ฟูจิตสึและเฮกซากอน ร่วมพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลทวินช่วยคาดการณ์ภัยพิบัติและจัดการความปลอดภัยบนท้องถนน

ศุกร์ ๐๑ กันยายน ๒๐๒๓ ๑๒:๔๑
วันนี้ ฝ่ายความปลอดภัย โครงสร้างระบบ และพิกัดตำแหน่งภูมิศาสตร์ของเฮกซากอน (Hexagon) และฟูจิตสึ ลิมิเต็ด ประกาศความร่วมมือในการพัฒนาแอปพลิเคชันดิจิทัลทวิน (digital twin) หรือการจำลองวัตถุเสมือนจากวัตถุจริง เพื่อใช้คาดการณ์และบรรเทาภัยพิบัติทางธรรมชาติและอุบัติเหตุบนท้องถนน โซลูชันดังกล่าวสะท้อนถึงความพยายามอย่างต่อเนื่องของทั้งสองบริษัทในการแสวงหาแนวทางปกป้องและฟื้นฟูเมืองจากภัยพิบัติผ่านความร่วมมือทางธุรกิจตั้งแต่เมื่อเดือนมิถุนายน 2565  

ทั้งสองบริษัทได้พัฒนาโมเดลการคาดการณ์เพื่อบรรเทาภัยพิบัติโดยอาศัยการคำนวณขอบเขตและผลกระทบจากอุทกภัยโดยใช้ข้อมูลหยาดน้ำฟ้า สร้างภาพขอบเขตปัญหาอุทกภัย และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อคาดการณ์ความเสียหาย ทั้งนี้เพื่อให้เมืองต่างๆ สามารถจัดทำแผนรับมือภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลด้านต่างๆ

สำหรับความปลอดภัยบนท้องถนน บริษัททั้งสองได้มุ่งเป้าไปที่แอปพลิเคชันที่ใช้วิเคราะห์จุดเสี่ยงจากการจราจรที่คับคั่งและปัญหาการออกแบบถนนซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งเสนอแนวทางแก้ไข แอปพลิเคชันดังกล่าวจะช่วยให้หน่วยงานผังเมืองและฝ่ายดูแลท้องถนนสามารถพัฒนาเครือข่ายการคมนาคมขนส่งที่มีความปลอดภัยยิ่งขึ้น

ฟูจิตสึและเฮกซากอนจะเดินหน้าทดสอบในพื้นที่จริงกับลูกค้าฝ่ายบริหาร เทศบาล และภาคคมนาคมขนส่ง เพื่อช่วยสนับสนุนการตัดสินใจด้านการปรับปรุงสภาพแวดล้อมของเมือง ภายใต้เป้าหมายในการจัดทำโซลูชันให้ครอบคลุมทั่วโลกภายในปีงบการเงิน 2566 ซึ่งสิ้นสุดเดือนมีนาคม 2567

ข้อมูลพิกัดตำแหน่งและภาพบนพื้นที่ต่างๆ ทั้งด้านการแพทย์ การคมนาคมขนส่ง พลังงาน และสิ่งแวดล้อม ล้วนมีความสำคัญต่อการปกป้องผู้คนและโครงสร้างทางสังคมจากภัยคุกคาม ทั้งที่เกิดจากภัยธรรมชาติและอันตรายในด้านอื่นๆ ในโลกยุคที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดได้ทุกเวลา การใช้แพลตฟอร์มระบบคอมพิวเตอร์ในรูปแบบบริการ (Computing as a Service - CaaS) ที่มอบบริการที่ใช้งานง่ายและทรงพลังภายใต้ระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีซอฟต์แวร์สุดล้ำของฟูจิตสึ ควบคู่กับ M.App Enterprise จากเฮกซากอน ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันที่ให้พิกัดตำแหน่งภูมิศาสตร์แบบเรียลไทม์ ทำให้ทั้งสองบริษัทสามารถนำเสนอเทคโนโลยี 'การเตรียมความพร้อมทางดิจิทัล' (หมายเหตุ 1) เพื่อวิเคราะห์และตรวจสอบภัยพิบัติ โดยสามารถยกระดับการรับมือภัยต่างๆ ล่วงหน้าได้บนแบบจำลองวัตถุเสมือนจากวัตถุจริงหรือดิจิทัลทวิน ซึ่งจำลองสภาพแวดล้อมของโลกจริงได้อย่างละเอียดสมจริง

โซลูชันที่ทำงานผสานกันดังกล่าวใช้โมเดลการพยากรณ์อุทกภัยและข้อมูลหยาดน้ำฟ้าเพื่อใช้ในการคำนวณและสร้างภาพอุทกภัยที่ซับซ้อน ตลอดจนจัดการกับปัญหาความท้าทายและกรณีการใช้งานในด้านอื่นๆ ทั้งด้านการแพทย์ การเงิน ภาคสาธารณะ และอุตสาหกรรมการกระจายสินค้า ไม่ว่าจะเป็นการพยากรณ์ความเสียหายของโครงสร้างพื้นฐาน การสร้างแผนรับมือภัยพิบัติ และการประเมินมูลค่าความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยจัดการเรื่องเส้นทางอพยพที่ปลอดภัยและช่วยปกป้องโครงสร้างพื้นฐานในกรณีที่เกิดสภาพอากาศผิดปกติและภัยธรรมชาติ โดยอาศัยเซนเซอร์ IoT ที่ติดตามสภาพอากาศและบริการพยากรณ์อากาศในการตรวจสอบอุณหภูมิและปริมาณฝน

จากรายงานการศึกษาเมื่อปี 2565 โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า อุบัติเหตุบนท้องถนนทำให้ประชากรกว่า 50 ล้านคนได้รับบาดเจ็บรุนแรง และอีก 1.35 ล้านคนถึงขั้นเสียชีวิต อุบัติเหตุจำนวนมากเกิดขึ้นเพราะการใช้ความเร็วเกินกำหนด ป้ายสัญญาณจราจรที่ไม่เหมาะสม หรือเกิดจากสภาพถนน ดังนั้น เพื่อบรรเทาปัญหาดังกล่าว จึงจำเป็นต้องมีการสร้างภาพจำลองการเกิดอุบัติเหตุที่พบบ่อย วิเคราะห์ต้นตอปัญหา และนำเสนอแนวทางแก้ไข

โดยได้นำ M. App Enterprise ที่เป็นเครื่องมือสร้างภาพจำลองตามพิกัดตำแหน่งภูมิศาสตร์จากเฮกซากอนมาทำงานร่วมกับบริการด้านโครงสร้างพื้นฐานของฟูจิตสึ จนกลายเป็นแอปพลิเคชันที่ให้ภาพจำลองพื้นที่ซึ่งเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง สามารถวิเคราะห์ความคับคั่งของการจราจร การออกแบบถนน ป้ายจราจร ตลอดจนปัจจัยอื่นๆ และยังสามารถให้คำแนะนำในการลดอุบัติเหตุโดยอ้างอิงตามชุดเครื่องมือความปลอดภัยบนท้องถนน (หมายเหตุ 2) ของ International Road Assessment Program (iRAP) ได้ด้วย

เช่น ในจุดที่การจราจรไม่หนาแน่นแต่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ก็สามารถตรวจวัดปัจจัยอื่นๆ ที่อาจเกี่ยวข้อง ทั้งการควบคุมความเร็วในการขับขี่ การติดตั้งป้ายสัญญาณจราจร และการแยกช่องทางการสัญจรระหว่างคนเดินเท้าและรถยนต์โดยใช้ราวกั้น จากนั้นจึงนำเสนอเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาที่คุ้มค่า ข้อเสนอเหล่านี้เหมาะสำหรับนักผังเมือง ฝ่ายดูแลท้องถนน หน่วยงานรัฐในพื้นที่ และบริษัทที่ปรึกษา เพื่อช่วยลดอุบัติเหตุบนท้องถนนและสร้างชุมชนที่มั่นคงปลอดภัยได้ในที่สุด

มลาเดน สโตจิก ประธานดูแลภาครัฐ การคมนาคมขนส่ง การป้องกันประเทศ และการรักษาความปลอดภัย ของฝ่ายความปลอดภัย โครงสร้างระบบ และพิกัดตำแหน่งภูมิศาสตร์ของเฮกซากอนกล่าวว่า ความร่วมมือกับฟูจิตสึให้ประโยชน์แก่เมืองต่างๆ ตลอดมา

มลาเดน กล่าวว่า "เฮกซากอนภูมิใจที่ได้ร่วมงานกับฟูจิตสึในการมอบเครื่องมือที่ใช้กำหนดทิศทางในอนาคตให้แก่เมืองต่างๆ" พร้อมเสริมว่า "การติดตามและบรรเทาปัจจัยที่สร้างปัญหาต่อสังคมภายใต้ความร่วมมือของเรา ทั้งเรื่องมลพิษ การจราจรที่คับคั่ง ไปจนถึงปัญหาอุทกภัย จะช่วยให้ชุมชนเมืองมีความยั่งยืนและน่าอยู่ยิ่งขึ้น"

โยชินามิ ทาคาฮาชิ รองประธานบริหารอาวุโส หัวหน้าฝ่ายโซลูชันธุรกิจระดับโลกของฟูจิตสึ ลิมิเต็ด กล่าวว่า "เรามีความยินดีที่ได้แถลงความคืบหน้าในการร่วมมือกับเฮกซากอน ซึ่งถือเป็นก้าวที่สำคัญสู่สังคมที่วางใจได้ตามหลักการของ Fujitsu Uvance ของฟูจิตสึ บริการใหม่ดังกล่าวมุ่งส่งเสริม "การเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน" ในระดับโลก โดยผสานจุดแข็งของทั้งสองบริษัทเพื่อจัดการกับปัญหาสังคมที่ซับซ้อนและไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีการที่มีอยู่เดิม"

หมายเหตุ

[1] เทคโนโลยีการเตรียมความพร้อมทางดิจิทัล: เทคโนโลยีที่สามารถคาดการณ์ความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของผู้คนบนระบบดิจิทัลทวินหรือการจำลองจากวัตถุจริง และยืนยันผลกระทบและผลที่ตรวจวัดเป็นการล่วงหน้า

[2] ชุดเครื่องมือความปลอดภัยบนท้องถนน: การปรับปรุงการตรวจวัดเพื่อลดอุบัติเหตุบนท้องถนนดังที่นำเสนอใน International Road Assessment Program (iRAP)

คำมั่นของฟูจิตสึต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG)

สหประชาชาติประกาศใช้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) เมื่อปี 2558 ในฐานะเป้าหมายกลางที่ต้องบรรลุร่วมกันทั่วโลกภายในปี 2573เจตนารมณ์ของฟูจิตสึในการ "ทำให้โลกยั่งยืนยิ่งขึ้นด้วยการใช้นวัตกรรมสร้างสรรค์สังคมที่ไว้วางใจได้" ถือเป็นพันธสัญญาส่วนหนึ่งต่อวิสัยทัศน์ในการสร้างอนาคตที่ดียิ่งขึ้นด้วย SDG

เกี่ยวกับเฮกซากอน

เฮกซากอนเป็นผู้นำระดับโลกด้านโซลูชันระบบดิจิทัลเสมือนจริง ที่ผสานเทคโนโลยีด้านเซนเซอร์ ซอฟต์แวร์ และระบบอัตโนมัติเข้าด้วยกัน เรานำข้อมูลไปใช้งานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ผลิตภาพ คุณภาพ และความปลอดภัย ทั้งในภาคอุตสาหกรรม การผลิต โครงสร้างพื้นฐาน ภาครัฐ และแอปพลิเคชันโมบาย เทคโนโลยีของเราช่วยกำหนดทิศทางการผลิตและระบบอันสัมพันธ์กับผู้คนให้ทุกส่วนเชื่อมโยงถึงกันและทำงานโดยอัตโนมัติได้มากยิ่งขึ้น เพื่อรองรับการขยายตัวในอนาคตได้อย่างยั่งยืน 

ฝ่ายความปลอดภัย โครงสร้างระบบ และพิกัดตำแหน่งภูมิศาสตร์ของเฮกซากอนมีเป้าหมายในการยกระดับความยืดหยุ่นและความยั่งยืนให้แก่บริการและโครงสร้างพื้นฐานอันสำคัญของโลก โซลูชันของเราช่วยเปลี่ยนข้อมูลที่ซับซ้อนด้านผู้คน สถานที่ และสินทรัพย์ ให้กลายเป็นสารสนเทศที่มีประโยชน์ และสามารถใช้ในการตัดสินใจได้เร็วและดียิ่งขึ้น ทั้งในด้านความปลอดภัยสาธารณะ สาธารณูปโภค การป้องกันประเทศ การคมนาคมขนส่ง และรัฐบาล

เฮกซากอน (Nasdaq Stockholm: HEXA B) มีพนักงานราว 24,000 ในกว่า 50 ประเทศ และมียอดขายสุทธิประมาณ 5.2 พันล้านยูโร โปรดดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ hexagon.com และติดตามข่าวของเฮกซากอนได้ที่ @HexagonAB

เกี่ยวกับฟูจิตสึ

เป้าหมายของฟูจิตสึ คือ การทำให้โลกยั่งยืนยิ่งขึ้นด้วยการใช้นวัตกรรมสร้างสรรค์สังคมที่ไว้วางใจได้ พนักงานของฟูจิตสึกว่า 124,000 คน ทำงานร่วมกับลูกค้าในกว่า 100 ประเทศ ในฐานะพาร์ทเนอร์ด้านการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันที่ได้รับความไว้วางใจให้มีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาอันยิ่งใหญ่ที่มนุษยชาติต้องเผชิญหน้า บริการและโซลูชันเกี่ยวข้องกับ 5 เทคโนโลยีหลัก ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ เครือข่าย ปัญญาประดิษฐ์ ข้อมูลและความปลอดภัย และการผสมผสานเทคโนโลยี ที่เรานำทุกด้านมารวมกันเพื่อผลักดันให้การเปลี่ยนผ่านเป็นไปอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ฟูจิตสึ ลิมิเต็ด (TSE:6702) แจ้งรายได้รวมประจำปีงบการเงินสิ้นสุด ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566 ไว้ที่ 3.7 ล้านล้านเยน (28,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และเป็นบริษัทผู้ให้บริการด้านดิจิทัลลำดับต้นในญี่ปุ่นอ้างอิงตามส่วนแบ่งทางการตลาด โปรดดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.fujitsu.com

ที่มา: PRcious Communications

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ