นายชูชีพ พงษ์ไชย รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า การประชุมชี้แจงการบริหารการจัดเก็บและใช้ประโยชน์ข้อมูลเพื่อการพัฒนาชุมชน ปี 2566 ในวันนี้จากคำกล่าวรายงาน ของผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศเพื่อการพัฒนาชุมชนจะเห็นว่า ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ) ข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กช. 2ค)มีความสำคัญในการกำหนดนโยบาย และจัดทำแผนงานโครงการของหน่วยงานต่างๆ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมทั้งใช้เป็นข้อมูลชี้เป้าการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ตลอดจนเป็นฐานข้อมูลสำคัญที่กรมการพัฒนาชุมชนใช้ในการวิเคราะห์ ประมวลผลร่วมกับฐานข้อมูลอื่นๆ ของกรมการพัฒนาชุมธนในระบบ CDD Big data รวมถึงการนำไปใช้ประโยชน์ผ่านช่องทางการให้บริการข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ดังนั้น สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในกระบวนการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ) และข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช.2ค) คือข้อมูลต้องมีความครบถ้วน ถูกต้อง ทันเวลา และสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ในระดับพื้นที่ โดยเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนทุกระดับ ต้องให้ความสำคัญ เอื้ออำนวย สร้างความเข้าใจ สร้างการรับรู้ และประสานการทำงานอย่างจริงจัง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพ ได้รับความเชื่อถือและความเชื่อมั่น อันจะส่งผลต่อการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในวงกว้าง
โดยการประชุมชี้แจงการบริหารการจัดเก็บและใช้ประโยชน์ข้อมูลเพื่อการพัฒนาชุมชน ปี 2566 ในวันนี้ มีที่มาจากคณะรัฐมนตรีมีมติในวันที่ 22 กันยายน 2530 เห็นชอบให้มีการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช. 2ค) เป็นประจำทุก 2 ปี ตั้งแต่ปี 2533 ต่อมาคณะกรรมการพัฒนาชนบทแห่งชาติ (กชช.) มีมติเมื่อวันที่ 15กันยายน 2532 มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการพัฒนาชุมชนจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ) เป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปิ 2533 และคณะรัฐมนตรียังมีมติ เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2536 ให้ทุกหน่วยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชนบทใช้ข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช. 2ค) และข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ) ในการกำหนดนโยบาย และแนวทางปฏิบัติงานพัฒนาชนบทวางแผนพัฒนา อนุมัติโครงการ และการติดตามการปฏิบัติงานโครงการการพัฒนาชนบท โดยมีการปรับปรุงเครื่องชี้วัดทุก 5 ปี ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแต่ละฉบับ ซึ่งวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจการบริหารการจัดเก็บข้อมูลการใช้งนระบบโปรแกรมจัดเก็บ บันทึกและประมวลผล ปี 2566 ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหา รวมทั้งตอบข้อชักถามที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการจัดเก็บข้อมูล ปี 2566 แก่เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนผู้รับผิดชอบระดับจังหวัด โดยกลุ่มเป้าหมายจำนวน 152 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชนหรือผู้แทน จำนวน 76 คน และนักวิชาการพัฒนาชุมชนผู้รับผิดชอบงาน จำนวน 76 คน ในวันที่ 24 สิงหาคม 2566 เวลา 09.00 - 12.00 น. ผ่านระบบวิดีทัศน์ทางไกล (Video Conference) ณ ศูนย์ข้อมูลกลางเพื่อการตัดสินใจ (War Room) โดยมีบริษัท วันโอวัน โกเบิล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผู้พัฒนาโปรแกรมจัดเก็บ บันทึกและประมวลผลข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ) และข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช. 2ค) เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้
ที่มา: กรมการพัฒนาชุมชน