ดังนั้น ผู้บริหาร ส.อ.ท. จึงเสนอขอให้รัฐบาลพิจารณามาตรการบรรเทาผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น เช่น ขอให้ธนาคารรัฐสนับสนุนมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้กับผู้ประกอบการ SMEs เพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการ มีการกำกับดูแลส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเงินฝากกับเงินกู้ (Spread) ให้ส่วนต่างลดลง รวมทั้งปรับเงื่อนไขการขอสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์เพื่อลดภาระและช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายยิ่งขึ้น และขอให้ ธปท. พิจารณาชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายออกไปก่อนในช่วงนี้
ด้านมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ระดับสูงและกดดันเศรษฐกิจไทยอยู่ในขณะนี้ ผู้บริหาร ส.อ.ท. เสนอให้รัฐบาลยกระดับปัญหาหนี้ครัวเรือนเป็นวาระเร่งด่วนที่จะต้องแก้ไขปัญหาทั้งระบบ ตั้งแต่การเข้ามาดูแลค่าครองชีพของประชาชน เช่น ค่าเดินทาง ค่าไฟฟ้า น้ำประปา ฯลฯ เพื่อลดภาระให้ประชาชนมีเงินเหลือใช้มากขึ้น การส่งเสริมให้เกิดการจ้างงาน สร้างอาชีพใหม่ๆ และเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุมีรายได้จากการทำงาน การออกมาตรการสร้างแรงจูงใจเชิงบวก (Incentives) ให้กับลูกหนี้ชั้นดี และส่งเสริมให้ประชาชนใช้มาตรการช่วยเหลือในการปรับโครงสร้างหนี้ ทั้งในส่วนของหนี้สถาบันการเงิน และหนี้นอกระบบ ซึ่งจะต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงการจัดสรรงบประมาณจากภาครัฐในการนำมาช่วยแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างครบวงจรต่อไป
จากการสำรวจผู้บริหาร ส.อ.ท. (CEO Survey) จำนวน 216 ท่าน ครอบคลุมผู้บริหารจาก 45 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 76 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด มีสรุปผลการสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 32 จำนวน 6 คำถาม ดังนี้
1. กรณี ธปท. ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% เป็น 2.25% ต่อปี ท่านมีความกังวลมากน้อยอย่างไร?
อันดับที่ 1 : มาก 60.2%
อันดับที่ 2 : ปานกลาง 33.3%
อันดับที่ 3 : น้อย 6.5%
2. ภาคอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยในเรื่องใด (Multiple choices)
อันดับที่ 1 : กำลังซื้อสินค้าของประชาชนลดลงจากภาระอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 64.8% และหนี้สินครัวเรือนที่ปรับตัวสูงขึ้น
อันดับที่ 2 : ทำให้เกิดแรงกดดันที่อาจทำให้การปรับราคาสินค้าเพิ่มตามต้นทุนจริง 62.0% ทำได้ยากขึ้น และส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
อันดับที่ 3 : ชะลอการลงทุนใหม่ และมีการปรับลดกำลังการผลิตลงจากต้นทุนทางการเงิน 56.5% ที่เพิ่มขึ้น
อันดับที่ 4 : สถาบันการเงินมีความเข้มงวดมากขึ้นในการปล่อยสินเชื่อให้กับภาคธุรกิจ 46.8%
3. ภาคอุตสาหกรรมมีแนวทางในการรับมืออัตราดอกเบี้ยขาขึ้นอย่างไร (Multiple choices)
อันดับที่ 1 : ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ 70.4%
อันดับที่ 2 : ชะลอการลงทุน ปรับการบริหารกระแสเงินสดใหม่เพื่อเพิ่มเงินทุนหมุนเวียน 67.1%
อันดับที่ 3 : ปรับโครงสร้างหนี้ให้อยู่ในระดับที่สอดคล้องกับความสามารถ 42.6% ในการดำเนินธุรกิจ
อันดับที่ 4 : หาแหล่งเงินทุนใหม่นอกเหนือจากการกู้เงินผ่านสถาบันการเงิน 31.5% เช่น การระดมทุน
4. ภาครัฐควรมีมาตรการ/นโยบาย เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการจากภาวะอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นอย่างไร (Multiple choices)
อันดับที่ 1 : ธนาคารรัฐสนับสนุนมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้กับผู้ประกอบการ SMEs 68.5%
อันดับที่ 2 : กำกับดูแลส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเงินฝากกับเงินกู้ (Spread) ให้ส่วนต่างลดลง 67.1% รวมทั้งปรับเงื่อนไขการขอสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ เพื่อลดภาระและช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น
อันดับที่ 3 : ธปท. ชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 58.8%
อันดับที่ 4 : ขยายระยะเวลามาตรการปรับโครงสร้างหนี้ (ฟ้า-ส้ม) ออกไปอีก 2 ปี 36.1%
5. ภาครัฐควรมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ระดับสูงอย่างไร (Multiple choices)
อันดับที่ 1 : มาตรการดูแลค่าครองชีพของประชาชน เช่น ค่าเดินทาง ค่าไฟฟ้า 67.6% น้ำประปา เป็นต้น
อันดับที่ 2 : ส่งเสริมให้เกิดการจ้างงาน สร้างอาชีพใหม่ๆ และเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุ 61.6% มีรายได้จากการทำงาน
อันดับที่ 3 : มาตรการสร้างแรงจูงใจเชิงบวก (Incentives) ให้กับลูกหนี้ชั้นดี 60.2% เช่น ลดอัตราดอกเบี้ย การให้สิทธิประโยชน์เพิ่ม เป็นต้น
อันดับที่ 4 : ส่งเสริมให้ประชาชนใช้มาตรการช่วยเหลือในการปรับโครงสร้างหนี้ 58.3% ทั้งในส่วนของหนี้สถาบันการเงิน และหนี้นอกระบบ
6. คาดการณ์แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ภายในสิ้นปี 2566 จะอยู่ที่ระดับใด
อันดับที่ 1 : 2.25% ต่อปี 37.5%
อันดับที่ 2 : 2.50% ต่อปี 32.4%
อันดับที่ 3 : 2.00% ต่อปี 30.1%
ที่มา: สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย