ความท้าทายของงานวิศวกรรมสมัยใหม่
ประเทศไทยมีการขยายตัวของเมืองอย่างกว้างขวาง นอกจากในกรุงเทพฯ ต่างจังหวัดโดยเฉพาะหัวเมืองใหญ่จะมีการเปลี่ยนผ่านจากชนบทสู่สังคมเมืองอย่างเต็มรูปแบบเช่นเดียวกัน ส่งผลให้มีการโยกย้ายที่อยู่อาศัย รวมถึงจำนวนพลเมืองที่ขึ้น ดังนั้นสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานอย่างการผลิตไฟฟ้า การก่อสร้างอาคาร ระบบคมนาคม การบำบัดน้ำเสีย ไปจนถึงสายสัญญาณอินเทอร์เน็ต จะเป็นที่ต้องการอย่างมาก ซึ่งภาควิศวกรรมต้องเร่งการพัฒนาเพื่อให้ทันกับดีมานด์ของชาวเมือง อย่างไรก็ตาม แค่การสร้างเมืองให้ได้รวดเร็วทันกับความต้องการของผู้อยู่อาศัยอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ เพราะมีอีกหลายปัจจัยที่วิศวกรต้องให้ความสำคัญ ทั้งความแข็งแรงของระบบโครงสร้าง ความปลอดภัยของกระบวนการก่อสร้าง ไปจนถึงการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้คุณภาพชีวิตของชาวเมืองดีขึ้นในระยะยาว ดังนั้นความท้าทายของงานวิศวกรรมสมัยใหม่จึงอยู่ที่การเติมเต็มความต้องการของมนุษย์ ควบคู่กับการส่งมอบความยั่งยืนให้กับโลกของเรา
"3S" เทรนด์การพัฒนาสำคัญของวิศวกรรมไทย
เพื่อให้สามารถรักษาสมดุลระหว่างการเร่งพัฒนาเมืองอย่างมีคุณภาพกับการสร้างความยั่งยืนในกระบวนการทางวิศวกรรม เทรนด์สำคัญที่ภาควิศวกรรมไทยต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษจึงประกอบไปด้วย
- Safety: ความปลอดภัยของชีวิตของชาวเมืองเป็นหัวใจหลักของงานวิศวกรรม ทั้งโครงสร้างพื้นฐานที่มีความมั่นคงสูงไม่ชำรุดเสียหายง่าย รวมถึงการลดอุบัติเหตุจากงานก่อสร้างในพื้นที่ชุมชนให้ได้มากที่สุด ดังนั้นความต้องการในวัสดุการก่อสร้างคุณภาพสูงที่ช่วยเสริมแกร่งระบบโครงสร้าง รวมถึงเทคโนโลยีการก่อสร้างที่ช่วยเพิ่มความแม่นยำและความปลอดภัยในงานวิศวกรรมสมัยใหม่จะเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก
- Sustainability: ความยั่งยืนและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่ทุกอุตสาหกรรมให้ความสำคัญ รวมถึงในภาควิศวกรรม การพัฒนาวัสดุก่อสร้างชนิดพิเศษที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยวิทยาการ Material Engineering หรือการต่อยอดงานวิจัยด้าน Green Infrastructure เพื่อสร้างสิ่งปลูกสร้างประหยัดพลังงาน จะเป็นอีกเทรนด์สำคัญที่มีการเติบโต
- Synergies: การร่วมมือในระดับนานาชาติเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับความก้าวหน้าด้านวิศวกรรม โดยทักษะด้านวิศวกรรมของบุคลากรประเทศไทยถือว่ามีชื่อเสียงในระดับโลก ในขณะเดียวกันหากได้รับการส่งเสริมหรือได้ศึกษาเรียนรู้และแลกเปลี่ยนข้อมูล งานวิจัย หรือนวัตกรรมจากต่างประเทศ เช่น เยอรมัน ญี่ปุ่น หรืออังกฤษ ซึ่งมีความก้าวหน้าด้านวิทยาการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ล้ำหน้า จะช่วยให้ประเทศไทยได้เรียนรู้เทคโนโลยีล่าสุดจากกรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จ ขณะที่ประเทศพันธมิตรเองก็ได้ทดสอบนวัตกรรมใหม่ ๆ ในระบบเมืองที่มีความซับซ้อนอย่างประเทศไทย
"นวัตกรรมโครงสร้างพื้นฐาน" โอกาสสำคัญสำหรับภาควิศวกรรมไทย
เห็นได้ว่าการมีเทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านวิศวกรรมใหม่ ๆ เข้ามาพัฒนาความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรม จะเป็นปัจจัยสนับสนุนที่ดีที่ช่วยต่อยอดให้กับการพัฒนาวิศวกรรมในสมัยใหม่ได้ ยิ่งไปกว่านั้นหากเรามีเวทีที่สามารถรวบรวมบุคลากรจากนานาประเทศที่มีความเชี่ยวชาญด้านวิศกรรมมาร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้ ก็จะเป็นโอกาสที่จะขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมโครงสร้างพื้นฐานของไทยให้เติบโตไปอีกขั้น โดยล่าสุด 4 งานนิทรรศการด้านอุตสาหกรรมครั้งสำคัญแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่าง "wire & Tube Southeast Asia 2023 - GIFA & METEC Southeast Asia 2023" จะถูกจัดขึ้นพร้อมกันระหว่างวันที่ 20 - 22 กันยายน 2566 ที่ประเทศไทย ณ ไบเทคบางนา โดยภายในงานมีการรวบรวมเทคโนโลยีทางวิศวกรรมล่าสุด พร้อมด้วยนวัตกรรมด้านลวดและท่อ ไปจนถึงความก้าวหน้าด้านวิทยาการโลหะ และการหลอมโลหะสำหรับการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน โดยผู้ผลิตมากกว่า 400 แห่งจาก 30 ประเทศทั่วโลก มารวมไว้ครบจบในที่เดียว
"การจัดงานมหกรรมระดับนานาชาติครั้งนี้ประเทศไทยจะได้ประโยชน์อย่างมาก ทั้งภาครัฐบาล ภาคอุตสาหกรรม นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนประชาชนทั่วไป ได้เปิดโลกทัศน์ความคืบหน้าของวิทยาการด้านวิศวกรรมที่ทันสมัยจากทั่วโลก โดยไม่ต้องเดินทางไปไกลถึงไปต่างประเทศ นับว่าเป็นอีกหนึ่งโอกาสอันดีที่ไม่ควรพลาด" นายสุชัชวีร์ กล่าวทิ้งท้าย
สำหรับผู้สนใจข้อมูลเพิ่มเติมหรือติดต่อลงทะเบียนเพื่อเยี่ยมชมงาน สามารถติดตามรายละเอียดได้ผ่านทางเว็บไซต์ www.wire-southeastasia.com www.tube-southeastasia.com www.metec-southeastasia.com และ www.gifa-southeastasia.com หรือ โทร 02-559-0856
ที่มา: เจซีแอนด์โค คอมมิวนิเคชั่นส์