มรภ.สงขลา ชวนเที่ยวงานวัฒนธรรมสัมพันธ์ "อัตลักษณ์ท้องถิ่น สืบศิลป์สู่มรดกโลก" จัดเต็มการแสดง 9 วัน 9 คืน สะท้อนตัวตนรากแก้วของแผ่นดิน

พุธ ๐๙ สิงหาคม ๒๐๒๓ ๑๗:๐๙
มรภ.สงขลา จัดงานวัฒนธรรมสัมพันธ์ "อัตลักษณ์ท้องถิ่น สืบศิลป์สู่มรดกโลก" วันที่ 12-20 สิงหาคม 2566 อัดแน่นการแสดงตลอด 9 วัน 9 คืน ชูวิถีวัฒนธรรมสะท้อนตัวตนรากแก้วของแผ่นดิน

มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) จัดงานวัฒนธรรมสัมพันธ์ ประจำปี 2566 "อัตลักษณ์ท้องถิ่น สืบศิลป์สู่มรดกโลก" ระหว่างวันที่ 12-20 สิงหาคม 2566 ณ บริเวณรอบเกาะลอย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เพื่ออนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ ตลอดจนสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านศิลปะและวัฒนธรรม ภายในงานมีการออกร้านจำหน่ายสินค้า การประกวดแข่งขันด้านศิลปวัฒนธรรม นิทรรรศการภาพถ่าย สักการะทวดช้าง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำมหาวิทยาลัย การแสดงจากวงดนตรีลูกทุ่งราชภัฏ การแสดงเยาวชน การแสดงวัฒนธรรม 4 ภาค การแสดงวัฒนธรรมนานาชาติ การแสดงมโนราห์ หนังตะลุง และศิลปินวงดนตรี ตลอด 9 วัน 9 คืน พิธีเปิดวันที่ 12 สิงหาคม 2566 โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ นายกสภา มรภ.สงขลา เป็นประธานในพิธี พร้อมทั้งมอบโล่เชิดชูเกียรติปิตาภรณ์แผ่นดิน ประจำปี พ.ศ. 2566 และ มอบเกียรติบัตรให้แก่ผู้ได้รับรางวัลประกวดภาพถ่าย "โนรา มรดกภูมิปัญญาของมนุษยชาติ"

ทั้งนี้ มรภ.สงขลา ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น มีพันธกิจในการส่งเสริม เผยแพร่ อนุรักษ์ สืบสานและสร้างสรรค์ศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่นของชาติ การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมเป็นภารกิจสำคัญในการส่งเสริมเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรม เล็งเห็นถึงความสำคัญของวิถีวัฒนธรรมที่แสดงถึงความเป็นตัวตนที่แท้จริงหรือเป็นรากแก้วของแผ่นดิน จึงได้จัดงานวัฒนธรรมสัมพันธ์มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริม สืบสาน อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของของชาติและของท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป เนื่องจากปัจจุบันวัฒนธรรมท้องถิ่นถูกละเลยและมีการถ่ายทอดไปสู่คนรุ่นใหม่น้อย เช่น การแต่งกาย ภาษาพูด รวมทั้งประเพณีและวิถีชีวิตที่ดีงาม ท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรมภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ วัฒนธรรมมีการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา

อย่างไรก็ตาม หากมรดกทางวัฒนธรรมที่มีความแตกต่างหลากหลายในพื้นที่ไม่ได้รับการสืบสานและอนุรักษ์ฟื้นฟู รวมถึงพัฒนาต่อยอดให้เกิดคุณค่าทางสังคมและจิตใจ ย่อมส่งผลให้คุณค่าทางมรดกวัฒนธรรมลดน้อยลงไปจนแทบจะสูญหาย วัฒนธรรมวิถีชีวิตที่เกิดขึ้นจากการสั่งสมองค์ความรู้ในแต่ละท้องถิ่นมีลักษณะโดดเด่นที่แตกต่างกันไปตามสภาพพื้นที่ในแต่ละพื้นที่มีภูมิปัญญาหลากหลาย ควรได้รับการถ่ายทอดสู่เยาวชนรุ่นหลัง ซึ่งการอนุรักษ์เป็นหนทางหนึ่งที่ยั่งยืนในการสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่นของชุมชนให้ดำรงอยู่ และการเรียนรู้ภูมิปัญญาโดยให้นักศึกษาเป็นผู้สืบทอดจากผู้รู้ในชุมชน จะช่วยให้เข้าใจรากเหง้าวัฒนธรรมของท้องถิ่นได้อย่างละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้น

ที่มา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๕ ดร.เอ้ สุดยอดผู้นำด้าน AI เชื่อมั่น รพ.พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร จะปฏิวัติการแพทย์ไทย ด้วย AI พร้อมความตั้งใจอันแน่วแน่
๐๙:๐๓ รมว.นฤมล ผลักดันกฎระเบียบว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่าของสหภาพยุโรป (EUDR)
๐๙:๑๖ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ร่วมกับ สภากาชาดไทย ชวนร่วมบริจาคโลหิต 26 ธันวาคมนี้ ชั้น 7 โซน A เพิ่มโลหิต เพิ่มชีวิต
๐๙:๔๗ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง จัดเต็ม!! ลงพื้นที่เร่งลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาส สร้างชีวิตแก่ชาวหนองคายอย่างยั่งยืน
๐๙:๕๕ มูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ ส่งมอบอาคารโรงอาหารอายิโนะโมะโต๊ะ ให้แก่ โรงเรียนบ้านดอนมะกอก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๐๙:๐๕ กทม. เข้มงวดโครงการก่อสร้างคอนโดฯ ในซอยสุขุมวิท 93 ปฏิบัติตามมาตรการ EIA
๐๙:๕๐ การเคหะแห่งชาติตั้งเป้าสร้างที่อยู่อาศัยรองรับสังคมผู้สูงอายุ
๐๙:๒๘ ทำอย่างไรจึงจะทำให้มีการใช้ generative AI มากขึ้น
๐๙:๔๐ NocNoc จับมือ กฟผ. ส่งความสุขปีใหม่ให้คนรักบ้าน มอบส่วนลดสินค้าประหยัดไฟเบอร์ 5 สูงสุด 500 บาท เมื่อช้อปผ่าน NocNoc Chat Shop ทัก-ช้อป-ลด เริ่ม 25 ธ.ค. 67
๐๙:๑๔ Warrior ตั้ม ศุภกิตติ์ หรือ ตั้ม โทมัส ทอม จากทีมมาสเตอร์ ดร.อั้ม อธิชาติ คว้าชัย The Social Warrior คนแรกของประเทศไทย