ผศ.ดร.ลินดา กล่าวต่อไปว่า ปีนี้ถือเป็นปีแรกที่มบส.ได้เข้าร่วมการจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับโลกที่สร้างผลกระทบสูงต่อสังคมหรือ Impact Ranking ในเป้าหมายรวม โดยได้รวบรวมและนำส่งข้อมูลตามเป้าหมายการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน จำนวน 5 เป้าหมาย จาก 17 เป้าหมาย ประกอบด้วย เป้าหมายที่ 1 ยุติความยากจน (No poverty) เป้าหมายที่ 3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Good health and well-being) เป้าหมายที่ 4 คุณภาพทางการศึกษา(Quality Education) เป้าหมายที่ 16 สันติภาพ ยุติธรรม และสถาบันที่เข้มแข็ง (Peace Justice and Strong Institution) และเป้าหมายที่ 17 การเป็นหุ้นส่วนเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Partnership for Goals)
ผศ.ดร.ลินดา กล่าวอีกว่า ส่วนผลงานที่โดดเด่นตามแต่ละเป้าหมายของ SDGs ที่เข้าร่วมสรุปได้ ดังนี้ การจัดอันดับเป็นที่ 1 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏควบคู่กับติดอันดับ Top 10 ในไทย ได้แก่ เป้าหมายที่ 16 Peace Justice and Strong Institution และเป้าหมายที่ 17 Partnership for Goals อีกทั้งพบว่า เป้าหมายที่ 17 ได้รับคะแนนประเมินสูงสุด 79.4 จาก 100 คะแนน เมื่อเทียบกับทุกเป้าหมาย และได้รับการจัดอันดับเป็นที่ 201-300 ของโลก การจัดอันดับเป็นที่ 2 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ อันดับที่ 10 ของประเทศ และเป็นอันดับที่ 201-300 ของโลก ในเป้าหมายที่1 No poverty การจัดอันดับเป็นที่ 3 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ อันดับที่ 18 ของประเทศ และอันดับที่ 601-800 ของโลก ในเป้าหมายที่ 3 Good health and well-being การจัดอับดับเป็นที่ 8 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ อันดับที่ 18 ของประเทศ และอันดับที่ 401-600 ของโลก ในเป้าหมายที่ 4 Quality Education อย่างไรก็ตามขณะนี้ตนได้ย้ำให้แต่ละคณะถ้าจะมีการจัดกิจกรรมใดๆก็ให้นำหลักเกณฑ์ของเป้าหมายการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนเข้ามาสอดแทรกในการทำกิจกรรมด้วย เพื่อจะได้นำผลการจัดกิจกรรมนั้นมาใช้เป็นข้อมูลส่วนหนึ่งในการเข้ารับการจัดอันดับด้วย
ที่มา: เอยู คอมมิวนิเคชั่น