ไอแบงก์ สร้างสังคมการเรียนรู้ พัฒนาทักษะ "โค้ดดิ้ง" ให้กับเยาวชน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สู่การต่อยอดการศึกษาทันยุคดิจิทัลในพื้นที่อย่างยั่งยืน

จันทร์ ๒๑ สิงหาคม ๒๐๒๓ ๐๙:๑๐
ประธานกรรมการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) นำคณะกรรมการและผู้บริหารธนาคาร ลงพื้นที่ภาคใต้ สร้างสังคมการเรียนรู้ ผ่านกิจกรรมเพื่อสังคมดึงเยาวชนเข้าร่วมกิจกรรมฝึกทักษะโค้ดดิ้ง เสริมสร้างความรู้ด้านดิจิทัลเทคโนโลยี คัดเลือกนักเรียนและจิตอาสา รวม 262 คน จุดประกายความฝันสู่การต่อ ยอดการศึกษาทันยุคดิจิทัลในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้อย่างยั่งยืนโอกาสครบรอบ 20 ปี ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย โดยเมื่อช่วงบ่ายวันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม 2566 ประธานกรรมการธนาคาร ได้ให้เกียรติเป็นประธานเปิดโครงการ "เสริมทักษะเขียนโค้ด นักเรียน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เรียนรู้ทันยุคดิจิทัล" โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จงรัก พลาศัย นายกสภา มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชครินทร์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรีชา สะแลแม อธิการบดี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุม ดร.จงรัก พลาศัย มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

นายภูมิศักดิ์ อรัญญาเกษมสุข ประธานกรรมการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) เปิดเผยว่า ธนาคารมี นโยบายดำเนินการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ทั้งในกระบวนการดำเนินธุรกิจ (CSR-in-process) ซึ่งบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเข้าไปในการบริหารจัดการองค์กร และความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมนอกกระบวนการดำเนินธุรกิจ (CSR-after-process) โดยมุ่งเน้นให้ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับ ตระหนักถึงการกำหนดกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่สะท้อนความสามารถหรือยกระดับความสามารถขององค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืน

ในโอกาสครบรอบ 20 ปี ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย จึงมีแนวคิดในการเฉลิมฉลองด้วยการจัดทำโครงการเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมในพื้นที่ยุทธศาสตร์ของธนาคารพร้อมจะก้าวสู่ทศวรรษที่ 3 อย่างยั่งยืน โดยในปีนี้ธนาคารได้ริเริ่มโครงการ "เสริมทักษะเขียนโค้ด นักเรียน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เรียนรู้ทันยุคดิจิทัล" เพื่อมอบโอกาสให้กับเยาวชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ได้พัฒนาทักษะในด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฝึกฝน และมีความพร้อมในการเติบโตในยุคดิจิทัล ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศให้แข็งแกร่ง ก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 ที่มีศักยภาพอย่างทั่วถึงแท้จริง

ทุกวันนี้เราใช้เทคโนโลยี แทบจะทุกย่างก้าวในชีวิตประจำวัน จะเห็นว่าเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาท จนเป็นอุตสาหกรรมที่มีความต้องการนักเทคโนโลยีต่างๆมากมาย ดังนั้นโครงการนี้ เราหวังว่าจะเป็นการสร้างพื้นฐานให้เด็กๆ คุ้นเคย สนุก ตลอดจนเข้าใจ และสามารถนำความรู้และทักษะการเขียนโค้ดดิ้งที่ได้จากโครงการนี้ไปสร้างแรงบันดาลใจ ต่อยอดการศึกษาในอนาคตต่อไป

กิจกรรมดังกล่าวได้รับความร่วมมือจาก 3 มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ที่จัดส่งนักศึกษาจิตอาสามาเป็นเทรนเนอร์สำหรับโครงการ "เสริมทักษะเขียนโค้ด นักเรียน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เรียนรู้ทันยุคดิจิทัล" ให้กับน้อง ๆ ทั้ง 6 โรงเรียน แบ่งเป็น 3 โรงเรียนในจังหวัดนราธิวาส (โรงเรียนดารุสสาลาม โรงเรียนนราธิวาส และโรงเรียนนราสิกขาลัย) 2 โรงเรียนในจังหวัดปัตตานี (โรงเรียนจงรักสัตย์วิทยา และโรงเรียนเตรียมศึกษาวิทยา) และ 1 โรงเรียนจากจังหวัดยะลา (โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ) ขอบคุณคณาจารย์ ครู ทั้ง 6 โรงเรียนที่ให้การสนับสนุนจัดเวลาและสถานที่ เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนทั้ง 250 คนและจิตอาสา 12 คน รวม 262 คน ได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการ รวมทั้งโรงเรียนนานาชาติบลูมส์เบอร์รี่ หาดใหญ่ ที่ได้อนุเคราะห์สถานที่สำหรับการจัดกิจกรรมปิดโครงการในอีก 3 เดือนข้างหน้า และเป็นส่วนหนึ่งที่ได้ร่วมพัฒนาการเรียนรู้ให้แก่เยาวชนซึ่งเป็นอนาคตของชาติในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ของเรา

ด้าน นายทวีลาภ ฤทธาภิรมย์ กรรมการและผู้จัดการ ไอแบงก์ กล่าวต่อว่า โครงการ "เสริมทักษะเขียนโค้ด นักเรียน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เรียนรู้ทันยุคดิจิทัล" ได้ถูกริเริ่มจากเจ้าของโครงการ STEPS ซึ่งย่อมาจาก Southern Technology Education Program for Student โดยนางสาวพาริมา ชูพึ่งอาตม์ ซึ่งเป็นนักเรียนมัธยมปีที่ 5 ปัจจุบันศึกษาอยู่ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ก่อตั้งโครงการนี้ด้วยความตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาเกี่ยวกับ Computer Science ในยุคปัจจุบัน และมีแนวคิดที่จะหยิบยื่นโอกาสให้แก่น้องๆในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของเยาวชน พัฒนาการเรียนรู้ ซึ่งจะเป็นตัวช่วยสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาและเพิ่มรายได้เฉลี่ยในพื้นที่ต่อไป แบบอย่างที่ดีเช่นนี้ ไอแบงก์ พร้อมให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ ไอแบงก์จึงจัดทำโครงการ "เสริมทักษะเขียนโค้ด นักเรียน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เรียนรู้ทันยุคดิจิทัล" โดยมีเป้าหมายเสริมสร้างให้เยาวชนในพื้นที่ นอกจากจะมีทักษะด้านการโค้ดดิ้งแล้ว ยังสามารถพัฒนาความคิดของน้องๆ อย่างเป็นระบบ แก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล และปรับตัวในสถานการณ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี อันเป็นพื้นฐานสำคัญในการใช้ชีวิตประจำวัน ต่อยอดการเรียนรู้ ตลอดจนสร้างนวัตกรรมต่างๆ ให้กับประเทศชาติได้ในอนาคตต่อไป

ที่มา: ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ