"จีไอพี" เปิดตัว "อาเซียน แชปเตอร์" วิสัยทัศน์ประจำปี 2569 พร้อมคณะทำงานชุดใหม่ ในการประชุมแนวทางการลงทุนสีเขียวตามแนวเส้นทางสายไหมครั้งที่ 5

ศุกร์ ๐๘ กันยายน ๒๐๒๓ ๐๙:๓๒
การประชุมเต็มคณะของโครงการแนวทางการลงทุนสีเขียว (Green Investment Principles หรือ GIP) ตามแนวเส้นทางสายไหม ครั้งที่ 5 ได้มีขึ้นที่กรุงปักกิ่ง โดยมีผู้แทนกว่า 100 คนจากสถาบันสมาชิกกว่า 50 แห่งครอบคลุมทั้งในเอเชีย ยุโรป สหราชอาณาจักร และแอฟริกา ที่มาเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้

เพื่อให้สอดรับกับกระแสการเงินยั่งยืนซึ่งกำลังเป็นที่นิยมทั่วโลก จีไอพีได้ปรับโฉมกลยุทธ์ระยะกลางใหม่ พร้อมประกาศวิสัยทัศน์ประจำปี 2569/2573 โดยมีเสาหลักคือ "การเปลี่ยนผ่าน" วิสัยทัศน์ใหม่นี้ได้ขยับเป้าหมายและความคาดหวังสำหรับการดำเนินการเกี่ยวกับการวิเคราะห์ความเสี่ยง การเปิดเผยข้อมูล และการลงทุนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

สำหรับวิสัยทัศน์ใหม่นี้ จีไอพีตั้งเป้าที่จะยกระดับให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนภายใต้ข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative หรือ BRI) เข้ามามีส่วนร่วมกับทางโครงการมากขึ้นเพื่อขยายการลงทุนสีเขียว โดยอาศัยสำนักงานประจำภูมิภาคทั้งในเอเชียกลาง แอฟริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในโอกาสนี้ จึงได้ประกาศเปิดตัวจีไอพี อาเซียน แชปเตอร์ (GIP ASEAN Chapter) ในฐานะสำนักงานประจำภูมิภาคแห่งที่ 3 โดยมีดร. มารี ปันเกสตู (Mari Pangestu) อดีตกรรมการผู้จัดการธนาคารโลก และริโน โดโนเซโปเอโตร (Rino Donosepoetro) หรือดอนนี (Donny) รองประธานประจำอาเซียน และประธานกรรมาธิการประจำอินโดนีเซียของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด นั่งเก้าอี้ประธานร่วมกัน

ดร. มารี ขานรับการก่อตั้งจีไอพี อาเซียน แชปเตอร์ ในฐานะแพลตฟอร์มเพื่อการแลกเปลี่ยนแนวคิดและประสบการณ์ระหว่างคณะผู้กำหนดนโยบาย สถาบันการเงิน (FI) และองค์กรต่าง ๆ โดยหน้าที่หลักของจีไอพี อาเซียน แชปเตอร์ นั้นครอบคลุมถึงประเด็นการเงินเพื่อการเปลี่ยนผ่าน (transition finance) เพื่อเอื้อให้เกิดการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานที่ยุติธรรมและมีราคาเอื้อมถึงได้

สำหรับดอนนี เขาหวังว่าจีไอพี อาเซียน แชปเตอร์ จะทำหน้าที่เสมือน "ตัวเชื่อมต่อสำคัญ" สำหรับบริษัท นักลงทุน และภาครัฐ พร้อมเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับความยั่งยืน และเร่งขับเคลื่อนเงินทุนสีเขียว

นอกจากนี้ ภายในการประชุมยังได้มีการประกาศคณะทำงานด้านการเงินเพื่อการเปลี่ยนผ่านชุดใหม่ นำโดยธนาคารบีโอซี (BOC) และธนาคารดีบีเอส (DBS) เพื่อผลักดันให้วิสัยทัศน์ที่ตั้งเป้าหมายไว้เดินหน้าไปด้วยดี พร้อมเสริมสร้างขีดความสามารถให้มากขึ้น คณะทำงานชุดนี้มุ่งหวังที่จะช่วยเหลือสมาชิกและลูกค้าในด้านการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำ โดยจะมีการกำหนดและดำเนินการตามแผนการที่วางเอาไว้ รวมถึงสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ขณะที่สมาชิกของจีไอพีก็ได้แสดงให้เห็นถึงความกระตือรือร้นอย่างมากในการอภิปรายแบบกลุ่ม ในโอกาสนี้ จอร์จ หวัง (George Wang) รองประธานอาวุโสของธนาคารดีบีเอส กล่าวว่า "การเปลี่ยนผ่านเป็นส่วนสำคัญที่สุดของธุรกิจในอนาคตของเรา"

ดร. หม่า จุน (Ma Jun) ประธานร่วมของจีไอพี และประธานคณะกรรมการการเงินสีเขียวแห่งประเทศจีน กล่าวถึงเทรนด์ด้านการเงินยั่งยืนที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก ซึ่งครอบคลุมถึงกรอบการทำงานด้านการเงินเพื่อการเปลี่ยนผ่านของกลุ่มประเทศ G20 ไปจนถึงมาตรฐาน ISSB และความสนใจของนักลงทุนในด้านสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพที่เพิ่มมากขึ้น โดยดร. หม่า กล่าวว่า  "จีไอพีจะผสานรวมเทรนด์เหล่านี้เข้ากับความพยายามในการเสริมสร้างขีดความสามารถผ่านคณะทำงานของเราและแชปเตอร์ต่าง ๆ"

เซอร์ วิลเลียม รัสเซลล์ (Sir William Russell) ประธานร่วมของจีไอพี และอดีตนายกเทศมนตรีแห่งกรุงลอนดอน กล่าวเน้นย้ำถึงความสำคัญของการเปลี่ยนผ่านในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (EM) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ซึ่งความสามารถดังกล่าวมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเปลี่ยนแปลงในภายภาคหน้า โดยกล่าวว่า "จีไอพีแสดงให้เห็นถึงวิธีการสร้างขีดความสามารถในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่และเศรษฐกิจกำลังพัฒนา"

จิน จงเซีย (JIN Zhongxia) หัวหน้าฝ่ายต่างประเทศของธนาคารกลางจีน (PBOC) กล่าวยกย่องบทบาทสำคัญของจีไอพีในฐานะแพลตฟอร์มระดับโลกที่มีการดำเนินการอย่างจริงจัง โดยเขาคาดหวังให้จีไอพีทำงานใน 3 ด้านด้วยกัน ได้แก่ การสนับสนุนกิจกรรมสีเขียว การอำนวยความสะดวกด้านการเปลี่ยนผ่าน และการยกระดับขีดความสามารถ

ราหุล อะห์ลุวาเลีย (Rahul Ahluwalia) รองกรรมาธิการการค้าแห่งสถานทูตอังกฤษประจำกรุงปักกิ่ง กล่าวถึงการดำเนินการที่สำคัญของจีนในการรับมือกับภาวะโลกรวน และโอกาสมหาศาลในการกระชับความร่วมมือระหว่างจีนและสหราชอาณาจักรในด้านการเงินยั่งยืน

ขณะเดียวกัน การประชุมครั้งนี้ยังได้มีการเปิดตัวหนังสือของจีไอพี ซึ่งรวบรวมแนวปฏิบัติที่ดีในด้านการลงทุนสีเขียวตามแนวเส้นทางสายไหม และการนำหลักการของจีไอพีไปใช้ให้เกิดประโยชน์

นอกจากนี้ สำนักเลขาธิการยังได้ประกาศรายชื่อผู้ชนะรางวัลจีไอพี อวอร์ดส์ (GIP Awards) ประจำปี 2566 เพื่อเป็นการยกย่องแด่สมาชิกที่นำหลักการของจีไอพีและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ไปปรับใช้ได้อย่างดีเยี่ยม

ติดต่อ
อีเมล: [email protected] 



ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ