กรมวิชาการเกษตร โชว์มันเทศพันธุ์ใหม่ "กวก. พิจิตร 3" ผลผลิตสูง หัวใหญ่ตอบโจทย์ตลาด รสชาติถูกใจผู้บริโภค

พฤหัส ๑๔ กันยายน ๒๐๒๓ ๑๓:๔๔
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า มันเทศเป็นพืชอาหารและพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญชนิดหนึ่งของโลก ผลผลิตส่วนใหญ่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตแป้ง อีกทั้งใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอลโดยผลผลิตมันเทศ 1 ตันสามารถผลิตเอทานอลได้ 160-170 ลิตร อย่างไรก็ตามปัจจุบันประเทศไทยผลิตมันเทศในสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกับประเทศผู้ผลิตรายอื่นโดยการปลูกมันเทศของไทยส่วนใหญ่นิยมปลูกเป็นพืชรองเสริมกับพืชหลักเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร เป็นพืชอายุสั้นให้ผลตอบแทนเร็ว ในบางช่วงถ้าราคาสูงอาจให้ผลตอบแทนสูงกว่าพืชหลัก

แหล่งปลูกมันเทศที่สำคัญของไทยพื้นที่ปลูกส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออก เกษตรกรนิยมปลูกหลากหลายสายพันธุ์ ซึ่งพันธุ์เหล่านี้มีคุณภาพการบริโภคหรือประกอบอาหารรสชาติดีตรงกับความต้องการของผู้บริโภค แต่ให้ผลผลิตต่ำ ดังนั้น เพื่อให้ได้พันธุ์มันเทศสำหรับบริโภคสดพันธุ์ใหม่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร กรมวิชาการเกษตร จึงได้ทำการปรับปรุงพันธุ์มันเทศ โดยการผสมข้ามมันเทศพันธุ์ดีจากแปลงรวบรวมพันธุ์ และคัดเลือกมันเทศเพื่อการบริโภคสด ที่ให้ผลผลิตสูง หัวมีคุณภาพดีตรงกับความต้องการของตลาด พร้อมกับปรับตัวได้ดีกับสภาพพื้นที่สำหรับแนะนำส่งเสริมและกระจายพันธุ์มันเทศพันธุ์ดีให้เกษตรกรปลูกเป็นการค้า โดยเริ่มดำเนินการวิจัยปรับปรุงพันธุ์ในปี 2554 และเสนอพิจารณาเป็นพันธุ์แนะนำในปี 2566 ผ่านการพิจารณาจากคณะอนุกรรมการวิจัยปรับปรุงพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตรวันที่ 8 สิงหาคม 2566 ใช้ชื่อพันธุ์มันเทศพันธุ์ใหม่ว่า "กวก. พิจิตร 3"

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า มันเทศพันธุ์ กวก. พิจิตร 3 ได้จากการผสมเปิดของมันเทศพันธุ์ พจ.166-5 ในปี 2554 ทำการผสมพันธุ์มันเทศ ใช้พันธุ์มันเทศเนื้อสีขาวสำหรับเป็นพ่อแม่พันธุ์ 9 พันธุ์ ปี 2556 ทำการเปรียบเทียบพันธุ์เบื้องต้น ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร ปี 2557-2558 เปรียบเทียบพันธุ์ในศูนย์/สถานี มีสายต้นคัดเลือก 8 สายต้น ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาญจนบุรี และศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ปี 2559-2560 ปลูกทดสอบในแปลงเกษตรกรจังหวัดพิจิตร จำนวน 6 แปลง จนได้มันเทศพันธุ์ใหม่ที่มีคุณสมบัติตามวัตถุประสงค์การปรับปรุงพันธุ์

มันเทศพันธุ์ กวก. พิจิตร 3 มีลักษณะเด่น ให้ผลผลิตเฉลี่ย 3,282 กิโลกรัมต่อไร่ มากกว่าพันธุ์ท้องถิ่น (มันกระต่าย) ซึ่งให้ผลผลิตเฉลี่ย 2,676 กิโลกรัมต่อไร่ หรือมากกว่าร้อยละ 22.6 มีปริมาณขนาดหัวที่ตลาดต้องการ โดยมันเทศสำหรับตลาดต้องการ ต้องมีขนาดกลาง (M) ถึงขนาดใหญ่ (L) (เส้นผ่านศูนย์กลางหัวมากกว่า 2.50 เซนติเมตร) ลงหัวดกสม่ำเสมอ เนื้ออ่อนนุ่ม รสชาติหวานปานกลาง

มันเทศพันธุ์กวก. พิจิตร 3 หากปลูกในช่วงปลายฤดูฝนจะเป็นช่วงที่เหมาะสมที่สุด (กันยายน-พฤศจิกายน) มันเทศจะให้ผลผลิต และคุณภาพการบริโภคทั้งลักษณะเนื้อ และรสชาติดีกว่าฤดูปลูกอื่น และเนื่องจากมันเทศพันธุ์ กวก. พิจิตร 3 มีลักษณะหัวยาว ลงหัวลึก ดังนั้นการเตรียมแปลงปลูกควรยกร่องสูงไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร ปัจจุบันมีแปลงแม่พันธุ์พร้อมที่จะขยายยอดพันธุ์ต่อได้ตลอด โดยในปี 2566 สามารถผลิตยอดพันธุ์ 30,000 ยอด ปลูกได้จำนวน 6 ไร่ เกษตรกรที่สนใจสามารถติดต่อขอรับพันธุ์ได้ด้วยตนเองที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร กำหนดรับพันธุ์สัปดาห์ละ 1 รอบ (วันพฤหัสบดี) โดยติดต่อลงรายชื่อเพื่อขอรับพันธุ์ได้ที่ น.ส.สุพัตรา ผาคำ โทรศัพท์ 089-0733882 ในวันและเวลาราชการ

ที่มา: กรมวิชาการเกษตร

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ