วศ.อว. เดินหน้าพัฒนาพื้นที่ภาคกลาง มุ่งสู่การยกระดับโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ (NQI) อย่างเป็นระบบ

ศุกร์ ๐๑ กันยายน ๒๐๒๓ ๑๕:๓๖
กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว) จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง โครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ (NQI) กับการพัฒนาเชิงพื้นที่ : ภาคกลาง โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ภูวดี ตู้จินดา ผู้อำนวยการกองพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ เป็นประธานเปิดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง โครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ (NQI) กับการพัฒนาเชิงพื้นที่ : ภาคกลาง ณ ห้องประชุม Jubilee Ballroom โรงแรม The Berkeley Pratunam กรุงเทพมหานคร

กิจกรรมภายในงานฯ มีการบรรยายในหัวข้อ "แนวทางการขับเคลื่อน NQI กับการพัฒนาเชิงพื้นที่ : ภาคกลาง" โดยนางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม อดีตอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ การเสวนาระหว่างผู้บริหารหน่วยงานเครือข่าย หัวข้อ "การพัฒนาหน่วยตรวจสอบและรับรอง (CAB) เพื่อรองรับการพัฒนาเชิงพื้นที่ : ภาคกลาง" โดย รศ.ดร.ศรีเพ็ญ ศุภพิทยากุล ผู้อำนวยการเครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา ภาคกลางตอนบน ผศ.ดร.ระวิวรรณ์ เจริญทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมสมุนไพรครบวงจร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และ ดร.ภูวดี ตู้จินดา ผู้อำนวยการกองพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์แนวทางการพัฒนาหน่วยตรวจสอบและรับรองของสถานบันอุดมศึกษาและประโยชน์ที่ได้รับจากการพัฒนาห้องปฏิบัติการสู่มาตรฐานสากล

ด้าน ดร.ภูวดี ตู้จินดา ผู้อำนวยการกองพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ เปิดเผยว่า การจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ครั้งนี้ เป็นกิจกรรมภายใต้โครงการ "การพัฒนาหน่วยทดสอบในประเทศให้มีมาตรฐานเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่" ซึ่ง วศ. ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เพื่อยกระดับและพัฒนาหน่วยตรวจสอบและรับรอง (Conformity Assessment Body : CAB) ของสถาบันการศึกษาในพื้นที่อย่างเป็นระบบ รวมถึงยกระดับและเพิ่มมูลค่า วัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมที่มีเอกลักษณ์และเป็นอัตลักษณ์ผ่านการวิจัยร่วมกันอย่างบูรณาการโดยใช้เครือข่ายความรู้และบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมจากส่วนกลางและภูมิภาค เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่เหมาะสมต่อความต้องการของพื้นที่ส่งผลให้สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและการบริการ ทำให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพได้มาตรฐาน และมีความปลอดภัย สามารถใช้อุปโภคและบริโภคในประเทศอย่างเพียงพอ และสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลกอย่างยั่งยืน

นอกจากนี้ ยังจัดกิจกรรม Workshop แบ่งกลุ่มขับเคลื่อน NQI ในอุตสาหกรรมเป้าหมายของภาคกลาง ในหัวข้อ ผลิตภัณฑ์อาหาร ยาและสมุนไพร การทดสอบทางด้านเคมี และทางด้านฟิสิกส์ โดย ทีมนักวิทยาศาสตร์ วศ. ร่วมเป็นวิทยากรและเก็บข้อมูล โดยมีผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและสถาบันอุดมศึกษาเข้าร่วมเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศในพื้นที่ต่อไป ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการการพัฒนาหน่วยทดสอบในประเทศให้มีมาตรฐานเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ ติดต่อสอบถามได้ที่ www.dss.go.th และโทรศัพท์ 0 2201-7439 และ 0 2201-7495

ที่มา: โฟร์ฮันเดรท

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ