เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่งฯ (AEC) ร่วมต้อนรับคณะนายกรัฐมนตรีฯ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา - ชุมทางถนนจิระ

ศุกร์ ๑๘ สิงหาคม ๒๐๒๓ ๐๙:๕๖
เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่งฯ (AEC) บริษัทในกลุ่ม STI ให้การต้อนรับคณะนายกรัฐมนตรีฯ เข้าเยี่ยมชม ตรวจความคืบหน้าของโครงการ ก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงมาบกะเบา - ชุมทางถนนจิระ บริเวณงานอุโมงค์รถไฟผาเสด็จ ช่วงมาบกะเบา - หินลับ อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี ในฐานะที่ปรึกษาโครงการ พร้อมด้วยผู้ว่าการรถไฟ เพื่อติดตามการดำเนินการและเตรียมพร้อมรองรับเปิดใช้งานในอนาคต

นายไพบูลย์ โชคไพรสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด (AEC) บริษัทที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมชั้นนำของประเทศ บริษัทในกลุ่ม บริษัท สโตนเฮ้นจ์ อินเตอร์ จำกัด (มหาชน) (STI) ต้อนรับ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมคณะรัฐมนตรี และผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี ร่วมตรวจเยี่ยมความก้าวหน้าโครงข่ายคมนาคมระบบรางของโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงมาบกะเบา - ชุมทางถนนจิระ บริเวณงานอุโมงค์รถไฟผาเสด็จ ช่วงมาบกะเบา - หินลับ อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี ในฐานะที่ปรึกษาโครงการก่อสร้าง โดยมี นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ร่วมให้การต้อนรับและนำเสนอรายละเอียดความก้าวหน้าการดำเนินโครงการก่อสร้างในครั้งนี้ด้วย

ซึ่งงานอุโมงค์รถไฟของโครงการฯ มีจำนวน 3 อุโมงค์ ซึ่งหนึ่งใน 3 อุโมงค์ ตั้งอยู่ระหว่างสถานีมาบกะเบา สถานีผาเสด็จ และสถานีหินลับ จ.สระบุรี มีความยาว 5.85 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นอุโมงค์คู่ รางเดี่ยว เป็นอุโมงค์รถไฟที่ยาวที่สุดในประเทศไทย มีการออกแบบที่มีระบบความปลอดภัยค่อนข้างสูง ซึ่งเดินหน้าแล้ว 98% สำหรับอีก 2 อุโมงค์ ปัจจุบันดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จเรียบร้อย

สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงมาบกะเบา - ชุมทางถนนจิระ เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ กรุงเทพฯ - หนองคาย และเชื่อมต่อกับสายตะวันออก ท่าเรือแหลมฉบัง - แก่งคอย ซึ่งเป็นเส้นทางเศรษฐกิจ การค้า การขนส่ง และโลจิสติกส์ เชื่อมโยงระหว่างประตูการค้าของไทยทั้งกรุงเทพฯ และท่าเรือแหลมฉบัง ไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือเชื่อมโยงสู่ สปป.ลาว และจีนตอนใต้ ทั้งนี้ หากโครงการฯ แล้วเสร็จจะเป็นการช่วยเสริมประสิทธิภาพขบวนรถเพิ่มขึ้นได้ไม่น้อยกว่า 2 เท่าตัว ขบวนรถโดยสารจะสามารถทำความเร็วสูงสุดได้เฉลี่ย 100-120 กม./ชม. จากเดิม 50 กม./ชม. ขบวนรถสินค้าจะสามารถทำความเร็วสูงสุดได้เฉลี่ย 60 กม./ชม. จากเดิม 29 กม./ชม. ทำให้ลดระยะเวลาการเดินทาง มีความตรงต่อเวลาของขบวนรถ ลดต้นทุนการขนส่งด้านโลจิสติกส์ ประชาชนมีทางเลือกในการเดินทางมากยิ่งขึ้น

ที่มา: ไออาร์ พลัส

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๗ Gentari จับมือเครือข่ายพันธมิตร ขยายบริการส่งเสริมการใช้ยานพาหนะเพื่อลดมลพิษในประเทศไทย
๑๗:๕๐ ดีนี่ แบรนด์ผู้นำผลิตภัณฑ์เด็กที่ทุกครอบครัววางใจ คว้า 7 รางวัลจาก 3 เวทีใหญ่ และได้รับเลือกให้เป็นสินค้าน่าใช้ประจำปี
๑๖:๑๔ SNPS คว้า 2 รางวัลใหญ่ The Prime Minister's Industry Award 2024 ตอกย้ำความเป็นผู้นำระดับสากลและพร้อมสร้างองค์กรนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน
๑๗:๐๐ มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์จ ต้อนรับตัวแทนด้านการศึกษาและที่ปรึกษาโรงเรียนจากเอเชียสู่แคมปัสที่เกรเนดาสำหรับโปรแกรม
๑๗:๔๓ สสส. wearehappy และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกุมุง นราธิวาส ชวนเปลี่ยนบ้านให้สนุก ด้วย สื่อสร้างสรรค์
๑๗:๕๓ กลุ่มบริษัทบีทีเอส เชิญร่วมบริจาคปฏิทินตั้งโต๊ะเก่าในแคมเปญ ฮีโร่ให้เป็นผู้ให้อักษรเบรลล์ ปีที่ 2
๑๕:๔๓ พลิกโฉมการรอเที่ยวบินล่าช้าด้วยบัตรกำนัล Delay Lounge Pass เข้าถึงห้องรับรองที่เพียบพร้อมสำหรับผู้ถือประกันการเดินทาง
๑๕:๕๕ อาลีบาบา คลาวด์ ได้รับการจัดให้เป็น Leaderในรายงานด้านพับลิคคลาวด์แพลตฟอร์ม
๑๕:๕๗ วัน แบงค็อก ชวนเปิดประสบการณ์การใช้ชีวิตเหนือระดับตลอดวัน ในเมืองแห่งความสุขใจกลางกรุงเทพฯ
๑๕:๑๙ โคเซ่ เข้าซื้อหุ้นบริษัท ปุริ จำกัด ในไทย พร้อมควบรวมเป็นบริษัทในเครือ