นิคมพลังงานแสงอาทิตย์เตปูอีตั้งอยู่ในจังหวัดแอนติโกเกีย (Antioquia) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของโคลอมเบีย ได้รับการพัฒนาโดยบริษัทผลิตพลังงานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอย่างบริษัทเมเดลลิน อิเล็กทริค พาวเวอร์ (Medellin Electric Power Company) โดยพาวเวอร์ ไชน่า รับหน้าที่ดำเนินการออกแบบและก่อสร้างทางด้านวิศวกรรมอย่างครอบคลุม (EPC) ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนการออกแบบ จัดหาซัพพลาย ก่อสร้าง ติดตั้ง และดำเนินการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ทั้งนี้ ทรินาแทรกเกอร์เป็นซัพพลายเออร์แต่เพียงผู้เดียวในโครงการนี้
แทรกเกอร์ แวนการ์ด 1พี ของทรินาแทรกเกอร์ ได้รับการออกแบบให้เหมาะสำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่บนพื้นราบ โดยใช้ระบบขับเคลื่อนและตัวควบคุมต่อเมกะวัตต์น้อยลง จึงช่วยลดต้นทุนด้านวัสดุและประหยัดชั่วโมงแรงงานระหว่างการติดตั้งในโครงการได้ นอกจากนี้ ฐานที่มีเสาน้อยลงช่วยให้ผลิตภัณฑ์เหมาะกับหุ่นยนต์ทำความสะอาดมากขึ้น และระบบแดมเปอร์คู่ (Bi-Damper) ช่วยลดโอกาสที่ตัวติดตามจะเสียหายเมื่อมีลมแรง
ระบบติดตามแสงอาทิตย์อัจฉริยะของทรินาแทรกเกอร์ เป็นการผสมผสานกันของโครงสร้างแทรกเกอร์ อัลกอริทึม และแพลตฟอร์ม ซึ่งประกอบด้วยหน่วยควบคุมแทรกเกอร์ ซูเปอร์แทรก (SuperTrack) และแพลตฟอร์มติดตามคลาวด์อัจฉริยะทรินา โดยระบบสามารถเพิ่มการผลิตพลังงานได้มากถึง 8% เมื่อเทียบกับระบบติดตามแสงอาทิตย์แบบธรรมดา นอกจากนี้ ยังมีฟังก์ชันที่ทำให้แทรกเกอร์ตรวจสอบติดตามได้ดีขึ้นขณะทำงาน จึงช่วยลดต้นทุนด้านการดำเนินงานและการบำรุงรักษาของลูกค้า และลดการสูญเสียการผลิตพลังงานได้
ภูมิภาคลาตินอเมริกาเป็นหนึ่งในตลาดโซลาร์เซลล์ตามแสงอาทิตย์ที่สำคัญที่สุด และโคลอมเบีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ ในภูมิภาค มีศักยภาพอย่างมากด้านการพัฒนาการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ เอสแอนด์พี โกลบอล (S&P Global) บริษัทที่ปรึกษาระดับโลก เปิดเผยว่า กว่า 80% ของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ภาคพื้นดินในลาตินอเมริกาใช้โซลาร์เซลล์ตามแสงอาทิตย์ โดยมีอัตราเจาะตลาดสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 45% อยู่มาก
ความร่วมมือของทรินาแทรกเกอร์ในโครงการเตปูอี ส่งผลดีต่อการเติบโตในตลาดลาตินอเมริกา โดยการเปิดตัวเทคโนโลยีโซลาร์เซลล์ตามแสงอาทิตย์อัจฉริยะที่ทันสมัยที่สุดในภูมิภาค ประกอบกับการออกแบบระบบ ส่งมอบ และบริการหลังการขายที่ครอบคลุมนั้น เปิดโอกาสให้ทรินาแทรกเกอร์เดินหน้าขับเคลื่อนการพัฒนาโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ในลาตินอเมริกา และเพิ่มพลังงานสะอาดที่จำเป็นให้กับภูมิภาคนี้ได้มากขึ้น