โดย ดร.โชติรัส ชวนิชย์ กล่าวว่า แนวทางของ สคช. เป็นการพัฒนากำลังคนที่ตอบโจทย์เทรนด์ของปัจจุบัน โดยเฉพาะบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม ที่ส่วนใหญ่แล้วเรียนจบจะไม่ได้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น แต่จะมองหาการรับรองในวิชาชีพ ซึ่งจะเป็นการลดภาระค่าใช้จ่าย ขณะที่เป็นไปตามเทรนด์สากลที่มีการรับรองจากหน่วยงานภาครัฐ ความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับนักศึกษาของมหาวิทยาลัย พร้อมเข้าสู่โลกของการทำงานในอนาคตต่อไป
นางสาวจุลลดา มีจุล กล่าวว่า ภายใต้ความร่วมมือของทั้งสองหน่วยงาน จะเป็นอีกครั้งในการสร้างความเข้มแข็งให้กับกำลังคน ในการร่วมกันเชื่อมโยงคุณวุฒิวิชาชีพกับคุณวุฒิการศึกษา พร้อมวิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาเพื่อพัฒนาให้เป็นหลักสูตรที่สอดคล้องตามมาตรฐานอาชีพ ที่นักศึกษาสามารถสั่งสมสมรรถนะการเรียนรู้ Competency Credit Bank ที่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้ได้รับคุณวุฒิวิชาชีพ พร้อมทั้งสนับสนุนให้มีการประเมินสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ตลอดจนส่งเสริมการเข้าใช้งานระบบ E-Portfolio ซึ่งในอนาคตจะมีระบบ E-Coupon ที่จะช่วยสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม Up-skill Re-skill อีกด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้ ถูกรวบรวมไว้บน E-Workforce Ecosystem เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต Life Long Learning ซึ่งไม่ว่าจะอยู่ในวัยเกษียณ ก็จะมีความรู้ติดตัว เป็นผู้สูงวัยที่มีความตื่นตัว ทันโลกทันสมัยตลอดเวลา
ที่มา: มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย