สถาบันไทยศึกษา จุฬาฯ กับรางวัลอนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น ประจำปี 2566

จันทร์ ๑๑ กันยายน ๒๐๒๓ ๑๑:๓๑
สถานไทยศึกษา จุฬาฯ คว้ารางวัลหน่วยงานอนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น ประจำปี 2566 ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้กับผู้ที่สั่งสมการทำงานด้านศิลปวัฒนธรรมไทย การอนุรักษ์มรดกไทยมาเป็นระยะเวลายาวนาน โดยมีผู้ที่ได้รับรางวัลประเภทรายบุคคลจำนวน 26 คน และประเภทหน่วยงานเพียงแค่ 1 หน่วยงานก็คือสถาบันไทยศึกษา จุฬาฯ การมอบรางวัลในครั้งนี้จัดโดยกรมศิลปากรเนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทยซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี 2 เมษายน

รศ.ฤทธิรงค์ จิวากานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันไทยศึกษา จุฬาฯ เปิดเผยว่า สถาบันไทยศึกษาได้ดำเนินงานด้านการอนุรักษ์มกรดกไทย มาเป็นเวลากว่า 30 - 40 ปีแล้ว โดยอาจารย์ผู้ใหญ่ในอดีตผู้สร้างและสั่งสมสิ่งเหล่านมาป็นเวลานานจนเป็นที่รู้จักของคนในวงการว่าสถาบันเป็นแหล่งข้อมูลในด้านศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลายครบถ้วน จนมาถึงปัจจุบันที่เราต้องเริ่มเข้าไปทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรมมากขึ้น ซึ่งตรงนี้ทำให้มีความโดดเด่นและแตกต่างจากที่อื่นคือเราไม่ได้นำองค์ความรู้นั้นเก็บรักษาเอาไว้เฉยๆ แต่เราพยายามจะเอาไปใช้ไปประโยชน์ให้ได้มากขึ้น ซึ่งตอนนี้มีโครงการที่เห็นชัดเจนคือการสำรวจเก็บข้อมูลของวัดอรุณ โดยเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างนักวิจัยของสถาบันไทยศึกษากับนักวิจัยของกรมศิลปากร และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อนำข้อมูลองค์ความรู้ของวัดอรุณในส่วนที่เป็นพื้นที่ปิดไม่ได้ให้คนภายนอกเข้าไปเห็นได้ มาเผยแพร่ให้กับคนภายนอกได้เห็นเป็นรูปแบบของ VR ซึ่งสิ่งนี้นับว่าเป็นประโยชน์กับการท่องเที่ยวของบ้านเราเป็นอย่างยิ่ง

บทบาท ภารกิจของสถาบันไทยศึกษา

สถาบันไทยศึกษาพยายามที่จะพัฒนาบทบาทการทำงานของสถาบันให้ครบวงจรทั้งหมด โดยเริ่มตั้งแต่ที่สถาบันไทยศึกษามีทุนทางวัฒนธรรมที่ดีมากทั้งในส่วนของข้อมูล องค์ความรู้โดยเฉพาะงานด้านศิลปวัฒนธรรม นาฏยศิลป์ไทย ภาษาวัฒนธรรม วรรณคดี ประเพณี โดยต้นทุนที่มีอยู่ทั้งหมดนี้นักวิจัยของสถาบันก็ทำหน้าที่ลงพื้นที่ศึกษาวิจัยในสิ่งที่แต่ะละคนชอบและสนใจเพื่อให้ได้ผลลัพท์ของานวิจัยที่ตอบโจทย์ความต้องการของสังคม จากนั้นก็จะทำการเผยแพร่ออกไปข้างนอกเพื่อให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด

นอกจากนี้สถาบันไทยศึกษา จุฬาฯ ยังได้เข้าไปมีมีส่วนช่วยกระทรวงต่างๆ ที่ต้องการองค์ความรู้ด้านนี้เพื่อที่จะนำไปวางนโยบายให้กับประเทศชาติ ซึ่งงานที่ผ่านมาก็ได้เข้าไปทำงานกับกระทรวงวัฒนธรรมในการพัฒนาอุตสาหกรรมผ้าไทย และที่กำลังทำอยู่ในตอนนี้คือพยายายช่วยกระทรวงวัฒนธรรมในการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเพื่อให้เข้าไปอยู่ในการประเมินขององค์การยูเนสโก ในการขณะเดียวกันก็พยายามสร้างบรรยากาศการทำงานในรูปแบบเครือข่ายนักวิจัยซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก โดยเฉพาะการจัดประชุมวิชาการมันคือการรวมตัวกันของนักวิจัยวิชาการในการสร้างบรรยายกาศให้เกิดการทำงานร่วมกัน เกิดการสร้างงานใหม่ รวมถึงเกิดการช่วยเหลือกันในวงวิจัยตลอดเวลา นอกจากนี้การจัดทำวารสารก็เป็นส่วนหนึ่งในการเผยแพร่ข่าวสาร ซึ่งวารสารที่ทางสถาบันจัดทำนั้นมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยในส่วนของภาษาอังกฤษเราเป็นที่เดียวในประเทศที่เป็นวารสารไทยศึกษาเป็นภาษาอังกฤษที่เป็นที่รู้จักทั่วโลก

ช่องทางในการเข้าถึงสถาบันไทยศึกษา

รศ.ฤทธิรงค์ กล่าวว่า สถาบันไทยศึกษามี platform ให้ผู้สนใจเข้าถึงได้หลากหลายช่องทาง ประกอบด้วย

  1. facebook เป็นช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร เกร็ดความรู้ทางด้านไทยศึกษา รวมถึงความเคลื่อนไหวของวงการด้านไทยศึกษาเกี่ยวกับการจัดประชุมวิชาการ
  2. Website สามารถเข้าไปดูบทความทางวิชาการด้านไทยศึกษาได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมทั้งเนื้อหาที่เป็นE-book หนังสือหายากทั้งหลายก็รวมอยู่ในนี้ทั้งหมดเลย
  3. Youtube สามารถเข้าไปรับชมการประชุมวิชาการที่ผ่านมาทั้งหมดของสถาบันไทยศึกษาได้ และยังองค์ความรู้มหัศจรรย์มากมายรวมอยู่ในช่องทางนี้อีกด้วย
  4. วารสาร เป็นพื้นที่สำหรับนักวิจัยที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเพื่อเป็นช่องทางในการพัฒนาตนเอง

แผนการดำเนินงานต่อไปในอนาคต

สำหรับแผนการดำเนินงานต่อไปของสถาบันไทยศึกษา รศ.ฤทธิรงค์ กล่าวว่า ขณะนี้เราพยายามผลักดันในสถาบันเข้าไปอยู่ใน platform ระดับนานาชาติให้มากขึ้น โดยเฉพาะประเด็นทางด้านไทยศึกษาที่เป็นที่สนใจของคนทั่วโลก เรากำลังก่อตั้งสมาพันธ์นักวิจัยที่อยู่ในเอเชียทั้งหมดให้มารวมกัน เพื่อสร้างตัวกลางแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และอีกอันที่กำลังจะดำเนินการคือจัดตั้งสมาคมพุทธศาสน์ศึกษานานาชาติ ในขณะเดียวกันก็พยายามที่จะสร้างบทบาทของสถาบันให้เข้าไปในสังคมมากขึ้น โดยนำงานวิจัยออกมาสื่อสารกับคนทั่วไปให้มีความเข้าใจในรูปแบบที่ง่ายๆ อีกทั้งจะพยายามสร้างบทบาทให้เห็นว่าสาขาวิชาด้านไทยศึกษานี้สามารถเป็นผู้สร้างเนื้อหาแล้วนำไปเชื่อมโยงกับศาสตร์หรือสาขาวิชาอื่นๆ เพื่อนำไปยอดองค์ความรู้เผยแพร่ออกไปสู่สาธารณชนในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง

ที่มา: ศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาฯ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม