วอเตอร์ดรอปภูมิใจ แพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์เชิงสนทนาของบริษัท คว้ารางวัลสูงสุดจากการประกวดนวัตกรรมเทคโนโลยีประกันภัยอินสแล็บ ประจำปี 2566

อังคาร ๑๕ สิงหาคม ๒๐๒๓ ๑๔:๔๗
วอเตอร์ดรอป อิงค์ (Waterdrop Inc.) "วอเตอร์ดรอป" "บริษัทฯ" (NYSE: WDH) แพลตฟอร์มเทคโนโลยีชั้นนำด้านประกันภัยและบริการสุขภาพที่มุ่งสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม ผงาดคว้าชัยชนะในการประกวดนวัตกรรมเทคโนโลยีประกันภัยประจำปี 2566 ของอินสแล็บ (Inslab) มาได้ โดยได้รางวัลเชิดชูความเป็นเลิศจากโครงการแพลตฟอร์มสนทนาพลังปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่ทางวอเตอร์ดรอปได้บุกเบิกเอาไว้

การประกวดนวัตกรรมเทคโนโลยีประกันภัยรอบชิงชนะเลิศนั้นจัดขึ้นโดยอินสแล็บ และเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลเทคโนโลยีประกันภัย (Insurance Technology Festival) ประจำปี 2566 การแข่งขันนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 แล้ว โดยกลายเป็นงานที่มีผู้ติดตามอย่างใกล้ชิดมากเป็นอันดับต้น ๆ ในแวดวงเทคโนโลยีประกันภัยที่กำลังเติบโตของจีน ดึงดูดบริษัทเทคโนโลยีประกันภัยและองค์กรประกันภัยให้มาเข้าร่วมได้เกือบ 300 ราย

วอเตอร์ดรอปดำเนินธุรกิจมา 6 ปีแล้ว ปัจจุบันให้บริการแก่ผู้ถือกรมธรรม์กว่า 110 ล้านราย ทำให้สั่งสมข้อมูลมาได้เป็นจำนวนมาก และยังปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องด้วย

แพลตฟอร์มการสนทนาพลังปัญญาประดิษฐ์ที่ได้รับรางวัลในเวทีนี้ สร้างขึ้นโดยใช้ข้อมูลการประกันภัยที่ไม่ระบุชื่อจำนวนมากของวอเตอร์ดรอป ทำหน้าที่สื่อสารกับลูกค้าโดยใช้เสียง ข้อความ และสื่ออื่น ๆ ช่วยยกระดับกระบวนการบริการประกันภัยในขั้นต่าง ๆ ซึ่งตลอดเส้นทางการวิจัยและพัฒนานั้น บริษัทฯ ประสบความสำเร็จในด้านนวัตกรรมมาแล้ว 11 ครั้ง และยื่นจดสิทธิบัตรทางเทคนิคหลายสิบรายการ วอเตอร์ดรอปยังเป็นผู้บุกเบิกแอปพลิเคชันทางเทคนิครายแรก ๆ ของอุตสาหกรรม นอกเหนือไปจากแอปพลิเคชันใหม่ ๆ อีก 3 รายการ

นอกเหนือจากนวัตกรรมต่าง ๆ แล้ว วอเตอร์ดรอปยังได้พัฒนาอัลกอริทึมบทสนทนาย้อนกลับ ซึ่งแปลงข้อมูลให้เป็นตัวอย่างที่ฝึกได้จำนวนมาก เพิ่มความได้เปรียบในการปรับใช้โมเดลแอปพลิเคชันขนาดใหญ่ โดยหุ่นยนต์สนทนาอัจฉริยะพลังปัญญาประดิษฐ์ของวอเตอร์ดรอปปัจจุบันเลียนแบบเสียงของคนได้จริง ๆ ระบุเจตนาของลูกค้าได้อย่างแม่นยำ และมีส่วนร่วมในการสนทนาที่สอดรับกับบริบทได้ด้วย

ที่ผ่านมานั้น ระยะเวลาเฉลี่ยของการสนทนาระหว่างหุ่นยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์ของวอเตอร์ดรอปกับลูกค้าอยู่ที่ราว ๆ 2 นาที แต่ทุกวันนี้เพิ่มเป็นเกือบ 20 นาที ซึ่งมากกว่าประสิทธิภาพการบริการของบุคลากรระดับเริ่มต้น โดยมีอัตรารับรู้ความตั้งใจ 97% และอัตราการแก้ไขปัญหามากกว่า 80% ซึ่งการผสมผสานหุ่นยนต์โต้ตอบอัจฉริยะกับการโต้ตอบของมนุษย์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในอุตสาหกรรมได้อย่างมาก

วอเตอร์ดรอปนำสถานการณ์ทางธุรกิจและข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้าที่หลากหลายมาใช้ ในการพัฒนาระบบกระจายอัจฉริยะที่ซับซ้อน ระบบนี้ใช้ความสามารถของอัลกอริทึมในการแนะนำผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่เหมาะสมที่สุดอย่างชาญฉลาด ตามสถานะสุขภาพและความต้องการด้านการประกันภัยของลูกค้า นอกจากนี้ ระบบการจัดสรรผู้ที่มีแนวโน้มเป็นลูกค้ายังช่วยป้องกันไม่ให้ลูกค้าเลิกใช้บริการอันเป็นผลจากการขาดกำลังคนได้ในบางกรณีด้วย

ยิ่งไปกว่านั้น ในแง่ของการควบคุมความเสี่ยงและการตรวจสอบคุณภาพ ระบบควบคุมความเสี่ยงอัจฉริยะที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญาประดิษฐ์ ยังมาพร้อมคุณสมบัติในการควบคุมความเสี่ยงรวม 287 รายการ เพื่อคอยสอดส่องปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพบริการในระหว่างการสนทนา ตัดสินใจเมื่อเกิดการละเมิดทัศนคติ ดูแลคุณภาพบริการและประสบการณ์ของลูกค้าให้ดีอยู่เสมอ โดยรูปแบบการควบคุมความเสี่ยงและอัลกอริทึมที่ว่านี้ยังรับรู้อารมณ์และความตั้งใจของลูกค้าได้แบบเรียลไทม์ ทั้งยังตรวจจับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วย



ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ