อีริคสัน (NASDAQ: ERIC) เปิดงาน Imagine Live Thailand 2023 นำยูสเคสและนวัตกรรมเทคโนโลยี 5G ขั้นสูง ที่เปิดตัวในงาน Mobile World Congress ณ เมืองบาร์เซโลน่า ประเทศสเปน ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ มาจัดแสดงในประเทศไทย โดยมีเทคโนโลยีและโซลูชันไฮไลท์ล่าสุด ประกอบด้วย โซลูชันสื่อสารวิทยุประหยัดพลังงาน (Energy Efficient Radio Solutions), การสื่อสารผ่านโฮโลแกรม (Holographic Communications), เทคโนโลยี Digital Twin และระบบเครือข่ายอัตโนมัติ (Network Automation) รวมถึงเทคโนโลยีอื่น ๆ อีกมากมายที่นำมาจัดแสดงไว้ภายในงาน
หนึ่งในไฮไลท์ที่นำมาจัดแสดง คือ ผลิตภัณฑ์ Radio 4466 ที่สามารถรองรับย่านความถี่ 1800MHz, 2100MHz และ 2300MHz ที่มีในประเทศไทย โดยผลิตภัณฑ์นี้เป็น Triple-Band Radio 4466 รุ่นล่าสุดของอีริคสัน ที่มีความสามารถเสริมศักยภาพการให้บริการ 4G และ 5G ข้ามย่านความถี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยผลิตภัณฑ์เดียวแก่ผู้ให้บริการไทย และยังช่วยประหยัดพลังงาน ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน รวมถึงจำนวนสถานีฐาน ซึ่ง Radio 4466 ยังอยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ Ericsson Radio Access Network ที่สามารถจัดการความท้าทายในการติดตั้งสถานีฐานพร้อมช่วยประหยัดพลังงานเป็นอย่างมาก
ในฐานะพันธมิตรที่เชื่อถือได้ในประเทศไทย อีริคสันมุ่งนำเสนอความเชี่ยวชาญระดับโลกและความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนลูกค้าในประเทศไทยให้ก้าวไปสู่ผู้นำ 5G ชั้นแนวหน้า มร.อิกอร์ มอเรล ประธาน บริษัท อีริคสัน ประเทศไทย กล่าวว่า "การสร้างเครือข่าย 5G ประสิทธิภาพสูงและเน้นการประหยัดพลังงานเป็นหนึ่งในวิสัยทัศน์สำคัญของเราที่ต้องการสร้างเครือข่ายในอนาคตที่มีความยืดหยุ่นและยั่งยืน ด้วยพอร์ตโฟลิโอการใช้ 5G ที่เพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงานของอีริคสัน เรากำลังจัดการกับหนึ่งในความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของเรา นั่นคือการลดการใช้พลังงานของเครือข่ายและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในขณะที่การใช้งาน 5G มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น เป้าหมายของเราคือการไปสู่อนาคตคาร์บอนต่ำพร้อมกับการเร่งประสบการณ์ 5G" อีริคสันลงทุนกับการวิจัยและพัฒนาปีละประมาณ 4.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 18% ของยอดขาย
ประเทศไทยคือผู้นำคลื่น 5G อย่างชัดเจน จากการคาดการณ์ของอีริคสันระบุ ช่วงสิ้นปี 2565 พบว่า 5G ครอบคลุมมากกว่า 85% ของประชากรทั้งหมด ขณะที่ปริมาณการใช้ข้อมูลต่อการสมัครสมาชิกในประเทศไทยคาดว่าภายในปี 2568 จะเติบโตเพิ่มเป็นเกือบ 80 กิกะไบต์ต่อเดือน เพิ่มจาก 32.7 กิกะไบต์ต่อเดือน ในปี 2565 และคาดว่าในปี 2571 จะเพิ่มขึ้น 3 เท่า โดยคาดว่า 5G จะสามารถรองรับความต้องการประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นของเครือข่ายได้
"ประเทศไทยเป็นตลาดที่มีความไดนามิกสูง และมีผู้บริโภคที่เข้าใจเทคโนโลยีสารสนเทศและใช้งานมากที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง นอกจากนี้ด้วยอัตราการเติบโตของอุตสาหกรรม 4.0 ในประเทศตามเป้าหมาย Digital Thailand ของรัฐบาล ทำให้การเชื่อมต่อต้องมีความมั่นใจได้ ปลอดภัยและแข็งแกร่ง โดยความซับซ้อนที่เครือข่ายจำเป็นต้องจัดการทำให้เกิดความต้องการใหม่ ๆ ในการดำเนินงานของเครือข่าย การดึงศักยภาพจากเทคโนโลยี อย่างเช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และแมชชีนเลิร์นนิ่ง (ML) มาปรับใช้จะช่วยผู้ให้บริการด้านการสื่อสารในประเทศไทยสามารถจัดการความซับซ้อนของเครือข่ายที่กำลังเติบโตได้ ตามที่เราเห็นการพัฒนาแอปพลิเคชันใหม่ ๆ บนเครือข่าย 5G" มร.อิกอร์ กล่าวเพิ่มเติม
แนวทาง Zero-Touch Operation กำลังกลายเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยอำนวยความสะดวกและรักษาความปลอดภัยของอนาคตการดำเนินงานบนเครือข่ายที่ต้องมีความน่าเชื่อถือและมีประสิทธิภาพ ซึ่ง Zero-Touch ช่วยผู้ให้บริการสามารถจัดการเครือข่ายโดยใช้ข้อมูลเป็นตัวขับเคลื่อน คาดการณ์ล่วงหน้าและดำเนินการแบบเชิงรุกได้มากขึ้น โดยระบบเครือข่ายอัตโนมัติยังช่วยลดกิจกรรมที่ต้องดำเนินการด้วยตนเองลง และทำให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือมีความคล่องตัวในการทำธุรกิจมากขึ้น
ในฐานะผู้นำด้านไอซีทีระดับโลก อีริคสันกำลังใช้ศักยภาพจากบริการบรอดแบนด์มือถือขั้นสูง เทคโนโลยี Fixed Wireless Access (FWA) และเทคโนโลยี 5G มารองรับการเติบโตโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของประเทศไทย "เรากำลังใช้ศักยภาพทั้งในด้านความเชี่ยวชาญระดับโลกและความเป็นผู้นำเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนลูกค้าในประเทศไทย ก้าวไปเป็นผู้นำแถวหน้า 5G ผ่านความร่วมมือในภาคอุตสาหกรรมและพันธมิตรของเราในประเทศไทย และเรายังมุ่งมั่นเร่งสร้างนวัตกรรมและระบบนิเวศ 5G ที่แข็งแกร่งในประเทศไทย" มร.อิกอร์ กล่าวเพิ่ม
อีริคสันเป็นผู้นำเครือข่าย 5G ระดับโลก ปัจจุบัน บริษัทฯ เปิดให้บริการเครือข่าย 5G ไปแล้วจำนวน 152 เครือข่าย ใน 65 ประเทศ บริษัทฯ ยังได้รับการจัดอันดับเป็นผู้นำอันดับ 1 ในรายงาน Frost Radar(TM) 5G Network Infrastructure Market 2023 เป็นปีที่สามติดต่อกัน แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำ 5G Radio Access Networks (RAN), Transport networks, และ Core Networks
ที่มา: เอฟเอคิว