ผลวิจัยตลาดโซลาร์เซลล์เผย โมดูล 210 มม. มียอดจัดส่งสะสมแตะ 150 กิกะวัตต์ ครึ่งหนึ่งเป็นของทรินา โซลาร์

ศุกร์ ๑๕ กันยายน ๒๐๒๓ ๑๐:๔๕
รายงานจากเทรนด์ฟอร์ซ (TrendForce)

เทรนด์ฟอร์ซ ผู้ให้บริการข้อมูลด้านการตลาดระดับโลก เปิดเผยว่า โมดูล 210 มม. มียอดจัดส่งสะสมแตะระดับ 150 กิกะวัตต์ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน โดยครึ่งหนึ่งจากทั้งหมดเป็นโมดูล 210 มม.ของบริษัท ทรินา โซลาร์ (Trina Solar)

เทรนด์ฟอร์ซยังคาดการณ์ด้วยว่า ภายในสิ้นปีนี้ โมดูล 210 มม.จะมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นแตะ 722 กิกะวัตต์ คิดเป็น 69.83% ของกำลังการผลิตโมดูลทั้งหมด ซึ่งกำลังการผลิตและยอดจัดส่งที่เพิ่มขึ้นนี้ แสดงให้เห็นว่าโมดูลขนาดใหญ่ที่มีกำลังการผลิตไฟฟ้าสูงกำลังขับเคลื่อนการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าทั้งหมดอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ โมดูลชนิดเอ็นไทป์ (n-type) ขนาด 210 มม. ยังมีกำลังการผลิตไฟฟ้าเกิน 700 วัตต์แล้ว ซึ่งตอกย้ำถึงความเปิดกว้างและนวัตกรรมของเทคโนโลยีโมดูล 210 มม.

กำลังการผลิตเวเฟอร์ 210 มม. พุ่งขึ้น 89.3% เมื่อเทียบรายปี ขณะที่กำลังการผลิตโมดูล 210 มม. คิดเป็นสัดส่วนราว 70% ของกำลังการผลิตโมดูลทั้งหมด

เวเฟอร์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นแต่บางลงมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยเวเฟอร์ขนาดใหญ่ครองตลาดได้อย่างรวดเร็วจากต้นทุนที่ลดลงอย่างมากและประสิทธิภาพที่ดีขึ้น เทรนด์ฟอร์ซคาดการณ์ว่า กำลังการผลิตเวเฟอร์ขนาดใหญ่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแตะ 878.6 กิกะวัตต์ในปีนี้ ครองส่วนแบ่งตลาด 95.33% โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวเฟอร์ขนาด 210 มม. คาดว่าจะมีกำลังการผลิตถึง 357.2 กิกะวัตต์ พุ่งขึ้น 89.3% เมื่อเทียบเป็นรายปี

ขณะเดียวกัน กำลังการผลิตเซลล์ขนาดใหญ่มีแนวโน้มแตะระดับ 1,136.2 กิกะวัตต์ในปีนี้ คิดเป็น 96.93% ของทั้งหมด โดยเทรนด์ฟอร์ซคาดการณ์ว่ากำลังการผลิตเซลล์ขนาด 210 มม. จะสูงถึง 899.9 กิกะวัตต์ พุ่งขึ้น 179% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นนี้จะส่งผลให้ส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นเป็น 76.8%

ในส่วนของโมดูลนั้น เทรนด์ฟอร์ซคาดการณ์ว่ากำลังการผลิตโมดูลขนาดใหญ่จะเพิ่มขึ้นแตะ 961 กิกะวัตต์ในปีนี้ ครองส่วนแบ่งตลาด 92.84% และคาดว่ากำลังการผลิตโมดูล 210 มม. จะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 722 กิกะวัตต์ ทะยานขึ้น 116% เมื่อเทียบเป็นรายปี และคิดเป็นสัดส่วน 69.83% ของกำลังการผลิตรวมทั้งหมด นอกจากนี้ คาดว่ากำลังการผลิตจะยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต ซึ่งตอกย้ำสถานะของโมดูลขนาดใหญ่ว่าเป็นผลิตภัณฑ์หลักของตลาด

โมดูลขนาดใหญ่ที่มีกำลังสูงครองส่วนแบ่งกว่า 90% ของกิจกรรมการประกวดราคา ขณะที่โมดูลเอ็นไทป์เจาะตลาดได้เร็วขึ้น

ด้วยต้นทุนที่ลดลง ประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น และการใช้งานที่ครอบคลุมมากขึ้น ทำให้ในเวลานี้โมดูลขนาดใหญ่ที่มีกำลังการผลิตไฟฟ้าสูงครองส่วนแบ่งกว่า 90% ของกิจกรรมการประกวดราคา และกลายเป็นตัวเลือกหลักของตลาด

ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ โมดูลเซลล์แสงอาทิตย์ในประเทศจีนมีการประกวดราคารวม 137.78 กิกะวัตต์ โดยโมดูลที่มีกำลังเกินกว่า 540 วัตต์มีการประกวดราคา 135.5 กิกะวัตต์ คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 98.37% ของการประกวดราคาทั้งหมด ขณะที่โมดูลขนาดใหญ่ (182 มม. และ 210 มม.) มีการประกวดราคา 135.6 กิกะวัตต์ คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 98.42% ส่วนโมดูลเอ็นไทป์มีการประกวดราคา 25.9 กิกะวัตต์ คิดเป็นสัดส่วน 18.8% และสัดส่วนดังกล่าวยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

โมดูล 210 มม. เป็นที่ต้องการอย่างสูง ดันยอดจัดส่งสะสมแตะ 150 กิกะวัตต์

เทรนด์ฟอร์ซ รายงานว่า ณ สิ้นเดือนมิถุนายน โมดูล 210 มม. ซึ่งรวมถึงโมดูล 210อาร์ (210R) มียอดจัดส่งสะสมเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 150 กิกะวัตต์ โดยในจำนวนนี้เป็นยอดจัดส่งจากทรินา โซลาร์ มากกว่า 75 กิกะวัตต์

เทรนด์ฟอร์ซยังคาดการณ์ด้วยว่า ต้นทุนที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น จะผลักดันให้การจัดส่งโมดูลขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปีนี้ จนทะลุ 85% ของโมดูลทั้งหมด ขณะที่การจัดส่งโมดูล 210 มม. คาดว่าจะแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์

ผู้นำตลาดพร้อมใจกันเปิดตัวโมดูลเอ็นไทป์ รวมถึงโมดูลเอ็นไทป์ 210 มม. ที่บุกเบิกอุตสาหกรรมสู่ยุคโมดูล 700 วัตต์+

ทรินา โซลาร์ กำลังนำพาอุตสาหกรรมก้าวเข้าสู่ยุค PV 7.0 ด้วยการผลิตโมดูลเวอร์เท็กซ์ เอ็น (Vertex N) 700 วัตต์+ ในปริมาณมาก บริษัทระบุในรายงานทางการเงินประจำครึ่งปีว่า ภายในสิ้นปีนี้ บริษัทจะมีกำลังการผลิตเวเฟอร์เอ็นไทป์แตะระดับ 50 กิกะวัตต์ ส่วนกำลังการผลิตเซลล์เอ็นไทป์จะอยู่ที่ 40 กิกะวัตต์ จากกำลังการผลิตเซลล์ทั้งหมด 75 กิกะวัตต์

สำหรับในกลุ่มโมดูลเอ็นไทป์นั้น โมดูลเอชเจที (HJT) ส่วนใหญ่เป็นแบบ 210 มม. ขณะที่โมดูลท็อปคอน (TOPCon) ส่วนใหญ่เป็นแบบ 210 มม. (210อาร์) และ 19เอ็กซ์ (19X) เมื่อนำโมดูลเอ็นไทป์ 210 มม. มาเปรียบเทียบกับโมดูลเอ็นไทป์ 19เอ็กซ์ พบว่าโมดูลเอ็นไทป์ 210 มม. มีกำลังการผลิตไฟฟ้าเหนือกว่าอย่างมีนัยสำคัญ

ทั้งนี้ เทคโนโลยีเอ็นไทป์ 210 มม. ได้รับการคาดหมายว่าจะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับห่วงโซ่อุตสาหกรรมทั้งหมด รวมถึงตลาดปลายทาง อันเป็นการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์อย่างมีคุณภาพสูงต่อไป

รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/2210992/1.jpg



ที่มา:  พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๑๙ กสิกรไทย คาดยอดผู้ใช้ K PLUS ปี 68 เพิ่มล้านราย เป็น 23.9 ล้านราย
๑๐:๐๗ ร้าน เดอะ คอฟฟี่ อะคาเดมิคส์ ชวนฉลองคริสต์มาสและต้อนรับปีใหม่กับ เมนูเฟสทีฟ หลากหลาย ตั้งแต่ วันนี้ - 31 มกราคม
๑๐:๓๗ ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย คว้ารางวัล Best Places to Work
๑๐:๓๒ วว. จับมือพันธมิตร ร่วมผลักดันกิจกรรม CSR สร้างแรงบันดาลใจด้าน วทน. ให้แก่เยาวชน
๑๐:๐๐ กทม. ตรวจเข้มสถานที่ประกอบ-จำหน่ายอาหาร เน้นมาตรการด้านสุขลักษณะ
๑๐:๒๓ ชลิต อินดัสทรีฯ สานต่อภารกิจเพื่อสังคม สร้างโอกาสและความยั่งยืนทางการศึกษาและอาชีพสำหรับผู้พิการ
๑๐:๒๔ บิทคับ กรุ๊ป สุดปัง! คว้ากว่า 20 รางวัล ตลอดปี 2567 ตอกย้ำความเชื่อมั่นองค์กรของคนรุ่นใหม่
๐๙:๕๓ NITMX เผยยอดธุรกรรมพร้อมเพย์พุ่งต่อเนื่อง สะท้อนความเชื่อมั่นในระบบชำระเงินดิจิทัลของไทย
๐๙:๔๖ พฤติกรรมติดหรูคนไทย จะหยุดที่ตรงไหน! ซีเอ็มเอ็มยู พาส่องการตลาดที่คาดไม่ถึงของกลุ่ม ลักซูเมอร์ กับการไปต่อในปี
๑๐:๐๖ เปิดเมนูอาหารวันคริสต์มาส พร้อมอร่อยเพลินกับวันเดอร์พัฟฟ์