเขียวจากการปลูกป่า มีความสำคัญอย่างมากต่อการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากป่าไม้จะเป็นตัวช่วยที่สำคัญในการการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หากระบบนิเวศป่าไม้ถูกทำลายไป จะส่งผลให้ศักยภาพในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูญเสียไป มากไปกว่านั้นยังทำให้ปริมาณคาร์บอนที่สะสมไว้ถูกปลดปล่อยคืนสู่บรรยากาศและก่อให้เกิดปัญหาโลกร้อนมากยิ่งขึ้น..." ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าวสรุป

 

ที่มา: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ